อยาก “ซื้อบ้าน” มือสอง ลองอ่าน รีวิว ซื้อ บ้านบังคับคดี อาจได้บ้านตรงใจ ราคาดี

ใครอยากมี บ้าน กำลังคิดจะ “ซื้อบ้าน” สักหลัง ลองอ่านอีกทางเลือกในการหาซื้อบ้านมือสอง ที่อาจจะทำให้ ฝันอยากมีบ้านสักหลังของคุณเป็นจริงได้ ในราคาไม่ไกลเกินเอื้อม กับ รีวิวซื้อบ้านบังคับคดี ฝันให้ไกล แต่ไม่เกินเอื้อม เมื่อชายคนหนึ่งได้ตั้งกระทู้ รีวิวการซื้อบ้านบังคับคดี โดยเขาหวังว่า รีวิวนี้หวังว่าจะเป็นประโยช์สำหรับคนอยากมีบ้าน ไม่ได้ผลประโยชน์ใด ๆ จากการรีวิวนี้ ทำไว้ให้เป็นความรู้ เผื่อมีคนสนใจผ่านเข้ามาอ่านครับ

เริ่มจากเราสองผัวเมีย อยากได้ บ้าน โดยเฉพาะเมียอยากได้มากกกกกกกกกก  เพราะอยู่คอนโด ก็สบายดีอยู่แต่มีลูกแล้วก็ต้องขยับขยาย หาที่วิ่งเล่นให้ลูก แฟนก็ชอบส่งรูปบ้านมือสองให้ดู แต่เราอยากได้บ้านมือหนึ่ง แต่บ้านมือหนึ่งแถวที่ทำงาน (ผมทำงานแถวหลักสี่ แฟนทำงานแถวม.เกษตร ) ตอนแรกเกือบได้บ้านแถวคลอง 4 อ.ลำลูกกกา จ.ปทุมธานี แล้ว แต่บริษัทขายบ้านดันยึกยัก ตรวจบ้านแล้วไม่ยอมแก้ไขให้บ้าง เลยยกเลิกกันไป

จนมาถึงเดือนมิถุนายน 2565 แฟนก็ส่งรูปบ้านให้ดูอยู่อีก ผมรำคาญ เลยเปิดดูบ้านบังคับคดีผ่านแอพ LedProperty เปิดดูแล้วตาสว่างกันทีเดียว บ้านให้เลือกเยอะมากกกกกกกก  ไปสนใจทาว์นเฮ้าส์หลังมุม แถวลาดพร้าววังหิน 1.9 ล้าน (บ้าไปแล้ว)  พอวันรุ่งขึ้น สถานะขายได้แล้ว มารู้ทีหลังว่าทาว์เฮ้าส์หลังนี้ขายไป 4.2 ล้าน 

จากนั้นเลยเริ่มศึกษาเกี่ยวกับบ้านบังคับคดีให้มากขึ้น ก็เข้าเว็บไซต์กรมบังคับคดีไปเลย 

แนะนำว่ามือใหม่ เข้าไปที่หมายเลข 1 ก่อนครับ  จะเจอหน้าหน้าแบบนี้ แนะนำว่าให้ใส่จังหวัด และตำบล หรือแขวง ก็พอ จากนั้นเลือกประเภททรัพย์ เป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กรอกหรัส แล้วค้นหา 


อยาก

อยาก

จะได้ตารางแบบนี้มา ซึ่งข้อเสียของกรมบังคับคดีคือ เราจะไม่รู้เลยว่ารายการไหนขายได้แล้ว หรือยังขายไม่ได้ 

อยาก

อยาก

ถ้านัดที่ 1 ขายได้เลย ราคาขายจะเริ่มต้นที่ 2.2 ล้านบาท 

ถ้านัดที่ 1 ขายไม่ได้ ราคาขาขจะลดไปอีก 10% ราคาจะอยู่ที่ 1.971 ล้าน แต่ประกาศขายจริง จะเริ่มที่ 2.0 ล้าน 

นัดที่ 2 ราคาจะเริ่มต้นที่ 2.0 ล้าน 

นัดที่ 2 ถ้ายังขายไม่ได้ราคาจะลดไปอีก 20 % ของราคาเริ่มต้น หรือประมาณ 1.8 ล้าน 

นัดที่ 3 ถ้ายังขายไม่ได้ราคาจะลดไปอีก 30% ของราคาเริ่มต้น หรือประมาณ 1.55 ล้านบาท (มีเศษปัดขึ้น) ครั้งที่ 4-6 ราคาจะไม่ลดไปกว่านี้ 

ถ้าให้แน่ใจ แนะนำว่าต้องไปดูบ้านด้วยตัวเอง ถ้าหมู่บ้านมีนิติบุคคล ก็บอก รปภ.เลยว่ามาดูบ้านบังคับคดี ขอพบนิติบุคคล ถ้านิติไม่อยู่ก็บอกเลยว่าจะมาซื้อบ้านบังคับคดี บ้านเลขที่………….นี้ ซึ่งประสบการณ์ส่วนตัว รปภ.ให้เข้านะ แต่แนะนำว่า ให้ขับรถยนต์ไป ขับมอเตอร์ไซต์ไปจะโดนมองแรงได้ (โดนมาแล้ว) รปภ.บางทีก็บอกว่าบ้านเลขที่นี้……….มีคนอยู่หรือไม่มีคนอยู่ บางทีก็ไม่บอก บางที่ก็รู้ประวัติหมู่บ้านดี อย่าลืมถามค่าส่วนกลางกับนิติด้วยล่ะ 

จากนั้นเราก็คลิกเข้าร่วม ลงทะเบียนสู้ราคา แนะนำว่าให้ลงทะเบียนนะ เพราะจะเร็วมากตอนยื่นหลักประกัน ถ้าไปกรอกแบบฟอร์มหน้างาน เจ้าหน้าที่เรื่องมากพอสมควร 

หลักประกัน ถ้าบ้าน 1-3 ล้าน ต้องมีเงิน 150,000 บาท ซื้อเช็คชื่อสำนักงานบังคับคดี………….  ตามประกาศ แนะนำว่าซื้อเช็ค เร็วสุดวันที่ไปลงทะเบียนประมูล แต่ถ้าเช็คเงินสดค่าธรรมเนียม 20 บาท จะเปลี่ยนไปใบ้บัตรเดบิต กรุงไทยก็ได้ แต่ต้องไปติดต่อธนาคารขอขยายวงเงินการกดเงินเป็นวันละ 2 แสน ค่าธรรมเนียมการรูด 10 บาท แต่จะใช้บัตรเครดิตก็ได้ ค่าธรรมเนียม ประมาณ 1 % 

วันนัด แนะนำว่าให้ไปถึงสถานที่ประมูล ส่วนตัวไปที่อาคารสีติพรรณ กรมบังคับคดี แขวงบางขุนนนท์ เพราะการประมูลแต่ระรายการถ้าไม่มีผู้สู้ราคาจะผ่านไปเร็วมาก ของผม 9.30 รายการที่ 40 กว่าแล้ว และจะมีการแจ้งด้วยว่า วันนี้จะไม่มีการประมูลรายการอะไรบ้าง …….ไปเก้อ มารอบหนึงแล้ว

เลยแนะนำว่าภาพที่ 2 ให้กดดูที่หมายเลข 3 ก่อน จะได้ดูประวัติบ้าน ว่าบ้านหลังนี้ ผ่านการขายมากี่รอบ โจทก์ กับจำเลย เล่นแง่อะไรกัน ส่วนตัว ผมเจอบ้านที่หลักสี่ 2.5 ล้าน เป็นนัดที่ 6 ราคาจะเหลือ 1.7 ล้าน พอวันประมูล เจ้าหน้าที่ประกาศว่าโจทก์งดขาย………….แล้วมาดูประวัติการประกาศขายพบกว่าโชคโชนมาก ตั้งแต่ปี 60  อีกหลักหนึงแถวลาดปลาเค้า ดึงเรื่องตั้งแต่ปี 54  งดขายด้วยหลายเหตุผล แล้วเจ้าของกรรมสิทธิ์ เป็นถึง ผู้บริหารหน่วยงานรัฐชื่อดัง อีก เลยรู้ว่าไม่ต้องไปหวังมันละ แล้วในสถานะก็บอกว่า (หมายเลข3ภาพที่2) โจทก์งดขายทุกนัด แต่ในสถานะในเว็บกรมบังคับคดีบอกว่าคลิกเข้าร่วมประมูลได้ ย้อนแย้งปะล่ะ สุดท้ายโทรไปถามสำนักงานบังคับคดีแพ่ง กทม.3 เลยพบว่า โจทก์งดขายทุกนัดจริงๆ  ตามภาพ

อยาก

มาถึงบ้านของผมบ้าง 

จากที่พลาดจาก หลักสี่ และ ลาดปลาเค้าแล้ว ก็เปลี่ยนไปดูแถวสายไหม 

ซึ่งได้มา 4 หลัง ถนนวัชรพล 1 หลัง กับ ถนนสายไหม 3 หลัง 

หลังที่ 1 แถววัชรพลเป็นบ้านร้างหนักมาก ถือว่าโชคดีนะ เพราะส่วนใหญ่ที่ไปดูมามีคนอยู่ ไม่ต้องมาปวดหัวเรื่องไปไล่ที่เค้าหรือฟ้องขับไล่ 

หลังที่ 2 กับ 3 อยู่หมู่บ้านเดียวกัน คนละซอย บ้านสวยแต่ดันมีคนอยู่ 

หลังที่ 4 เป็นบ้านร้าง สภาพใหม่กริป แต่บ้านทรุดหนักมาก แถมไกลสุด 

แต่นัดของหลังที่ 1 ดันมาก่อนคือวันที่ 3 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ตอนแรกอ่านไม่ดีนึกว่าจัดที่โรงแรมมิราเคิล แต่ก็ใช่นัดแรกที่โรงแรม แต่นัดต่อไปจัดที่กรมบังคับคดี บางขุนนนท์ แล้วต้องรีบขับรถไปบางขุนนนท์ 

พอไปถึงเนื่องจากไม่ได้ลงทะเบียนล่วงหน้าไว้ ต้องมากรอกเอกสารใหม่ เจ้าหน้าที่ก็เรื่องมาก ว่าต้องเขียนที่อยู่ตามบัตรประชาชนเท่านั้น พอไปจ่ายเงินประกัน 150,000 บาท ใช้เครื่องรูดบัตร EDC  ครั้งแรกรูดไม่ผ่าน ครั้งที่ 2 รูดผ่าน ลำดับทรัพย์ตอนนั้นก็ 39 แล้ว ทรัพย์ของผม 44 โคตรรีบวิ่งขึ้นไปห้องประมูล

นั่งรถไปซักพักทรัพย์ก็ประกาศขาย 1.5 ล้าน 

ตัวแทนโจทก์………ไม่มานะคะ

ตัวแทนจำเลย………ไม่มานะคะ

เริ่มต้นที่ 1.5 ล้าน ขึ้นราคายกละ 50,000 บาท 

มีใครสนในยกป้ายค่ะ (มีคนยกกัน 5 คน) 

ราคาก็ขึ้นไปจนถึง 1.65 ล้าน 

มีคนหนึ่งยกเบอร์บอกเจ้าหน้าที่ว่า ขอ 1.85 ล้านครับ เจ้าหน้าที่บอกว่าใครสนใจบ้าง 

แฟนบอกให้ผมยกสู้ ผมก็เถียงแฟนว่าเราตั้งงบไว้ 1.8 ล้านไม่ใช่หรอ

แฟนบอกจะสู้ ยกเลย ผมก็เลยยก 

เจ้าหน้าที่บอกว่า 1.9 ล้านมีใครสู้ไหมคะ 

ไม่มีนะคะ ครั้งที่  1  2   3  


เคาะไม้ ผมนี่หน้าชาไปเลย ไม่คิดว่าจะได้บ้าน แล้ว 

จากนั้นก็เดินลงไปด้านล่าง ไปกรอกแบบฟอร์มขอขยายระยะเวลาชำระเงิน กรมบังคับคดีขยายให้ 3 เดือน ให้ชำระประมาณปลายเดือนตุลาคม รับใบเสร็จเอกสารสัญญาจะซื้อจะขาย แผนที่สัญญา สำเนาโฉนด แผนที่ ฯลฯ  ในเอกสารจะระบุว่าค่าส่วนกลาง(ถ้ามี) จะเริ่มนับตั้งแต่วันที่เคาะไม้ ก็คือวันที่ไปประมูล

จากนั้นก็เลยไปดูบ้านอีกรอบ คราวนี้เข้าไปในบ้านเพราะไม่ได้ล็อกไว้ บ้านถือว่าสภาพดีมาก แค่ขยะเยอะไปหน่อย แล้วก็เอาชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ ไปค้นใน google ดันเจอ เบอร์โทร เลยโทรไปคุย เลยรู้มาว่าเค้าตกงาน ตอนนี้อยู่บ้านที่ต่างจังหวัด ทรัพย์สินอะไรภายในบ้านยกให้หมดเลย 

จากนั้นก็ไปคุยกับนิติบุคคล ก็แจ้งมาว่าให้เจ้าของบ้านเดิมส่งจดหมายระบุว่า อนุญาตให้ผม เข้าทำการปรับปรุงบ้าน นำของในบ้านไปทิ้ง พร้อมสำเนาบัตรประชาชน  ผมก็โทรไปบอกเจ้าของเดิมเค้าก็ทำให้นะ แล้วก็ส่งมาให้ วันหยุดยาวที่ผ่านมา ก็เลยถือโอกาสไปทำความสะอาดบ้าน ฉีดปลวก พาผู้รับเหมาไปประเมินราคา ค่ารีโนเวท ผู้รับเหมาก็ถามว่าซื้อมากี่บาท ก็บอกไปตรงๆ ว่า 1.9 ล้าน ผู้รับเหมาทำหน้า งง ว่าจริงดิ ราคานี้หาไม่ได้นะแถวนี้ เริ่มต้นก็ 2.5 ล้านแล้ว 

สรุป การ “ซื้อบ้าน” บ้านบังคับคดี


1.เลือกแขวง ตำบลที่ต้องการจริงๆ เพราะมันก็มีให้เราเลือจริงๆ นั่นแหละ 

2.หาตัวเลือกไว้เยอะๆ เพราะโอกาสผิดหวังสูงมาก 

3.เช็คประวัติบ้านดีๆ ถ้าประวัติโชคโชน รายการยาวไป ทำใจว่าอาจจะไม่ได้

4.ถ้ามีคนอยู่ในบ้าน สมมติว่าประมูลได้แล้ว ก็ลองไปคุยกับเค้าดีๆ ครับ ถ้าไม่เป็นมิตรก็เตรียมแจ้งบังคับคดีให้มาขับไล่

5.ต้องมีเงินก้อน 150,000 บาท หรืออื่นๆ เป็นค่ามัดจำให้กับกรมบังคับคดี 

6.ลงทะเบียนก่อนประมูลดีสุด ถ้าซื้อเช็คด้วยจะเร็วมาก แต่ถ้าอยากประหยัด รูดบัตรเดบิตก็ได้ ค่าธรรมเนียม 10 บาท เช็ค 20 บาท

7.ต้องไปดูบ้านก่อนจะซื้อทุกครั้ง ในรูปมันหลอกมาก บางบ้านถ่ายรูปแย่ แต่บ้านดีมากก็มี 

8.ถ้าได้เข้าไปในบ้านแล้วรู้สึกแปลกๆ ร้อนๆ อย่าซื้อ(ความเชื่อส่วนตัว) 

9.ไม่ได้มีเราที่จะซื้อ มันมีคนแข่งจริงๆ ยังไงก็เตรียมงบไว้ในใจด้วย

10.ให้คิดซะว่า ถ้ามันเป็นของเรา มันจะได้มาโดยง่าย ไม่ต้องไปเครียดมาก

11.คู่มือซื้อทรัพย์บังคับคดี มี e-book ให้อ่านในเว็บกรมบังคับคดี 

12.คอนโดเยอะมากกกกกกกกกก  ถ้าสนในไปเลือกดูกันได้ครับ 

ทั้งนี้ ยังสามารถกู้ซื้อบ้าน โดยใช้เอกสาร สัญญาจะซื้อจะขายที่ได้จากกรมบังคับคดี มาเป็นเอกสารขอกู้ได้ด้วย ซึ่งถ้าจะซื้อบ้านแบบกู้เงิน ก็เป็นสิ่งแรกที่ควรคำนึงถึง ว่าเงินเดือนเราเท่านี้ กู้เงินสูงสุดได้กี่บาท

แนะนำว่า อย่ากู้จนเต็มลิมิต เผื่อไว้กู้ต่อเติม รีโนเวทด้วย

ประสบการณ์ตรงเลยละกัน

ตอนแรกดูบ้านราคา 2 ล้านถ้วนไว้ เลยไปถามธนาคาร ได้คำตอบดังนี้

1.ธนาคารกรุงไทย ดอกไม่แรง กู้ได้ 100% ผ่อนเดือนละ 11,000 บาท บังคับทำประกันอัคคีภัยและไม่เปิดโอกาสให้ซื้อประกันอัคคีภัยเอง อ้างว่า บริษัทประกันอื่นไม่รู้ราคาประเมิน …….ไอ้เราก็ขายประกัน จริงๆซื้อทุนประกัน 2 ล้านเลยก็ได้นิ ยังไงก็เกินทุนอยู่แล้ว แต่ จนท.อ้างว่า มันจะติดปัญหาโน่นนี่

2.ธนาคารออมสิน กู้ได้ 95% คิดเล่นๆว่าต้อจ่ายเอง 100,000 บาท แต่ผ่อนสบายเป็นขั้นบันได แต่ก็อย่าลืมว่าเราต้องเสียค่าโอนกรรมสิทธิที่ดิน ค่าจดจำนอง อีกประมาณ 1 แสน ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดี แต่ก็แอบเหนื่อยถ้าไม่มีเงิน

3.ธนาคารอาคารสงเคาะห์ ธอส. กู้ได้ 100% แต่………มีข้อแม้ว่าต้องหาเงินไปปิดกับกรมบังคับคดีก่อน แล้วค่อยเอาโฉนดมาจำนอง ซึ่งต้องทำให้เสร็จภายในวันนั้น ซึ่งมันก็คือบ้านแลกเงินดีๆนี่แหละ  ยกเว้น ทรัพย์นั้น ธอส.เป็นโจทก์ ซึ่งหายากมากกกก แต่อัตราผ่อนแบบขั้นบันได โอเคมากๆ แต่ไม่วาย จะหายืมเงิน 2 ล้านจากไหน คงเป็นเพราะทรัพย์ธนาคารก็เยอะอยู่แล้ว คงไม่ปล่อยสินเชื่อกับบังคับคดี

3.ธนาคารกรุงศรี ….เหมือน ธอส.เลย ต้องหาเงินไปปิดกับบังคับคดีก่อน แล้วค่อยเอามาจำนอง ผ่อนประมาณ 12,000 บาท

4.ธนาคารกสิกรไทย ไปถึงปุ๊บ บอกว่า พี่ไปกู้แบงค์อื่นเถอะที่นี่บ้านมือสอง ดอกแพง ….ดีเหมือนกัน ตรงดี

5.ธนาคาร UOB กู้ได้ 100% ใช้สัญญาจะซื้อจะขาย ยื่นกู้ได้ ผ่อนเดือนละ 10,000 นิดๆ แต่แฟนบอก อยากใช้ธนาคารรัฐ ดอกน่าจะถูกกว่า

สรุป แฟนกู้กับกรุงไทยจ้า…..ผ่อนเดือนละ 9,700 ตลอดสัญญา เพราะกู้ 1.9 ล้าน แต่ผมคงต้องกู้สหกรณ์ มารีโนเวทแทน เพราะทุกธนาคาร ไม่ให้กู้เกิน และไม่ให้กู้ ปรับปรุงบ้าน มีแต่ออมสินที่แนะนำว่า หลังจากกู้เสร็จ อีก 6 เดือนค่อยมากู้สินเชื่อ อย่างอื่นได้ ตอนนี้มีสินเชื่อสู้โควิด สำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ

คลิกอ่านกระทู้ รีวิวซื้อบ้านบังคับคดี ฝันให้ไกล แต่ไม่เกินเอื้อม


ติดตาม คมชัดลึก ได้ที่ 

Instagram: https://www.instagram.com/komchadluek_online/

YouTube: https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w