นายอำเภออุ้มผาง ขี่มอเตอร์ไซค์ ลุย เยี่ยมชาวบ้านแม่จันทะ หลังฝนตก หนัก ทางเข้าหมู่บ้านเละ
เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานจากพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูเข้าหน้าฝน ฝนเริ่มตกทุกวัน ทำให้หมู่บ้านบางหมู่บ้านของอำเภออุ้มผางจังหวัดตาก ที่ได้รับผลกระทบจากฝนตกทำให้เส้นทาง เข้าไปยังหมู่บ้าน เละเทะลำบากมาก
บ้านแม่จันทะ ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก เป็นอีกหนึ่งหมู่บ้าน ที่ห่างที่ว่าการอำเภออุ้มผาง กว่า 120 กิโลเมตร
ซึ่งในช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝน โดยเฉพาะทางเข้าหมู่บ้านแม่จันทะ ที่แยกจากถนนใหญ่ถนนลาดยางสายอุ้มผาง-บ้านเบิ้งเคลิง
ผ่านบ้านกุ่ยต๊ะ บ้านกุยเลอตอ บ้านหม่องกั่วะ และบ้านแม่จันทะ เป็นถนนและเส้นทางลำบากมากถ้ามีฝนตกลงมาทางหรือถนนจะเละ สัญจรไปมาลำบากมาก วันนี้ก็เช่นเดียวกัน นายอำเภออุ้มผาง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่อำเภออุ้มผางต้องใช้มอเตอร์ไซค์หรือจักรยานยนต์ ขับเดินทางเข้าไปในหมู่บ้าน อย่างทุลักทุเล เพื่อไปเยี่ยมชาวบ้าน
เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2565 ที่ผ่านมานายธัญปวัฒน์ ภูริวัฒนเมธา นายอำเภออุ้มผาง ได้ออกตรวจพื้นที่ตำบลแม่จัน ร่วมกับนายดวงดี ถวัลย์สุขศรี กำนันตำบลแม่จัน นายไพรัตน์ การะเกดธารา นายกเทศบาลตำบลแม่จันเจ้าหน้าที่ เทศบาลตำบลแม่จัน เจ้าหน้าที่อำเภออุ้มผาง ฝ่ายปกครอง และผู้นำท้องที่ ได้ลงพื้นที่พักข้างแรมในหมู่บ้านพบปะราษฎร สำรวจความเดือดร้อนของประชาชน ในหมู่บ้านแม่จันทะ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลจากตัวอำเภออุ้มผาง 120 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7-8ชั่วโมง (หน้าแล้ง) ไม่มีไฟฟ้าใช้ ใช้ไฟฟ้าจากแผงโซล่าเชลล์ บ้านแม่จันทะ มีอยู่ 2 กลุ่มบ้านคนละฝั่งแม่น้ำ โดยมีแม่น้ำแม่กลองกั้น ในปีที่ผ่านมาได้เกิดน้ำท่วมครั้งในพื้นที่อำเภออุ้มผาง แม่น้ำแม่กลองมีระดับน้ำสูงพัดสะพานเชื่อหมู่บ้านพังเสียหาย ชาวบ้านต้องต่อแพไม้ไผ่ เพื่อใช้สำหรับการข้ามไปมา โดยเฉพาะเด็กนักเรียนต้องเดินทางข้ามแม่น้ำแม่กลองซึ่งมีความกว้าง 60 เมตร ในขณะนี้ยังไม่ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างสะพานแต่อย่างใด ซึ่งนายอำเภออุ้มผางได้ทำการประสานขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการก่อสร้างสะพานจากเทศบาลตำบลแม่จันซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ แต่เนื่องจากว่าต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างหลายล้านบาท เกินศักยภาพฐานะทางการคลังของเทศบาลตำบลแม่จัน จึงได้เสนอของบประมาณไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อมาทำการก่อสร้างสะพาน
ในพื้นที่ของตำบลแม่จันประกอบด้วย 12 หมู่บ้าน ประชาชนยังไม่ได้รับการบริการขั้นพื้นฐานที่ดี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข็ง การดำเนินการพัฒนาพื้นที่ต้องได้รับการอนุญาตจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนจึงจะสามารถดำเนินการได้ ที่ผ่านมานายอำเภออุ้มผางได้ให้สำนักทะเบียนอำเภออุ้มผาง ร่วมกับสำนักบริหารการทะเบียนภาค 6 พิษณุโลกสาขาจังหวัดตาก ออกหน่วยให้บริการเกี่ยวกับงานทะเบียนและบัตร เดือนละ 1ครั้ง เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายและการเดินทางให้แก่ประชาชน โดยออกบริการเกี่ยวกับการทำบัตรประจำตัวประชาชน การย้ายทะเบียนบ้าน การรับเรื่องขอมีสัญชาติไทย การจดทะเบียนสมรส จดทะเบียนหย่า การออกเลขบ้านใหม่ การเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล การรับแจ้งเกิด แจ้งตาย สำหรับการเดินทางไปหมู่บ้านแม่จันทะ มีหมู่บ้านที่อยู่ในเส้นทางเดียวกันทั้งหมด 4หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านกุ่ยต๊ะ บ้านกุยเลอตอ บ้านหม่องกั่วะ และบ้านแม่จันทะ มีโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเปิดสอน 2 แห่ง คือ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่จันทะ และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหม่องกั่วะ สังกัด กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 ประชากรในตำบลแม่จัน 12 หมู่บ้าน 23,580 คน อาชีพ ทำการเกษตร
ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยัง นายเงียโจ งามยิ่ง ผู้ใหญ่บ้านแม่จันทะ อายุ 50 ปี อยู่บ้าน ม.8 ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก กล่าวว่า ทุกวันนี้ชาวบ้านแม่จันทะ รวม 7 ป็อก หรือ 7 กลุ่มบ้าน ประกอบด้วย บ้านทีบะเก่ บ้านใหม่เจริญผล บ้านตาลาโค้ง บ้านกลูโบ ประชากร 1,806 คน 306 ครัวเรือน ต่างเดือดร้อนกันอย่างหนัก
บ้านทีบาเก่ เป็นส่วนหนึ่ง ของบ้านแม่จันทะ สะพานสลิงขาดเมื่อช่วงหน้าฝนที่ผ่านมา ทำให้พี่น้องชาวบ้านแม่จันทะ ทั้งสองฝากฝั่งเดือดร้อนลำบากมาก โดยเฉพาะนักเรียนจะต้องเดินทางมาโรงเรียน ตชด.บ้านแม่จันทะ โดยใช้แพไม่ไผ่ดังกล่าว ขนาดความกว้างของแม่น้ำแม่กลองประมาณ 60 เมตรในส่วนของอำเภออุ้มผางท่านนายอำเภออุ้มผาง ได้รายงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในช่วงเกิดเหตุอุทกภัยดังกล่าวแล้ว เพื่อหางงบประมาณมาทำการก่อสร้างสะพานดังกล่าว
น้ำป่าซัดสะพานขาดตั้งแต่ปี 64 ชาวอุ้มผางทั้งเด็ก-ผู้ใหญ่ ต้องลากแพข้ามฝั่งกัน ตนเองเป็นห่วงเด็กนักเรียนที่จะต้องข้ามมาเรียนหนังสือ ที่โรงเรียน ตชด.บ้านแม่จันทะ ถ้าฝนตกหนักน้ำขึ้นมามากกว่านี้ก็ไม่สามารถที่จะข้ามน้ำมาเรียนหนังสือได้
ปัญหา ด้วยความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน บ้านแม่จะ ไฟฟ้าไม่มี นอกจากถนนหนทางจะลำบากแล้ว ในหมู่บ้านไม่จันทะยังมีหลายป็อกบ้าน ที่เดือดร้อนต้องข้ามน้ำลำน้ำแม่กลองและลำน้ำแม่จัน ไปมาหาสู่กัน สะพานแขวนที่ขาดไปก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข ติดขัดด้านงบประมาณ ติดขัดอยู่ในพื้นที่เขตอนุรักษ์ทุ่งใหญ่นเรศวร การพัฒนาติดข้อกฎหมายหลายๆอย่าง ถ้าช่วงหน้าฝน ฝนตกหนัก ฝนตกติดต่อกันหลายวัน หมู่บ้านแห่งนี้แทบจะตัดขาดจากโลกภายนอก ระบบไฟฟ้าระบบการสื่อสาร สัญญาณโทรศัพท์ ระบบไฟฟ้าใช้พลังงานโซล่าเซลล์ ในสถานที่ราชการ พระอาทิตย์ แสงอาทิตย์ไม่ขึ้น ก็จะติดต่อโลกภายนอกไม่ใด้เลย