GEN Z โชว์ไอเดียรักษ์โลก แข่ง ‘แฟชั่นรีไซเคิล’ เพิ่มมูลค่าขยะ

This image is not belong to us

GEN Z โชว์ไอเดียรักษ์โลก แข่ง ‘แฟชั่นรีไซเคิล’ เพิ่มมูลค่าขยะ

“เรื่อง sustainable เป็นเทรนด์ของคนรุ่นใหม่ในระดับหนึ่ง เราแคร์เรื่องโลกมากขึ้น เพราะด้วยสื่อที่บอกทุกวันว่า โลกมันร้อนขึ้นทุกวัน”

นโม สัจจะรัตนะโชติ เด็ก GEN Z วัย 18 ปี จาก King’s Ely School ประเทศอังกฤษ 1 ในผู้เข้ารอบ 11 ทีมสุดท้ายใน โครงการ RECO Young Designer Competition 2020 โดย อินโดรามา เวนเจอร์ส บอกเล่าแรงบันดาลใจแนวรีไซเคิลของตัวเอง

This image is not belong to us

“จริงๆ แล้วเริ่มมาจากหนังเรื่อง ‘2012’ เป็นหนังที่ดูแล้ว ทำให้เรารู้สึกว่าบางทีมนุษย์ก็ไม่ได้เห็นคุณค่าของธรรมชาติ จนธรรมชาติมันพัง รู้สึกว่าอยากตอบแทนธรรมชาติ เพราะธรรมชาติให้อะไรกับโลกมาเยอะ เลยคิดเป็นคอนเซ็ปต์ว่า จะทำอย่างไรไม่เพิ่มขยะในการทำงานชิ้นนี้”

This image is not belong to us

นวีนสุดา กระบวนรัตน์ รองประธานร่วมฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) 1 ในคณะกรรมการตัดสิน กล่าวว่า น่ายินดีมากที่นับวันโครงการ RECO Young Designer Competition จะมีเด็กรุ่นใหม่ๆ เข้ามาร่วมแข่งขันในการดีไซน์แฟชั่นที่นำเอาวัสดุรีไซเคิล อย่างเส้นใย และเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล โดยเฉพาะผ้าที่ทอจากเส้นด้ายรีไซเคิลจากขวด PET มาร่วมสร้างสรรค์ผลงานแบบ Sustainable Fashion

โดยในปีที่ 9 มีโจทย์ภายใต้คอนเซ็ปต์ REVIVE : Start from the Street ซึ่งยังคงแนวคิดหลักมาจาก 3R คือ Reduce – ลดการใช้ Reuse – ใช้ซ้ำ และ Recycle – นำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้ของที่คนอาจมองว่าเป็นขยะ กลายเป็นผลงานสร้างสรรค์ ซึ่งพลิกมุมมองให้คนตระหนักถึงคุณค่าของวัสดุมากยิ่งขึ้น ว่ายังเอามาต่อยอดสร้างสิ่งใหม่ที่เกิดประโยชน์ และมีมูลค่าเพิ่มได้ในชีวิตจริง

“การรีไซเคิลไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ในแต่ละปี อินโดรามาฯ ได้นำขวดพลาสติก PET ใช้แล้ว มาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อแปรรูปเป็นเม็ดพลาสติก และเส้นใยสังเคราะห์รีไซเคิล ในปริมาณมากถึง 3.3 แสนตันต่อปี เพื่อส่งต่อให้ลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ และเครื่องแต่งกายทั้งใน และต่างประเทศ เป็นสิ่งที่เราอยากสร้างความตระหนักในสังคมวงกว้างว่า ขวดพลาสติกที่ใช้แล้วไม่ได้เป็นขยะ ถ้าคุณมองเห็นคุณค่าของการรีไซเคิล หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ ที่เพิ่มมูลค่าได้โดยอาศัยนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ มันจะสร้างรายได้ และยังลดของเสียจากอุตสาหกรรม ช่วยลดปริมาณขยะ ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งด้วย นั่นเป็นแนวคิด และที่มาของ โครงการประกวด” นวีนสุดา กล่าว

This image is not belong to us

สำหรับผลงานโดดเด่นที่ผ่านเข้ารอบ 11 ทีมสุดท้าย อาทิ ผลงาน “Revive” ของ วรเมธ มอญถนอม ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ และ ธนกร ศรีทอง นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่เล่าคอนเซ็ปต์ Revive ว่า

“เหมือนการชุบชีวิต ทำให้นึกถึงเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จากฤดูหนาวที่เหมือนตายแล้ว กลับกลายเป็นฤดูใบไม้ผลิที่กำลังเบ่งบานขึ้นมา สิ่งที่กำลังฟื้นฟูขึ้นมา เปรียบระหว่างเรื่องราวของความตายกับเรื่องราวของการเกิดใหม่ จึงเอาวัสดุมา revive เหมือนกัน ผมเลือกใช้เทคนิคที่นำวัสดุเหลือใช้ เช่น วัสดุ PET ต่างๆ เอามาต่อยอดเป็นงานศิลปะ 1 ชิ้น โดยนำมาทำเป็นลายพิมพ์ขยะที่สื่อความหมายลึกซึ้ง โดยการใช้เทคนิคการนำไปรีดกาวให้เกิดความรอยย่นระยะให้มันเป็น texture ขึ้นมาอีก 1 ชั้น อาจมีความไม่สมบูรณ์แบบบ้างในตัวชุด เพื่อให้เกิดอรรถรส คำนึงถึงการใช้วัสดุที่ไม่ต้องทิ้ง ส่วนของการปัก จะเลือกใช้แผ่นฟิล์มเอ็กซเรย์ที่ไม่ใช้แล้วจากโรงพยาบาลสัตว์ สำหรับผ้าโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลจากขวด PET นั้น ตัวผ้าติดสีได้อย่างที่ใจต้องการ ชุดที่ทำปรับเปลี่ยนไปเอาไปใช้ในการทำงานได้จริง 100% การทำงานยังคำนึงถึงความสามารถในการต่อยอดในเชิงอุตสาหกรรมได้”

This image is not belong to us

ด้าน สาริน เสาวภาคย์ประยูร นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ 1 ในผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้าย เปิดประเด็นว่า “คอนเซ็ปต์ดีไซน์มาจากละครโน (หนึ่งในศิลปะการแสดงดั้งเดิมของญี่ปุ่น) ซึ่งมีการละเล่นทั้งแบบที่เงียบสงบ ให้จิตใจผ่อนคลาย กับแบบตลกขบขัน หนูเลยนำมาจากพวกกิโมโนที่เขาใส่เล่นละคร แล้วนำความใหม่เข้ามาผสมผสานด้วยสิ่งที่ทำให้ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดยเอาวัสดุที่ไม่ใช้งานแล้วจากรถมือสอง เช่น สายเข็มขัดนิรภัย ผ้าหุ้มเบาะรถยนต์ รวมถึง วัสดุที่ผลิตจาก PET มาใช้งาน คือลองเอามาตัด ดึง ทำให้เป็นเส้นๆ ส่วนที่ 2 คือผ้าโพลีเอสเตอร์ ที่รีไซเคิลจากขวด PET ซึ่งได้รับจากอินโดรามาฯ เมื่อนำมาพิมพ์ลายก็ติดได้ง่าย แน่นอนว่าผลงานออกแบบนี้อาจไม่เหมือนชุดธรรมดาที่มีขายอยู่แล้ว สิ่งสำคัญคือ มันทำขึ้นมาจากวัสดุรีไซเคิล ซึ่งคนส่วนมากไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเส้นใยที่มาจากการรีไซเคิล ไม่ได้แตกต่างกับเส้นใยโพลีเอสเตอร์ทั่วไปเลย อยากให้มองว่าเป็นเรื่องปกติมาก”

This image is not belong to us

ปิดท้ายด้วยผลงาน “Passionate” จากฝีมือของ สรวุฒิ โภคัง ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ ใช้ฟิล์มกล้องถ่ายรูปที่ใช้แล้ว ซึ่งเป็นของที่ไม่ได้ทำประโยชน์อะไร นำมาเล่นกับแสงเงา แล้วดัดแปลงเป็นเทคนิคภาพต่างๆ ออกแบบเป็นชุดที่สวมใส่ได้ เป็น ready to wear พอได้มาทำงานจริง ในฐานะคนผลิต มันไม่ยากเลยที่จะเอาวัสดุเหลือใช้ หรือวัสดุรีไซเคิลมาสร้างสรรค์เป็นเสื้อผ้าให้คนใส่ได้ทั่วไป

“เอาจริงนะ ตอนที่เห็นผ้าที่บอกว่ามาจากการรีไซเคิล ไม่รู้เลยว่าขวด PET มันนำมาทำเป็นผ้าผืนใหม่ได้ขนาดนี้ แต่พอเริ่มต้นทำงานจริง ได้รับความรู้ตอนเวิร์คช็อป และคำแนะนำจากอาจารย์ พบว่าสร้างสรรค์ชิ้นงานที่มีคุณค่าได้ ดังนั้น Sustainable Fashion ต้องเริ่มจากตัวเราที่เป็นดีไซเนอร์เองด้วย ว่าจะแปลงวัสดุให้มีมูลค่าในอุตสาหกรรมแฟชั่นที่ยั่งยืนได้อย่างไร”

หวังว่าการประกวดนี้ จะจุดประกายความฝัน เปิดประสบการณ์ ปลูกฝังแนวคิด Sustainable Fashion รวมทั้ง ช่วยสนับสนุนพัฒนาดีไซเนอร์รุ่นใหม่ๆ ให้มีแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานรักษ์โลก และนำผลงานมา REVIVE ให้แฟชั่นรีไซเคิล ได้รับการยอมรับอย่างแท้จริง