1
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2565
สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม
Indicators 2563 2564 2564 2565
%YoY Year Year ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค.
MPI -9.5 5.9 2.7 4.6 6.7 2.0 2.5 0.4 -0.03 -2.0 -0.2 6.4 14.9 3.3 -3.7
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัว
ร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากภาคการส่งออกที่หดตัวจากผลกระทบของการชะลอตัวของ
เศรษฐกิจโลก รวมถึงการผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรหลายกลุ่มหดตัว อาทิ ปุ๋ยเคมี ผลิตภัณฑ์ยาง
การแปรรูปผักและผลไม้ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ของไทยในช่วงเดือนตุลาคม
ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศหลายอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี อาทิ รถยนต์
น้ำมันปาล์ม อาหารสัตว์
เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนกรกฎาคม ขยายตัวร้อยละ 6.4
เดือนสิงหาคม ขยายตัวร้อยละ 14.9 และเดือนกันยายน ขยายตัวร้อยละ 3.3
สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนกรกฎาคม เดือนสิงหาคม และเดือนกันยายน 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
หรือ MPI เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนกรกฎาคม หดตัว
ร้อยละ 2.2 เดือนสิงหาคม ขยายตัวร้อยละ 4.1 และเดือนกันยายน หดตัวร้อยละ 1.7
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนตุลาคม 2565 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ
? Hard Disk Drive หดตัวร้อยละ 41.12 ตามการทยอยยกเลิกผลิตสินค้าที่มีความต้องการในตลาดโลก
ลดลง รวมถึงเศรษฐกิจโลกชะลอตัวส่งผลต่อการลงทุนและกำลังซื้อ
? การกลั่นน้ำมัน หดตัวร้อยละ 9.4 จากการหยุดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นบางโรง อย่างไรก็ตาม
การผลิตน้ำมันเครื่องบิน และน้ำมันเบนซินยังคงขยายตัวจากปีก่อน ตามความต้องการใช้เพื่อการเดินทาง
และการขนส่งเพิ่มขึ้น
? เม็ดพลาสติก หดตัวร้อยละ 18.61 จากการหยุดซ่อมบำรุงของผู้ผลิตบางราย รวมถึงมีการปรับลด
การผลิตและจำหน่ายลงจากความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอยซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อ
อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนตุลาคม 2565 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
? รถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 9.88 จากปัญหาการขาดแคลนชิปในปีนี้คลี่คลายลง ผู้ผลิตสามารถ
ทยอยผลิตและส่งมอบรถยนต์ได้เพิ่มขึ้น รวมถึงราคาสินค้าเกษตรและผลผลิตอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้กำลังซื้อ
จากภาคเกษตรปรับตัวดีขึ้น
? น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 31.82 ตามความต้องการสินค้าเพื่อบริโภคในภาคครัวเรือน
ภาคอุตสาหกรรมและพลังงาน รวมถึงมีผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดจำนวนมากจากการบำรุงต้นปาล์ม
ของเกษตรกร
Indicators 2564 2565
%MoM ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค.
MPI 2.9 3.3 1.5 2.1 -2.6 8.1 -17.0 7.6 -0.3 -2.2 4.1 -1.7 -4.1
2
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2565
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ
เดือนตุลาคม 2565
3
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2565
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนตุลาคม 2565
? การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนตุลาคม 2565 มีมูลค่า 1,320.0
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวจากการนำเข้าเครื่องสูบลม
เครื่องสูบของเหลว เครื่องจักรใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบ เครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในการแปรรูปยาง หรือ
พลาสติก ตลับลูกปืน และเครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ และส่วนประกอบ
การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนตุลาคม 2565 มีมูลค่า 8,505.4
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการนำเข้าหดตัวในสินค้าประเภทเหล็ก
ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้าไม่เป็นสนิม ทองแดงและผลิตภัณฑ์ อลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์ และ
เม็ดพลาสติก เป็นต้น
4
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2565
? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนตุลาคม 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 168 โรงงาน ลดลงจาก
เดือนกันยายน 2565 ร้อยละ 19.23 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.45
(%YoY)
มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนตุลาคม 2565 มีมูลค่ารวม 7,429
ล้านบาท ลดลงจากเดือนกันยายน 2565 ร้อยละ 25.34 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 31.35 (%YoY)
?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนตุลาคม 2565 คือ อุตสาหกรรมการทำ
ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 25 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการขุด
หรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 19 โรงงาน?
?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนตุลาคม 2565 คือ อุตสาหกรรมโรงงานห้องเย็น จำนวนเงินทุน
812 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน
เงินทุน 785 ล้านบาท
5
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2565
? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนตุลาคม 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 102 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือน
กันยายน 2565 ร้อยละ 10.87 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 142.86 (%YoY)
เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนตุลาคม 2565 มีมูลค่ารวม 3,760 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน
2565 ร้อยละ 167.93 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 129.93 (%YoY)
?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนตุลาคม 2565 คือ อุตสาหกรรม
การขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 16 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำวงกบ ขอบประตู
หน้าต่าง บานหน้าต่าง บานประตู จำนวน 6 โรงงาน
?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนตุลาคม 2565 คือ อุตสาหกรรม
การบรรจุก๊าซ มูลค่าเงินลงทุน 675 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมโรงงานผลิตเอทิลแอลกอฮอล์ มูลค่าเงิน
ลงทุน 560 ล้านบาท?
6
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2565
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนตุลาคม 2565
1. อุตสาหกรรมอาหาร
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เดือนตุลาคม
2565 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนีผลผลิตขยายตัว มีดังนี้
1) น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 31.8 จากสินค้าสำคัญคือ (1) น้ำมัน
ปาล์มดิบ ขยายตัวร้อยละ 43.3 และ (2) น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์
ขยายตัวร้อยละ 21.6 เนื่องจากความต้องการใช้ที่มากขึ้น
ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และในปีนี้
ปาล์มน้ำมันมีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก รวมถึงผู้ประกอบการ
เพิ่มการผลิตเพื่อสำรองไว้สำหรับการเตรียมการเพิ่มสัดส่วนน้ำมัน
ปาล์มดิบในส่วนผสมของน้ำมันไบโอดีเซลจาก B5 เป็น B7 ที่จะมีผล
ตั้งแต่วันที่ 10 ต.ค. 65 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 65 2) น้ำตาล ขยายตัว
ร้อยละ 16.9 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำตาลทรายขาว ขยายตัวร้อยละ
95.8 เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น
จากการที่เศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติ และโรงงาน
สามารถกลับมาผลิตได้ตามปกติ 3) อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัว
ร้อยละ 8.6 จากสินค้าสำคัญคือ อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป ขยายตัว
ร้อยละ 13.1 เนื่องจากความนิยมในการเลี้ยงสัตว์ทั่วโลกที่ยังคง
ขยายตัวอยู่ ส่งผลให้ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งข้อได้เปรียบทางด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ
เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารสัตว์สำเร็จรูปมีการใช้ by product ใน
การผลิต 4) มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 8.1 จากสินค้าสำคัญคือ
แป้งมันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 9.5 เนื่องจากความต้องการ
บริโภคของตลาดในและต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นตลาด
ส่งออกหลักของไทยมีความต้องการนำเข้าแป้งมันสำปะหลัง
อย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นสินค้าทดแทนแป้งข้าวโพดในช่วงที่มี
ราคาสูง 5) ปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากสินค้าสำคัญคือ เนื้อไก่
แช่แข็งและแช่เย็น ขยายตัวร้อยละ 3.6 และเนื้อไก่สุกปรุงรส
ขยายตัวร้อยละ 6.7 เนื่องจากมีการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ทำให้
สินค้าดังกล่าวเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ และ
การที่ซาอุดีอาระเบียซึ่งเป็นตลาดใหม่ได้อนุมัติให้โรงงานไก่ไทย
11 โรงงานส่งสินค้าเข้าประเทศได้
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้า
อาหารในประเทศเดือนตุลาคม 2565 หดตัว (%YoY) ร้อยละ 16.0 โดย
กลุ่มสินค้าอาหารที่หดตัว เช่น 1) ผลไม้กระป๋องอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 46.0
2) ทูน่ากระป๋อง หดตัวร้อยละ 14.9 3) สุราขาว หดตัวร้อยละ 17.0
4) นมพร้อมดื่ม หดตัวร้อยละ 16.2
ตลาดส่งออก การส่งออกสินค้าอาหารเดือนตุลาคม 2565
ในภาพรวม ขยายตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
จากสินค้าดังนี้ 1) ข้าวและธัญพืช จากสินค้าสำคัญคือ ข้าว เนื่องจาก
การอ่อนค่าของเงินบาท ที่ส่งผลให้ข้าวไทยสามารถแข่งขันด้านราคาได้ และ
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากจีนซึ่งเป็นตลาดหลักได้นำเข้ามันเส้นเพื่อใช้
ในการผลิตเอทานอล อาหารสัตว์ 2) ปศุสัตว์ จากสินค้าสำคัญคือ ไก่สด
แช่เย็นแช่แข็ง โดยตลาดหลัก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น 3) ไขมันและน้ำมันจากพืช
และสัตว์ จากสินค้าสำคัญคือ น้ำมันปาล์ม
คาดการณ์แนวโน้ม ในภาพรวมเดือนพฤศจิกายน 2565 ในภาพรวม
ยังคงมีแนวโน้มขยายตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการที่เปิดประเทศ
อย่างเต็มรูปแบบ ภาคการท่องเที่ยวทยอยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เศรษฐกิจ
มีทิศทางที่ดีขึ้น รวมถึงมูลค่าการส่งออกที่คาดว่าจะยังคงขยายตัว อย่างไรก็ตาม
ยังคงต้องติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ชะลอตัว รวมถึงการที่
ประเทศคู่ค้าหลักอย่างจีนกลับมาใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19
ที่เข้มงวด
7
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2565
2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
? อุตสาหกรรมไฟฟ้า
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ
92.8 ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กระติกน้ำร้อน,
เตาไมโครเวฟ, สายไฟฟ้า และ ตู้เย็น โดยลดลงร้อยละ 31.7, 31.5,
23.7 และ 23.2 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้า
ในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ในขณะที่สินค้า
ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า, หม้อหุงข้าว และ
คอมเพรสเซอร์ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.8, 28.9 และ 14.9
ตามลำดับ เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,248.3
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับ
เดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ ตู้เย็น
ตู้แช่แข็ง และส่วนประกอบ มีมูลค่า 132.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ลดลงร้อยละ 26.9 ในตลาดสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และยุโรป
สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล มีมูลค่า 85.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง
ร้อยละ 12.8 ในตลาดสหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
เครื่องซักผ้า ซักแห้ง และส่วนประกอบ มีมูลค่า 82.3 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.5 ในตลาดสหรัฐอเมริกา แคนาดา และ
เกาหลีใต้ มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีมูลค่า 78.9 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.7 ในตลาดสหรัฐอเมริกา และอาเซียน และ
เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 155.7 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.1 ในตลาดมาเลเซีย เกาหลีใต้ และจีน
ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ เตาอบไมโครเวฟ มีมูลค่า
24.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.4 ในตลาดเวียดนาม
ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา พัดลม มีมูลค่า 47.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 ในตลาดอาเซียน และสหรัฐอเมริกา และ
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ มีมูลค่า 525.1 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 จากตลาดเวียดนาม สเปน และ
ออสเตรเลีย
?คาดการณ์การผลิตเดือนพฤศจิกายน 2565 อุตสาหกรรม
เครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะยังคงทรงตัวโดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ
1.0-3.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจ
ในประเทศขยายตัวจากการเปิดประเทศ?
? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ
88.8 ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD, PWB และ
Printer โดยลดลงร้อยละ 44.2, 26.0 และ 7.3 ตามลำดับ
เนื่องจากมีการจำหน่ายใน ประเทศลดลงและคำสั่งซื้อ
จากต่างประเทศลดลง ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่
PCBA, Integrated circuits (IC) และ Semiconductor Devices
Transistors โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.7, 8.4 และ 2.2 เนื่องจาก
ความต้องการสินค้าของตลาดในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 3,549.8
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับ
เดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุปกรณ์
กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด มีมูลค่า 349.9 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.9 ในตลาดอาเซียน และสหรัฐอเมริกา
และแผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 770.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.4 ในตลาดไต้หวัน และยุโรป ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อ
ลดลง ได้แก่ วงจรพิมพ์ มีมูลค่า 111.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง
ร้อยละ 21.3 ในตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกาและอาเซียน และ HDD
มีมูลค่า 555.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 34.3 ในตลาด
อาเซียน และสหรัฐอเมริกา
?คาดการณ์การผลิตเดือนพฤศจิกายน 2565 อุตสาหกรรม
อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 0.1-1.0 เมื่อเทียบ
กับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปัญหาการขาดแคลน
วัตถุดิบในการผลิตที่ทำให้ราคาต้นทุนสูงขึ้น?
50 0
1,000
1,500
2,000
2,500
3,000
20
40
60
80
10 0
12 0
14 0
Oct-64
Nov-64
Dec-64
Jan-65
Feb-65
Mar-65
Apr-65
May-65
Jun-65
Jul-65
Aug-65
Sep-65
Oct-65
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ดัชนีผลผลิต
ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
มูลค่าการส่งออก ดัชนีผลผลิต
050 0
1,000
1,500
2,000
2,500
3,000
3,500
4,000
4,500
5,000
5,500
20
40
60
80
100
120
140
Oct-64
Nov-64
Dec-64
Jan-65
Feb-65
Mar-65
Apr-65
May-65
Jun-65
Jul-65
Aug-65
Sep-65
Oct-65
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ดัชนีผลผลิต
ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
มูลค่าการส่งออก ดัชนีผลผลิต
8
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2565
3. อุตสาหกรรมยานยนต์
? อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์
20,000
40,000
60,000
80,000
100,000
120,000
140,000
160,000
180,000
200,000
ต.ค.
64
พ.ย.
64
ธ.ค.
64
ม.ค.
65
ก.พ.
65
ม. ค.
65
เม.ย.
65
พ.ค.
65
ม. ย.
65
ก.ค.
65
ส.ค.
65
ก.ย.
65
ต.ค.
65
คนั ขอ้ มูลรายเดือนอุตสาหกรรมรถยนต์
ปริมาณการจำหน่าย ปริมาณการส่งออก ปริมาณการผลิต
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถยนต์ ในเดือนตุลาคม ปี 2565 มีจำนวน
170,717 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน ปี 2565 ร้อยละ 4.75
(%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.83
(%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ
1 ตัน และอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนตุลาคม ปี 2565
มีจำนวน 64,618 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน ปี 2565 ร้อยละ 12.86
(%MoM) แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.24
(%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัว
จากการผ่อนคลายให้นักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างประเทศเดินทาง
เข้าประเทศได้สะดวกขึ้น และการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
การส่งออกรถยนต์ ในเดือนตุลาคม ปี 2565 มีจำนวน
94,228 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน ปี 2565 ร้อยละ 6.14
(%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.51
(%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการเพิ่มขึ้นในตลาดโอเชียเนีย ตะวันออกกลาง
และแอฟริกา
?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในเดือน
พฤศจิกายน ปี 2565 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน ปี 2564
เนื่องจากแนวโน้มการขยายตัวทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่คลี่คลาย?
? อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์
20,000
40,000
60,000
80,000
100,000
120,000
140,000
160,000
180,000
200,000
ต.ค.
64
พ.ย.
64
ธ.ค.
64
ม.ค.
65
ก.พ.
65
ม.ค.
65
เม.ย.
65
พ.ค.
65
ม.ย.
65
ก.ค.
65
ส.ค.
65
ก.ย.
65
ต.ค.
65
คนั ขอ้ มลู รายเดอื นอุตสาหกรรมรถจกั รยานยนต์
ปรมิ ณการจำหน่าย ปรมิ ณการส่งออก ปรมิ ณการผลิต
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนตุลาคม ปี 2565
มีจำนวน 171,644 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน ปี 2565 ร้อยละ
13.07 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
18.50 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์
แบบอเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต
การจำห น่ายรถจัก รยานยนต์ ในเดือน ตุลาค ม
ปี 2565 มียอดจำหน่ายจำนวน 134,019 คัน ลดลงจากเดือน
กันยายน ปี 2565 ร้อยละ 10.83 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจาก
เดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 17.27 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้น
ของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 111-125 ซีซี
และ 126-250 ซีซี
การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนตุลาคม ปี 2565
มีจำนวน 45,711 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ปี 2565 ร้อยละ
13.15 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
47.51 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการเพิ่มขึ้นในประเทศจีน
สหรัฐอเมริกา และเบลเยียม
?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์
ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2565 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน
พฤศจิกายน ปี 2564 เนื่องจาก แนวโน้มการขยายตัวทั้งตลาด
ในประเทศและตลาดส่งออก จากสถานการณ์การแพร่ระบาด
ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่คลี่คลาย?
9
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2565
4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และ
น้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 15.41 จากการชะลอตัวของการ
ผลิตยางแผ่น และน้ำยางข้น
ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 6.20 จากการลดลงของ
การผลิตยางรถยนต์นั่ง ยางรถกระบะ ยางรถบรรทุกและ
รถโดยสาร และยางรถแทรกเตอร์
ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 19.48 จากความต้องการ
ถุงมือยางในตลาดต่างประเทศที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง
การจำหน่ายในประเทศ
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น)
ลดลงร้อยละ 3.89 เป็นผลจากความต้องการยางแผ่น และ
ยางแท่งในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ลดลง
ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 6.93 ตามการชะลอตัวของ
ตลาด REM (Replacement Equipment Manufacturer)
ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.45 จากความต้องการใช้
ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น
การส่งออก
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น)
มีมูลค่าลดลงร้อยละ 28.44 เป็นผลจากการลดลงของการ
ส่งออกยางแผ่นและยางแท่งไปตลาดจีน และน้ำยางข้น
ไปตลาดมาเลเซีย
ยางรถยนต์ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 13.95 จากการ
ชะลอตัวของการส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก
ถุงมือยาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 38.36 จากความ
ต้องการและราคาของถุงมือยางที่ปรับลดลงจากในช่วงที่ผ่านมา
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์
คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2565
การผลิตและจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐมในประเทศ
คาดว่าจะชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง จากฝนที่ตกชุกในช่วงที่ผ่านมา
ส่งผลให้มีน้ำยางสดเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมลดลง สำหรับการผลิต
และจำหน่ายยางรถยนต์ในประเทศ คาดว่าจะกลับมาขยายตัว
อย่างต่อเนื่องตามความต้องการยางรถยนต์ในตลาด REM
(Replacement Equipment Manufacturer) ที่คาดว่าจะเพิ่ม
สูงขึ้นในช่วงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลที่ประชาชนใช้รถยนต์
เพื่อเดินทางท่องเที่ยวหรือกลับภูมิลำเนา ทางด้านการผลิต
ถุงมือยาง คาดว่าจะชะลอตัวจากความต้องการถุงมือยาง
ในตลาดโลกที่ปรับลดลงเป็นหลัก แต่ในส่วนของการจำหน่าย
ถุงมือยางในประเทศ คาดว่าจะขยายตัวจากความต้องการใช้
ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคในประเทศที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม คาดว่าจะมีมูลค่าลดลง
สาเหตุจากจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของทั้งผลิตภัณฑ์
ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น มีแนวโน้มชะลอการสั่งซื้อ
ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจากไทย สำหรับการส่งออกยางรถยนต์คาดว่า
จะกลับมามีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ความต้องการยางรถยนต์
ในตลาดสหรัฐอเมริกาที่คาดว่าจะฟื้นตัว ในส่วนของการส่งออก
ถุงมือยาง คาดว่าจะมีมูลค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง จากฐานตัวเลข
การส่งออกเมื่อปีที่ผ่านมาที่อยู่ในระดับสูง และราคาของ
ถุงมือยางที่ปรับลดลงจากในช่วงที่ผ่านมา
10
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2565
5. อุตสาหกรรมพลาสติก
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ดัชนีผลผลิต เดือนตุลาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 87.24
หดตัวร้อยละ 8.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนี
ผลผลิตหดตัวในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์ เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ
หดตัวร้อยละ 22.97 กระสอบพลาสติก หดตัวร้อยละ 20.26 และ
พลาสติกแผ่น หดตัวร้อยละ 14.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนตุลาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 84.73 หดตัว
ร้อยละ 12.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ที่หดตัว
เช่น พลาสติกแผ่น หดตัวร้อยละ 22.50 บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัว
ร้อยละ 18.80 และแผ่นฟิล์มพลาสติก หดตัวร้อยละ 18.15 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก เดือนตุลาคม 2565 มีมูลค่า 344.34
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดร้อยละ 6.44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกหดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์
แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นแบบเซลลูลาร์
(HS 3920) หดตัวร้อยละ 26.86 ผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบของอาคาร
(HS 3925) หดตัวร้อยละ 24.83 และผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้น
(HS 3918) หดตัวร้อยละ 21.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การนำเข้า เดือนตุลาคม 2565 มีมูลค่า 396.34
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ หดตัวร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าหดตัว
เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบของอาคาร (HS 3925) หดตัว
ร้อยละ 17.33 ผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และ
แถบอื่น ๆ ชนิดยึดติดในตัว (HS 3919) หดตัวร้อยละ 16.20
และผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ที่ไม่เป็น
แบบเซลลูลาร์ (HS 3920) หดตัวร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนพฤศจิกายน 2565
จากต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมพลาสติก
มีต้นทุนที่สูงเพิ่มมากขึ้น โดยมีปัจจัยมาจากราคาน้ำมันดิบโลก
ที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการผลิต
เพื่อดูสถานการณ์ด้านราคา และผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อเท่านั้น
ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออก-นำเข้า
11
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2565
6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออกและการนำเข้า
ที??มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที??มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ดัชนีผลผลิต เดือนตุลาคม 2565 หดตัวร้อยละ 13.81
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์
ขั้นปลายหดตัวร้อยละ 19.59 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว
ได้แก่ ปุ๋ยเคมี หดตัวร้อยละ 53.91 สีน้ำมัน หดตัวร้อยละ
28.20 และยาสระผม หดตัวร้อยละ 20.73 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ในส่วนกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานขยายตัว
ร้อยละ 4.56 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ เอทานอล
ขยายตัวร้อยละ 11.87 คลอรีน ขยายตัวร้อยละ 4.65 และ
โซดาไฟ ขยายตัวร้อยละ 2.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนตุลาคม 2565 อยู่ที่ระดับ
80.61 หดตัวร้อยละ 11.05 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน และกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน หดตัวร้อยละ 3.49
โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ เอทานอล หดตัว
ร้อยละ 15.03 กรดเกลือ หดตัวร้อยละ 9.29 กลุ่มเคมีภัณฑ์
ขั้นปลาย หดตัวร้อยละ 13.33 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการหดตัว
ได้แก่ ปุ๋ยเคมี หดตัวร้อยละ 56.07 ยาสระผม หดตัวร้อยละ
16.83 สีน้ำมัน หดตัวร้อยละ 23.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน
การส่งออก เดือนตุลาคม 2565 มูลค่าการส่งออก
815.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 7.38 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่า
การส่งออก 492.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.01
กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการส่งออก 322.51 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 9.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหดตัว เช่น ปุ๋ยเคมี หดตัว
ร้อยละ 43.84 เคมีภัณฑ์อินทรีย์ หดตัวร้อยละ 25.03 และสี หดตัว
ร้อยละ 8.76 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การนำเข้า เดือนตุลาคม 2565 มีมูลค่าการนำเข้า
รวม 1,537.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 0.48
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์
ขั้นปลาย มีมูลค่าการนำเข้า 520.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ขยายตัวร้อยละ 2.91 ส่วนกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่า
การนำเข้า 1,017.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ
0.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนพฤศจิกายน
2565 ทิศทางราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ตามทิศทาง
การฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้การส่งออกสินค้า
ที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์
มีต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้น
12
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2565
7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิต อยู่ที่ระดับ 92.87 หรือหดตัวร้อยละ
18.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ
2.91 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน
ได้แก่ Propylene และ Ethylene หดตัวร้อยละ 17.89 และ
18.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมี
ขั้นปลาย ได้แก่ PS resin และ PE resin หดตัวร้อยละ 48.46
และ 17.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 93.56 หดตัวร้อยละ
18.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ
0.41 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน
ได้แ ก่ Toluene ห ด ตัวร้อ ย ล 58.96 เมื่อเทีย บ กับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PS
resin และ PP resin หดตัวร้อยละ 24.60 และ 18.63
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก เดือนตุลาคม ปี 2565 มีมูลค่า 853.86
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 30.73 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ 9.19 เมื่อเทียบกับ
เดือนก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น
PE resin และ PP resin เป็นต้น และหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมี
ขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ Propylene เป็นต้น
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การนำเข้า เดือนตุลาคม ปี 2565 มีมูลค่า 478.53
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 9.58 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ 2.93 เมื่อเทียบกับ
เดือนก่อน ซึ่งหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น
Toluene เป็นต้น และหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น
PVC resin และ Nylon resin เป็นต้น
คาดการณ์แนวโน้ม เดือนพฤศจิกายน ปี 2565
คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะชะลอตัวเมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอการส่งออกโดยเฉพาะ
ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ Propylene
จากระดับราคาที่ป รับขยายตัวตามราคาน้ำมันดิบ
ที่เป็นผลกระทบจากการหยุดการผลิตในหลายประเทศ
จากความขัดแย้งยูเครน-รัสเซียที่ยืดเยื้อ ความขัดแย้งของ
จีน -ไต้หวัน และการก่อการร้ายใน ตะวัน ออกกลาง
ประกอบกับประเทศกลุ่มโอเปกยังไม่พิจารณาปรับขึ้น
ปริมาณการผลิต อีกทั้งประเทศรัสเซียที่เป็นผู้ผลิตพลังงาน
โลกรายสำคัญ หยุดส่งก๊าซธรรมชาติให้ประเทศในยุโรป
นอกจากนี้ความต้องการใช้อุปกรณ์ป้องกันและที่เกี่ยวกับ
โควิด-19 ชะลอตัวลงตามสถานการณ์การระบาดที่ลดลง
ทำให้ความต้องการใช้เม็ดพลาสติกที่เกี่ยวข้องลดลง
13
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2565
8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ที่ม : ส นักงานเศ รษ ฐกิจ อุต สาห ก รรม แล สถ บัน เห ล็ก
และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนตุลาคม 2565
มีค่า 88.4 หดตัวร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง ในส่วนของการก่อสร้าง
ภาคเอกชน ประกอบกับมีการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศ
ซี่งมีราคาลดลง เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก พบว่าดัชนี
ผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวทั้งในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็ก
ทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรม มีค่า 86.2 หดตัวร้อยละ 11.7 ผลิตภัณฑ์
ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กเส้นกลม หดตัวร้อยละ
21.7 รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดร้อน
หดตัวร้อยละ 18.9 และลวดเหล็ก หดตัวร้อยละ 15.4
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
92.1 หดตัวร้อยละ 13.0 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัว ได้แก่
เหล็กแผ่นรีดเย็น หดตัวร้อยละ 29.4 รองลงมาคือ เหล็กแผ่น
เคลือบสังกะสี หดตัวร้อยละ 10.7 และเหล็กแผ่นรีดร้อน
ชนิดม้วน หดตัวร้อยละ 8.7
การบริโภคในประเทศ ในเดือนตุลาคม 2565
มีปริมาณการบริโภค 1.2 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 23.1
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการบริโภคเหล็ก
ทรงยาวมีปริมาณ 0.4 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 15.3 จากการ
บริโภคเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน หดตัวร้อยละ
13.8 และลวดเหล็ก หดตัวร้อยละ 12.0 การบริโภคเหล็ก
ทรงแบนมีปริมาณ 0.8 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 26.6 จากการ
บริโภคเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก หดตัวร้อยละ 36.0 รองลงมา
คือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี หดตัวร้อยละ 34.7 และเหล็ก
แผ่นบางรีดร้อน หดตัวร้อยละ 24.8
การน เข้า ในเดือนตุลาคม 2565 มีปริมาณ
การนำเข้า 0.8 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 22.7 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว
มีปริมาณการนำเข้า 0.2 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 5.1 เหล็กทรงยาว
ที่มีการนำเข้าหดตัว เช่น เหล็กเส้น ชนิด Alloy steel หดตัว
ร้อยละ 24.6 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ ญี่ปุ่น จีน
และเกาหลีใต้) ลวดเหล็ก หดตัวร้อยละ 19.0 (ประเทศหลัก
ที่ไทยนำเข้าลดลง คือ ญี่ปุ่น จีน และเวียดนาม) และเหล็กเส้น
ชนิด Carbon steel หดตัวร้อยละ 7.6 (ประเทศหลักที่ไทย
นำเข้าลดลง คือ ญี่ปุ่น จีน และไต้หวัน) กลุ่มเหล็กทรงแบน
มีปริมาณ การนำเข้า 0.6 ล้านตัน ห ดตัวร้อยละ 26.2
กลุ่มเหล็กทรงแบนที่มีการนำเข้าหดตัว เข่น เหล็กแผ่นเคลือบ
สังกะสี โดยวิธีจุ่มร้อน หดตัวร้อยละ 45.5 (ประเทศหลักที่ไทย
นำเข้าลดลง คือ ญี่ปุ่น และจีน) เหล็กแผ่นรีดเย็นชนิด Carbon
steel หดตัวร้อยละ 28.2 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ
ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน) และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน
ชนิด Carbon steel หดตัวร้อยละ 20.7 (ประเทศหลักที่ไทย
นำเข้าลดลง คือ ญี่ปุ่น เวียดนาม และจีน)
?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนพฤศจิกายน
2565 คาดการณ์ว่า การผลิตจะหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
ภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงราคาเหล็กต่างประเทศมีแนวโน้มลดลง
ทำให้ผู้บริโภคชะลอการสั่งซื้อเพื่อดูทิศทางราคา ทั้งนี้มีประเด็น
สำคัญที่ควรติดตาม อาทิ สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก
ราคาเหล็กต่างประเทศ และการดำเนินนโยบายอุตสาหกรรม
เหล็กของจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ส่งออกเหล็ก
รายใหญ่ของโลก เนื่องจากส่งผลต่อปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์
เหล็กในประเทศไทย?
14
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2565
9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต
การผลิตหดตัวตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยเส้นใย
สิ่งทอหดตัวร้อยละ 2.37 (YoY) จากกลุ่มเส้นใยและเส้นด้ายฝ้าย
ผ้าผืนหดตัวร้อยละ 11.62 (YoY) จากกลุ่มผ้าทอ (ฝ้าย)
และผ้าทอ (ใยสังเคราะห์) สำหรับการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป
หดตัวร้อยละ 9.78 (YoY) จากเสื้อผ้าทอและเสื้อผ้าถัก
เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ส่งผลให้คำสั่งซื้อลดลง
การจำหน่ายในประเทศ
เสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัวร้อยละ 17.89 (YoY)
จากเสื้อผ้าทอ หลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุม
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจภายในประเทศและภาคการ
ท่องเที่ยวที่ปรับตัวกลับมาเป็นปกติ ส่งผลให้มีจำนวน
นักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
เส้นใยสิ่งทอ หดตัวร้อยละ 1.09 (YoY) จากเส้นด้าย
ฝ้ายและเส้นด้ายจากเส้นใยประดิษฐ์ กลุ่มผ้าผืน หดตัว
ร้อย ละ 20.39 (YoY) จากผ้าท อ (ฝ้าย) แล ผ้าท อ
(ใยสังเคราะห์)
การนำเข้า
ด้ายและเส้นใยขยายตัวร้อยละ 25.58 (YoY)
แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เวียดนาม
อินโดนีเซีย และไต้หวัน สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว
ร้อยละ 10.19 (YoY) โดยแหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน
อิตาลี เวียดนาม กัมพูชา และบังกลาเทศ
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
กลุ่มผ้าผืนหดตัวร้อยละ 5.97 (YoY) ในตลาด
สำคัญ ได้แก่ จีน ไต้หวัน และเวียดนาม
การส่งออก
เสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 10.20 (YoY)
ในตลาดสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เบลเยียม จีน
และอิตาลี
เส้นใยสิ่งทอ หดตัวร้อยละ 25.64 (YoY) เนื่องจาก
คำสั่งซื้อที่ลดลงของประเทศคู่ค้าหลักในตลาดสำคัญ ได้แก่
ญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย สำหรับกลุ่มผ้าผืนหดตัว ร้อยละ
11.38 (YoY) จากตลาดสำคัญ ได้แก่ เวียดนาม บังกลาเทศ
และญี่ปุ่น
คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2565
คาดว่าการผลิตจะขยายตัวเล็กน้อย จากอุปสงค์
ภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก
การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ประกอบกับมาตรการ
กระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ส่งผลให้การบริโภค
ภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการส่งออกสินค้าเสื้อผ้า
สำเร็จรูปยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม
ยังต้องติดตามปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ
การขาดแคลนพลังงานในทวีปยุโรป อาจเป็นปัจจัยกดดัน
ที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัว รวมทั้งการ
ปรับขึ้นค่าไฟฟ้าและค่าจ้างแรงงาน ซึ่งกระทบต่อต้นทุน
การผลิตของกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเช่นกัน
15
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2565
10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนตุลาคม ปี 2565
มีจำนวน 6.44 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ปี 2565
ร้อยละ 1.58 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 12.68 (%YoY)
การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือน
ตุลาคม ปี 2565 มีปริมาณการจำหน่าย 2.90 ล้านตัน
เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ปี 2565 ร้อยละ 1.54 (%MoM)
โดยได้รับอานิสงส์จากการเปิดประเทศทำให้เศรษฐกิจ
เริ่มฟื้นตัว แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลง
ร้อยละ 3.24 (%YoY) เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์
ยังฟื้นตัวได้น้อย
การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนตุลาคม
ปี 2565 มีจำนวน 0.62 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน
ปี 2565 ร้อยละ 31.16 (%MoM) แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือน
เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 50.57 (%YoY) โดยเป็นการ
ปรับลดคำสั่งซื้อจากตลาดฟิลิปปินส์ และบังกลาเทศ ร้อยละ
97.97 และ 49.80 ตามลำดับ เนื่องจากตลาดส่งออกหลัก
ยังได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องจากความขัดแย้ง
ของรัสเซีย-ยูเครน
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิต
ปูนซีเมนต์ ในภาพรวมเดือนพฤศจิกายน 2565 คาดว่าจะ
สามารถขยายตัวได้หลังภาวะน้ำท่วมคลี่คลาย และจากภาวะ
เศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มขยายตัวดีขึ้นจากการเปิดประเทศ
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนตุลาคม
ปี 2565 มีจำนวน 3.26 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน
ปี 2565 ร้อยละ 1.02 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 6.03 (%YoY)
การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)
ในเดือนตุลาคม ปี 2565 มีปริมาณการจำหน่าย 2.90 ล้านตัน
เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ปี 2565 ร้อยละ 1.54 (%MoM)
จากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อนลดลง ร้อยละ 3.24 (%YoY)
การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนตุลาคม
ปี 2565 มีจำนวน 0.21 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน
ปี 2565 ร้อยละ 14.75 (%MoM) และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.87 (%YoY) จากการปรับเพิ่มคำสั่งซื้อ
จากตลาดเวียดนาม ฟิลิปปินส์ เมียนมา และกัมพูชา นอกจากนี้
ยังได้รับคำสั่งซื้อปูนเม็ดจากเวียดนามกลับมาเป็นจำนวนมาก
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์
(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2565 คาดว่าจะขยายตัว
เนื่องจากประชาชนซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหลังภาวะน้ำท่วม
งานก่อสร้างภาครัฐเริ่มดำเนินงานต่อหลังได้รับงบประมาณ และ
จากการเปิดประเทศทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยของประชาชน
เพิ่มตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มกระเตื้องขึ้น
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม