โตเกียว 2020

ที่มาของภาพ, Reuters

ไม่ต้องบอกก็คงเดากันได้ว่าการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ต้องใช้เงินมหาศาลแค่ไหน แค่ในช่วงสถานการณ์ปกติ เจ้าภาพก็ต้องทุ่มเงินมหาศาลอยู่แล้วจนในอดีตบางชาติต้องใช้เวลาเป็นทศวรรษกว่าจะใช้หนี้หมด หรือไม่ก็ต้องเจอกับวิกฤตเศรษฐกิจตามมา

มาดูกันว่าในการแข่งขันโตเกียวโอลิมปิกในครั้งนี้ ญี่ปุ่นต้องเสียเงินไปเท่าไร แล้วจะคุ้มค่าหรือไม่

โอลิมปิกในครั้งนี้จะใช้งบประมาณสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ทางการญี่ปุ่นระบุว่างบประมาณอยู่ที่กว่า 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่หนังสือพิมพ์เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลรายงานว่า คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินของญี่ปุ่นบอกว่ายอดรายจ่ายทั้งหมดสูงถึง 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่ามากกว่าตอนที่กรุงโตเกียวเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการแข่งขันที่คาดการณ์ไว้เพียง 7.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เท่านั้น

นี่จะทำให้ผู้จัดใช้เงินไปมากกว่าตอนกรุงลอนดอนเป็นเจ้าภาพเมื่อปี 2012 ถึง 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลบอกว่า ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในการจัดการส่วนที่เกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาอยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และโดยทั่วไปแล้ว ค่าใช้จ่ายส่วนอื่นที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องกีฬาก็จะเพิ่มกว่านั้นอีกหลายเท่า

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

ผลการสำรวจความคิดเห็นของชาวญี่ปุ่นเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า 55% ไม่เห็นด้วยกับการจัดโตเกียวโอลิมปิกครั้งนี้เพราะกลัวว่ามหกรรมกีฬานี้จะก่อให้เกิดการติดเชื้อกลุ่มใหญ่

จากตัวเลขโดยคณะกรรมการจัดงาน การเลื่อนงานจากปีที่แล้วมาปีนี้ทำให้ต้องเสียเงินเพิ่มอีกถึง 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อย่างไรก็ดี นิตยสารฟอร์บส์คำนวณงบประมาณในการจัดงานโอลิมปิกในครั้งนี้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ไว้ถึง 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนการจัดการแข่งขันในอดีตที่ใช้เงินสูงเป็นลำดับต่อ ๆ มาได้แก่ โอลิมปิกฤดูหนาวที่เมืองโซชิของรัสเซีย เมื่อปี 2014 ที่ใช้เงินไป 2.19 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ, โอลิมปิกฤดูร้อนที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อปี 2012 ที่ใช้เงินไป 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมาด้วยโอลิมปิกที่นครรีโอเดจาเนโรของบราซิลเมื่อปี 2016 ซึ่งใช้เงินไป 1.37 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

การเป็นเจ้าภาพจัดบาร์เซโลนา เกมส์ ในปี 1992 ก็ถูกมองว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่เปลี่ยนให้เมืองสเปนแห่งนี้เป็นเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมขึ้น

เจ้าภาพในอดีต

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

นครมอนทรีออลของแคนาดาที่ใช้เงินมากกว่างบที่วางไว้ถึง 720% เพื่อจัดโอลิมปิกเมื่อปี 1976

เมืองต่าง ๆ เสนอตัวเป็นเจ้าภาพเพราะหวังจะสร้างงานและก็กระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงเงินลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและสถานที่ต่าง ๆ อย่างบาร์เซโลนา เกมส์ ในปี 1992 ก็ถูกมองว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่เปลี่ยนให้เมืองสเปนแห่งนี้เป็นเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมขึ้น

แต่ก็ไม่ใช่กับทุกเมืองที่จะประสบความสำเร็จเช่นนั้น เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล ยกตัวอย่างนครมอนทรีออลของแคนาดาที่ใช้เงินมากกว่างบที่วางไว้ถึง 720% เพื่อจัดโอลิมปิกเมื่อปี 1976 และก็ต้องใช้เวลาถึง 30 ปีกว่าจะใช้หนี้จนหมด สื่อสำนักนี้ ยังบอกอีกว่า ภาระในการจัดงานที่กรุงเอเธนส์เมื่อปี 2004 ก็ยิ่งทำให้วิกฤตเศรษฐกิจของกรีซยิ่งแย่เข้าไปใหญ่

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

วิหารพาร์เธนอนของกรีซ

นอกจากภาระทางการเงินแล้ว บ่อยครั้งที่สนามแข่งขันและอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อจัดงานโดยเฉพาะถูกปล่อยให้รกร้างและทรุดโทรม และฝ่ายที่วิพากษ์วิจารณ์ก็บอกว่าการลงทุนเช่นนี้ไม่มีความยั่งยืนในเชิงสิ่งแวดล้อมเลย

ผลจากโควิด

รายได้ส่วนใหญ่ของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี มาจากสิทธิ์การถ่ายทอดการแข่งขันที่ 73% ของรายได้ทั้งหมด และรายได้จากสปอนเซอร์อยู่ที่ 18% การยกเลิกจัดการแข่งขันอาจส่งผลเสียทางการเงินอย่างรุนแรง และอนาคตของโอโอซี

นอกจากโรคระบาดจะทำให้ทุกอย่างเต็มไปด้วยอุปสรรค ผู้จัดยังต้องตัดสินใจยกเลิกไม่ให้มีคนดูในสนาม เท่ากับเสียรายได้จาการจำหน่ายบัตรที่คาดว่าจะได้ไปอีกราว 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ในช่วงนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาญี่ปุ่นกลับลดลงไปถึง 2 ใน 3 จากช่วงปกติ

เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล รายงานอีกว่า โตโยต้า บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นบอกว่า จะไม่ซื้อโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันโอลิมปิก แต่แม้จะเสียหายเท่าไร ก็ยังถึงว่าเล็กน้อยมากเมื่อดูเทียบกับขนาดเศรษฐกิจของญี่ปุ่น

ทาคาฮิเดะ เคียวชิ นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันวิจัยโนมูระ บอกว่า อาจยังได้ผลอยู่เพราะก็มีคนดูการแข่งขันในต่างประเทศ และตัดสินใจมาเที่ยวญี่ปุ่นหลังการระบาดใหญ่จบสิ้นลงไปแล้ว