เปิดวิสัยทัศน์ “สกลธี ภัททิยกุล” ใช้ระบบAI ก้ำปัญหาจราจร ชูนโยบายล้อ ราง เรือ ดึงคนกรุงหันมาใช้รถสาธารณะ แก้รถติด ฝุ่นPM2.5
วันที่ 23 มีนาคม 2565 สถานีโทรทัศน์PPTV HD ช่อง 36 ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเวทีเสวนาเรื่อง “กรุงเทพ ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว” ขึ้นที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ให้ผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ ทั้ง 5 คน ร่วมสะท้อนปัญหา แสดงวิสัยทัศน์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
ประวัติ “สกลธี ภัททิยกุล” สลัดเก้าอี้รองผู้ว่าฯ เดินหน้าสู่สนามเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.
“สกลธี” ล่องเรือลุยหาเสียงผู้ว่าฯกทม.
โดยรูปแบบงานได้เชิญวิทยาการจากทางมหาวิทยาลัย 3 ท่าน ผศ.อาสาฬห์ สุวรรณฤทธิ์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ผศ.อาสาฬห์ สุวรรณฤทธิ์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง รศ.ดร.ภาวิณี สุวรรณฤทธิ์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ร่วมตั้งคำถามที่ผู้สมัครผู้ว่ากทม. ประเด็นดังนี้ ปัญหาผังการจราจรและขนส่งสาธารณะ ปัญหาการจราจรที่หนาแน่นในกทม. ที่ไม่สามารถควบคุมและจำกัดรถยนต์ที่เข้ามาในเมืองกรุงได้ ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากแม้จะมีการซ่อมสร้างบ่อยครั้ง ปัญหาการจัดการพื้นที่สีเขียวมาให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีการเชื่อมโยง และปัญหาคุณภาพชีวิตของคนเมือง
นาย สกลธี ภัททิยกุล ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. แสดงวิสัยทัศน์ ว่า กรุงเทพฯเป็นเมืองที่ดีได้ต้องบริหารจัดการที่ดี หรือนำระบบเทคโนโลยีมาปรับใหม่ ตนเชื่อว่า สามารถปรับได้ทุกๆอย่าง กรุงเทพมหานครมีงบประมาณ 8 หมื่นล้านบาทเป็นเงินเดือนประมาณ 40 % เหลือประมาณ 50 -60 % ไม่รวมหนี้ที่ผูกพัน
ปัญหากรุงเทพฯอันอับแรก คือ เรื่องการจราจรที่ผู้สมัครฯทุกคนต้องปวดหัว เพราะว่าต้องหาเสียงจากจุดนี้ และ ทำได้มากน้อยเพียงใด อำนาจของผู้ว่าฯกทม.ในการแก้ปัญหารถติดต้องอาศัยในหลายหน่วยงาน ไม่ได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหมือนกับของต่างประเทศที่นายกเทศมนตรีเมืองต่างๆที่เขาคุมตำรวจ คุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อทุกอย่างทั้งหมด ไม่เหมือนของเราที่หน้าที่ของกทม.คือ ขีดเส้นสี ตีเส้นการจราจร ป้ายสัญญาณไฟ หรือ ตัวนับถอยหลังไฟแดง แต่คนใช้คือตำรวจ ซึ่งการใช้พลังสายตาก็ได้เท่านั้น
อย่างตำรวจที่อยู่ตามป้อมนั้นเวลามองไปก็คงเห็นแค่แยกเดียวไม่สามารถมองเห็นสามแยกข้างหน้า หรือ สี่แยกข้างหลัง เราควรต้องนำระบบการจัดการมาใช้ อย่างเช่น AI สมองกลซึ่งสมัยตนเองเป็นรองผู้ว่าฯ ก็ได้ศึกษามาแล้วและมีความเป็นไปได้ ซึ่งจะสามารถเก็บข้อมูล 3 เดือน 6 เดือน ถนนเส้นนี้ เวลานี้เป็นอย่างไร โดยนำมาประมวลผล ซึ่งเชื่อย่อมดีกว่าการใช้สายตาของมนุษย์ที่เห็นได้แค่ข้างหน้า แต่ถ้ามีกรณีอุบัติเหตุก็ต้องใช้แรงตำรวจ ประกอบการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
ปัญหาขนส่งสาธารณะ ก็มีแนวทางแก้ปัญหาในหลายอย่าง ที่ทราบดีคือจำรนวนรถกับถนนไม่สัมพันธ์กันรถที่ลงทะเบียนในกรุงเทพมหานครประมาณ 11 ล้านคัน ถนนมีอยู่ 5-6 % ซึ่งอย่างไรรถก็ติดเพราะคนออกจากบ้านพร้อมกัน วิธีแก้คือตะทำอย่างไรให้คนใช้รถสาธารณะได้สะดวก ง่ายและเข้าถึงมากขึ้น สมัยนี้มีรถไฟฟ้าหลายสาย อีก 2-3 ปีข้างหน้าก็สร้างเสร็จอีกหลายสาย แต่ถามว่า คนทั่วไปที่เลือกได้เขาก็อาจไม่ใช้เพราะเวลาออกจากบ้านไปยังสถานี หรือ จากสถานีไปยังที่ทำงานก็ไม่สะดวกเพราะขาดการขนส่งสายรอง ดังนั้นจึงเข้ากับนโยบายที่ตนเองเคยทำมาแล้ว คือ ล้อ ราง เรือ
ล้อ คือ รถบัสไฟฟ้า (รถบัสEV ) และสิ่งที่กทม.กำลังจะทำ หรือ จะทำจากนนี้ คือทุกอย่างเป็นไฟฟ้าทั้งหมด รถดีเซลต่อไปก็คงไม่ใช้ จุดไหนที่ขสมก.วิ่งก็จะไม่ไปทำแข่งกับเขา จุดไหนที่ขสมก.ไม่ทำ เช่น ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ตรงนั้นมีทั้ง บึงกุม คันนายาว บางกะปิ บางเขน วังทองหลาง ซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่หลายแสนครอบครัว แต่รถเมล์โดยสารมีสายเดียวต่อวัน ตรงนี้ กทม.สามารถเข้าไปแก้ตรงนั้นได้ อาจจะทำเป็นรถไฟฟ้า EV รับคนจากป้ายรถเมล์ไปส่งที่สถานีรถไฟฟ้า ตรงไหนที่ขสมก.ไม่วิ่งเราก็เอา Feeder รถไฟฟ้า EV ของกทม.ไปช่วย เป็นการป้อนสายรองเข้าสู่ระบบหลัก
ส่วนเรือ เราเคยทำเส้นจากคลองผดุงฯ จากหัวลำโพงไปยังเทเวศร์ ระยะทางประมาณ 5 กม. เชื่อมรถไฟฟ้าหัวลำโพง กับ เรือ ด่วนเจ้าพระยา หรือว่าจะเป็นคลองแสนแสบ จากศรีบุญเรืองไปมีบุรี และ ในอนาคตก็ต้องทำต่อ ซึ่งของกทม.จะเป็นเรือไฟฟ้า ซึ่งทั้งหมดนี้เชื่อมกันไปหมด ลงจากเรือไปเจอป้ายรถเมล์ ไปเจอรถไฟฟ้า สามารถทำได้หมด ทำให้คนเดินทางเองเขาได้เชื่อมต่อง่ายขึ้น และทำให้คนกรุงเทพฯใช้รถสาธารณะมากขึ้น ใช้รถส่วนตัวน้อยลง รถก็ติดน้อยลง และจะช่วยลดปัญหาฝุ่น PM2.5 ด้วย
ส่วนเรื่องพื้นที่เขียว กรุงเทพมหานครมีสวนใหญ่ๆอยู่จำนวน 38 สวน แต่ต้องทำให้แต่ละสวนทันสมัย และก็ตอบโจทย์ของคนมาใช้มากขึ้น อย่างเช่นล็อกเกอร์เก็บของไม่มี ซึ่งตรงนี้ควรนำมาปรับปรุงเพื่อให้คนใช้จริงๆได้รับประโยชน์ หรืออย่างบึงหนองบอน มีบริการเรือถีบธรรมดา แต่ทำไมเราไม่ทำให้บึงหนองบอนเป็นสวนน้ำกีฬาที่ใหญ่สุดในกทม. และไม่จำเป็นต้องสร้างสวนสาธารณะ 300-400 ไร่ทุกสวน แต่เราสามารถทำเป็นสวนเล็กๆได้ อย่างที่ประเทศญี่ปุ่นเดินไป 400-500 เมตรก็จะเจอกสวนขนาด 400 ตารางวา เพื่อให้คนมานั่งพักผ่อนหย่อนใจ
เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. : เปิดวิสัยทัศน์ “วิโรจน์” พรรคก้าวไกล ชูแก้ระบบขนส่งสาธารณะ
เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. : เปิดวิสัยทัศน์ “สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์” กรุงเทพฯต้องเป็นเมืองสวัสดิการ
สำหรับเรื่องน้ำท่วมเป็นปัญหาใหญ่มากๆเพราะท่อระบายน้ำของกทม.ประมาณ 80-90 % เป็นท่อระบบเก่าเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 60 ซม.ต้องยอมรับความจริงเวลาฝนตกหนักๆน้ำก็ต้องรอระบาย เพราะท่อโดยรวมของกทม.เป็นท่อขนาดเล็ก และ ที่ผ่านมาก็มีการแก้ปัญหาตามจุดเช่น อุโมงค์ระบายน้ำช่วยอยู่ใต้คลองหลักๆ ซึ่งมีประมาณ 9 อุโมงค์ และ การทำท่อระบายน้ำใต้ท้องถนนไม่จำเป็นต้องขุดรื้อมีอยู่ 11 โครง หรือ ว่าแก้มลิงที่มี 31 แห่งทุกอย่างเป็นไปในแนวทางที่ดี และท่อในหมู่บ้านยังเล็กอยู่จะต้องใช้แรงคนไปเก็บทุกเม็ดเพื่อให้น้ำระบายไปสู่อุปกรณ์ที่เรามีอยู่ได้มากยิ่งขึ้น
ส่วนเรื่องอุบัติเหตุนั้น ได้ใช้องค์กรของเขตช่วย และ ทุกเขตจะมีการแจ้งจุดเสี่ยงในพื้นที่ แต่ละเขตเมื่อลงไปเจอก็จะแจ้งเข้ามา
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline