ความสุขในท้องทุ่ง เขียวชอุ่มชุ่มด้วยไอรัก

บ้านนา มรดกของขวัญจากบรรพบุรุษ  ผินแผ่นดินที่เราโตมาความทรงจำยังอยู่ในทุกพื้นที่  หนีความวุ่นวายของสังคมเมืองไปชมท้องทุ่งนา สีเขียวตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์

ชีวิตในวัยเด็กส่วนมากอยู่กับนาผืนนี้  ในตอนเช้าสิ่งที่รอคอยคือรอเกาะรถจักรยานของแม่เพื่อไปนา  ไม่รู้ทำไมตอนนั้นถึงต้องการที่จะไปนา มือเกาะยิ่งกว่าตุ๊กแก ทุกคนจะต้องช่วยกันแกะมือออกจากนั้น สิ่งที่ตามมาคือเสียงร้องไห้  แต่หลังจากรถออกไปจากบ้าน ทุกสิ่งก็หาย เด็กๆยังไม่คิดอะไรมาก เสียใจก็ไม่นาน แต่ละวันคิดอย่างเดียวคือเล่นขายของ

ผืนนาของยายและความทรงจำ

ตั้งแต่สมัยที่สิ่งอำนวยความสะดวกยังไม่มี  การไปนามาบ้าน ยังต้องใช้จักรยาน เพราะยังไม่มีกำลังที่จะซื้อมอเตอร์ไซค์  และจักรยานตอนนั้นมีเพียงสองคัน คือคันของพ่อกับแม่ สิ่งที่ต้องทำในทุกเช้า คือการเตรียมตัวในการเดินทางไกลกับยาย  ยายจะพาเดินไปนาพร้อมกระหยัง (กระบุง) สะพายหลัง ในนั้นจะมีมีดพร้าหนึ่งเล่ม น้ำหนึ่งขวด มีห่อข้าว  มีดนั้นใส่เพื่อที่จะไปตัดต้นไม้ที่รกหูรกตาระหว่างทาง หรือใช้ป้องกันตัวเวลาเจอสิ่งไม่คาดฝัน  หลานๆ จะเดินตามหลังหยอกล้อเล่นกันบ้างตามประสาเด็ก

ถ้าฝนไม่ตก

เลี้ยงควาย  ตอนเด็กๆชอบมากกับการพาควายตัวโปรดเดินกินหญ้าตามคันนา จะมีควายคนละตัวกับพี่ชาย พ่อจะให้พาเดินกินหญ้า เพราะช่วงทำนา ไม่มีพื้นที่ให้วัวและควายกินหญ้า  นอกจากเกี่ยวหญ้าให้ กินฟาง มันก็ยังไม่อิ่ม  แต่ถ้าจูงก็จะกินหญ้าสนุก แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ

ห้ามพลาดหรือไม่มองควาย เพราะไม่อย่างนั้น ควายจะใช้ลิ้นของมันที่ยาว เกี่ยวต้นข้าวกินทันที  แทบจะทุกครั้งที่พาควายเดิน มันก็จะกินสักวันละต้น  แต่พอเราโตขึ้นควายก็จะไม่กล้าเพราะกลัวเรากระตุกเชือกดึงสะบัดแรงๆ

ให้อาหารสัตว์เลี้ยงของแม่

สิ่งที่ทำให้แม่ไม่ยอมไปไหนไกลจากบ้าน  นั่นก็คือสิ่งที่ต้องห่วงและดูแลทุกวัน  🐓 และ 🐕   วัว 🐄   แต่ก่อนตอนที่พ่ออยู่จะมีควาย แต่หลังๆ ตั้งแต่ควายตัวสุดท้ายหมดอายุไป แม่เลี้ยงวัวอย่างเดียว

ไก่ของแม่ ไม่ได้มีสองสามตัว แม่เลี้ยงเป็นฝูง มีหลายรุ่น ตั้งแต่เกิดใหม่ จนรุ่นไก่แม่พันธ์  รุ่นไหนโตพอเปลี่ยนเป็นเงิน ตอนเย็นก็จะแอบย่องจับ ตอนที่ไก่นอนนำมาขายพอได้ค่าขนมเราไปโรงเรียน ซึ่งตอนนั้นแค่วันละสองบาทก็หรูแล้ว  แต่ปัจจุบันนี้วันละยี่สิบบาทยังไม่พอ ยุคสมัยเปลี่ยนไปมาก

วัว เลี้ยงง่ายโตไว ✅  ทนแดดได้  ถ้าเราเลี้ยงวัว  วัวจะทนแดด แต่วัวไม่ชอบน้ำ และอีกอย่างวัวน่าจะสีสวยกว่า

ควาย 🐃  กินหญ้าเกลี้ยง กินหญ้าเยอะ ไม่ค่อยทนแดด เวลากลางวันควายจะต้องนอนในร่มและนอนในน้ำ ควายจึงมีตัวที่สกปรกกว่าวัว แต่ทำไมเราชอบหน้าควาย ตลก (แม่เลิกเลี้ยงควายและหันมาเลี้ยงวัวอย่างเดียว)

วัววัวของแม่  เป็นแม่วัวสาว ชื่อเม่า ที่มาของชื่อตลก  แต่จริงๆ น่าจะมาจากสีของมัน เพราะคำว่าเม่าคือ ขาวหม่นจนแทบจะเป็นสีเทา เม่าเป็นวัวที่ชอบเล่นหูเล่นตาเวลาที่เราเข้าไปใกล้  แต่พอเราจับตรงหัวเม่าก็จะส่ายเขาไปมา  เล่นด้วย

ตา

ตาสวย  ลักษณะของเม่านั้นดี เป็นวัวพันธุ์ผสมตัวใหญ่  เวลาที่ถูงขังช่วงของการทำนา เม่าจะมองหาหญ้าอยู่ตลอด เรียกว่ากินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม ตกเย็นก่อนสิ้นแสงตะวัน เม่าก็จะร้องโวยวาย เพื่อต้องการกินหญ้า ฉายาวัวจอมโวยวาย

สร้อยแม่วัวอีกตัว ซ้อย วัวตัวนี้มีลักษณะคือหูจะขาดนิดตรงหูซ้าย ที่ได้ชื่อนี้เพราะตอนเด็กนอนเล่นอยู่โดนกลุ่มของสุนัขที่เลี้ยงไว้ มากัดหูขาดไป จึงทำให้มีลีกษณะเด่นจนทุกวันนี้  วัวเขาสวยที่สุดในคอก

จันทร์แรมจันทร์แรม วัวสาวที่คลอดออกมาในวันพระจันทร์เต็มดวง (เดือนดับ) แม่เลยให้ชื่อว่าจันทร์แรม ชื่อนี่เพราะว่าคนใช่ไหมละ

นังแดงแดงวัวแม่สาว จอมตกใจ  วัวน้า นังแดงนี่น่ากลัวสุดเข้าใกล้ไม่ได้ พอเห็นเราเท่านั้นมันก็จะวิ่งวนรอบไปมา  ต้องระวังแม้แต่การขับมอไซค์ก็บินได้เพราะแรงของนังแดง

ส้มใครบอกว่ามีแต่แมวมอง ลองมานา แล้วคุณจะเห็นวัวมอง มองแบบไม่กระพริบตา มองตามไม่ว่าเราจะเดินไปไหน อย่าได้หันหลังเพราะคุณจะวิ่งหนีไม่ทัน จ้องมันเข้าไว้  (ตอนนี้ส้มเป็นวัวแม่ลูกสองแล้ว)

การเลี้ยงวัว

สิ่งสำคัญคือการเอาใจใส่ดูแล ในเรื่องของความสะอาดที่หลับที่นอน คอยตรวจสอบอาการเจ็บป่วย เห็บ หมัด ที่อยู่ตามตัว อาหารนอกจากหญ้าแล้ว เราอาจจะเสริมรำ หรือหัวอาหารให้บ้างตามโอกาส วัวเป็นสัตว์เศรษฐกิจ เวลาที่เลี้ยงเรารู้ดีว่าวันหนึ่งก็ต้องพราก จงใช้เวลาตอนที่เขาอยู่กับเราดูแลเขาให้ดี

วัวเพิ่มขึ้นปีละสองตัวอย่างน้อย ถ้ามีแม่วัวเยอะก็จะมีลูกหลายตัว แต่ละตัวนั้นก็จะตั้งชื่อตามวันเกิด เช่นเกิดวันสำคัญ หรือเหตุการณ์สำคัญก็จะได้ชื่อตามนั้น เพื่อคนเลี้ยงจะได้เรียกถูก วัวทุกตัวมีชื่อหมด

การผสมพันธุ์

วัวของแม่ที่เลี้ยงตอนนี้ ลูกเกิดจากพ่อพันธุ์ที่ดี ตัวใหญ่ พันธุ์เนื้อ หนึ่งตัวนั้นบางทีต้องมีการผสมถึงสามครั้งถึงจะได้วัวหนึ่งตัว (ถ้าเป็นแม่วัวสาว) แต่ถ้าแม่วัวที่เคยมีลูกมาแล้ว จะไม่ค่อยลำบากติดลูกเร็ว

ทุ่งนาเขียวนาข้าว ตั้งแต่จำความได้ก็เห็นแม่ทำนา  เราเองเป็นลูกชาวนาก็ได้เรียนรู้วิธีการทำนาทั้งหมด ทุกขั้นตอนสามารถทำได้ เพราะแม่ฝึกให้ตั้งแต่ยังเด็ก เล่นบ้างทำบ้าง แต่พอเราโตขึ้นไปโรงเรียนในระดับที่สูงขึ้น เรียนต่างจังหวัดก็ไม่ค่อยได้กลับบ้าน การไปนาก็ห่างหาย  จนกลายเป็นบางทีสองปีไปนาหนึ่งครั้งก็มี  แต่นึกถึงเมื่อไหร่ก็มีความสุข

นาผืนนี้มาจากความขยันของตาทวด  ยายบอกว่า แต่ก่อนตอนที่เรามาอยู่ในหมู่บ้านใหม่ๆ ที่ดินทั้งหมดยังไม่มีใครเป็นเจ้าของ หลังจากนั้นทุกคนก็เริ่มถากถางหญ้า และสร้างเขตแดนของตนเอง ถ้าใครขยันก็จะได้ที่นาเยอะ ถ้าไม่ขยันก็ได้น้อย เพราะเมื่อถางเสร็จ ก็จะทำสัญลักษณ์ไว้  เราเองคิดในใจตาทวดคงจะขยันไม่น้อย ถึงได้ผืนนานี้มาแบ่งกัน ตกทอดมาจนถึงลูกหลาน

นา

ข้าวในนาผืนเดียวกัน แต่ได้ข้าวไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับปุ๋ยที่เราใส่ นาของแม่จะใส่ปุ๋ยคอก ปุยอินทรีย์  ก่อนการไถนาแม่จะนำขี้วัวในคอกขนลงไปใส่นาเพื่อเป็นปุ๋ยสำหรับข้าว

อนุรักษ์ รักษา และต่อเติม  ปลูกต้นไม้หนึ่งต้นช่วยเพิ่มออกซิเจนให้โลก ต้นไม้ยิ่งอายุยาวนานยิ่งให้ประโยชน์มากขึ้นเรื่อยๆ ผิดกับคนเรายิ่งเมื่อไหร่ที่เรามีอายุมากขึ้น ความสามารถจะยิ่งถดถอยไป โรยราไปกับกาลเวลา

👩‍🌾 เป็นนายตัวเอง ถ้าไม่ทำก็ไม่มีข้าวกิน เหมือนทุกอาชีพที่ต้องดิ้นรน อาจจะไม่ได้ยึดติดกับเวลามากเหมือนมนุษย์เงินเดือน ความภูมิใจอยู่ที่ผลผลิต ทำน้อยได้น้อย ทำมากได้มาก

ภาพถ่ายทั้งหมดเป็นของผู้เขียนเอง (อุ้งเท้าแมว)

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน  App TrueID โหลดเลย ฟรี !

STAR COVER