8 ข้อเท็จจริง เข้าใจง่าย ดีลควบรวมทรู-ดีแทค ชี้ชัด กสทช.ให้ทำงานตามหน้าที่อยู่แล้ว
1.คำกล่าวอ้างว่า “กฎหมายตามประกาศ กสทช.ปี 61 มีการแก้ไขเพื่อลดอำนาจ กสทช. เพื่อการควบรวมทรู ดีแทค จริงหรือไม่?”
ตอบ ไม่เป็นความจริง ตามประกาศ เรื่องมาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2561 เป็นประกาศที่ออกมาก่อนการควบรวมทรู ดีแทค ถึง 4 ปี และได้มีบริษัทอื่น ๆ ในธุรกิจโทรคมฯดำเนินควบรวมสำเร็จโดยใช้กฎหมายฉบับนี้มาแล้ว เช่น กรณีการสื่อสารแห่งประเทศไทย ควบรวมกับองค์การโทรศัพท์ เกิดเป็นบริษัท NT หากพิจารณาย้อนหลังกลับไป ต้องบอกว่า ไม่ใช่การควบรวมทรูกับดีแทคจะเกิดขึ้นเป็นรายแรกภายใต้การกำกับดูแลของกสทช.เพราะภายใต้ประกาศแก้ไขการรวมกิจการปี 2561 กสทช.ยังคงมีอำนาจในการกำหนดเงื่อนไข แต่ไม่สามารถไปกีดกันการปรับตัวของผู้ประกอบการ หรือปฏิเสธการควบรวม เพราะเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ที่ผู้ประกอบการปฏิบัติตามกฎหมาย และได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียบ ซึ่งการควบรวมภายใต้กฎหมายฉบับนี้นั้น ได้นั้นเกิดการควบรวมแล้วหลายราย ยกตัวอย่างเช่น
•ALT Telecom กับ อินเตอร์เนชั่นแนล เกตเวย์ ในปี 2562
•ALT Telecom กับ สมาร์ท อินฟราเนท ในปี 2563
•TOT กับ CAT ในปี 2564
•ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ตกับทริปเปิลที บรอดแบนด์ ในปี 2564
การกล่าวว่า มีการแก้กฎหมายเพื่อการควบรวมทรู ดีแทคนั้น จึงเป็นการบิดเบือน เพราะกฎหมายดังกล่าวประกาศใช้ปี 61 และกระบวนการในการออกกฎหมายได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง ต้องบังคับใช้อย่างเท่าเทียม
2.คำกล่าวอ้างว่า “หากควบรวมแล้ว จะเกิดการผูกขาด” จริงหรือไม่
ตอบ ไม่เป็นความจริง เพราะปัจจุบันถูกผูกขาดโดยผู้นำตลาดอยู่แล้ว นักการตลาดได้วิเคราะห์ว่า อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยในปัจจุบันเป็นที่น่าสนใจ เนื่องจากปรากฏว่าผู้นำตลาดโทรคมนาคมไทย เริ่มไม่มั่นใจ เมื่อคู่แข่งเตรียมควบรวม หายใจรดต้นคอ ห่วงการแข่งขันหลังการควบรวม มุ่งหน้าสู่ทะเลสีเลือด (Red Ocean) ล่าสุด เอไอเอส ดอดยื่นหนังสือทักท้วง กสทช.พิจารณาดีลควบรวมกิจการ”ทรู-ดีแทค” กลับลำ จากที่นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ CEO ของ AIS เคยบอกว่า “ไม่สนเรื่องการควบรวม ทรู ดีแทค เพราะตลาดเปลี่ยนไปแล้ว ยิ่งเค้ารักกัน เอไอเอส ยิ่งแกร่งขึ้น” เพราะเป็นการแข่งขันที่สูสี เร่งการปรับตัวให้เร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นจากการเป็นผู้นำเดี่ยวของ AIS ที่ไม่จำเป็นต้องเร่งการเปลี่ยนแปลง
ปี 2564 บริษัทเอไอเอส มีมูลค่าบริษัท 645.3พันล้านบาท ในขณะที่ทรู มีมูลค่าบริษัท161.5 พันล้านบาท และ ดีแทค มีมูลค่าบริษัท 110.1 พันล้านบาท หากเปรียบเทียบกับนักมวย คงเปรียบได้กับ “ไมค์ ไทสัน” ชกกับ “สมรักษ์ คำสิงห์” หรือ “สามารถ พยัคฆ์อรุณ” นักวิเคราะห์เปรียบเทียบให้เห็นภาพ พร้อมกล่าวเสริมว่า นอกจากนี้ในด้านกำไรสุทธิ เอไอเอส กำไรต่อเนื่องทุกปี โดยย้อนหลัง 5 ปี กำไรกว่า 150,000 ล้านบาท ในขณะที่คู่แข่งยังปริ่มน้ำจากภาระต้นทุนที่สูง โดยปีล่าสุด 2564 รายได้รวม อยู่ที่ 181,333 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในส่วนกำไรสุทธิ 26,922 ล้านบาทขณะที่ทรู และดีแทค ผลกำไรรวมกันสองบริษัทยังไม่ถึง 2, 000 ล้านบาท หากเป็นเจ้ามือต้องเรียกว่า “กินเรียบอยู่รายเดียว” แต่กลับไม่มีใครพูดถึง เข้าสำนวน “มีช้างอยู่ในห้อง” นั่งมองกันตาปริบๆ แต่ไม่มีใครพูด ดังนั้น หากเกิดการควบรวมทรู และ ดีแทค จะมีการแข่งขันที่มีความทัดเทียมมากยิ่งขึ้น
3.คำกล่าวอ้างว่า ยังไม่มีความเร่งด่วน ที่ผู้ประกอบการต้องรีบควบรวม จริงหรือไม่
ตอบ ไม่เป็นความจริง ผู้เล่นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทุกรายปรับโครงสร้างเพื่อรองรับการลงทุนใหม่ เช่น CAT+ TOT = NT แม้แต่ผู้นำอย่าง AIS ก็มีการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น มีการลงทุนใหม่โดยกัลฟ์ GULF เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และ ลงทุนเพิ่มในอนาคต ดังนั้นหลังการควบรวม TRUEและ DTAC จะทำให้ผู้ประกอบการทุกรายมีความพร้อมในการแข่งขัน แล รัฐต้องมีการปฏิบัติต่อผู้ประกอบการอย่างเท่าเทียม มิใช่กีดกันรายใดรายหนึ่ง เปรียบเสมือนกับผู้เล่นรายอื่น ๆ ได้ออกตัวจากจุดสตาร์ทเข้าสู่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมใหม่ที่เปลี่ยนไปแล้ว การเหนี่ยวรั้งการปรับตัวโดยใช้กลไกทางกฎหมาย จะทำให้เกิดการเหลือมล้ำทางการแข่งขัน โดยใช้กฎระเบียบเป็นเครื่องมือในการกีดกันการแข่งขัน ปัจจุบันธุรกิจโทรคมนาคมทั่วโลก ล้วนมีการควบรวม ปรับตัว ให้พร้อมต่อการแข่งขัน หากกังวลว่า จะเกิดผลกระทบ กสทช. ก็มีอำนาจอยู่แล้ว ในการกำหนดเงื่อนไข ดังนั้น การกดดันให้กสทช. ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายตามกรอบเวลาจะทำให้ไม่มีกฎหมายรับรอง และเสี่ยงต้องการฟ้องร้อง ทำให้อุตสาหกรรมอ่อนแอลง ดังนั้น การที่ทุกคนทำหน้าที่และปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ จะทำให้สังคมไม่วุ่นวาย และ มีความน่าเชื่อถือจากนักลงทุนทั่วโลก
4.หลังการควบรวมแล้ว การแข่งขันจะน้อยลง
ตอบ ไม่เป็นความจริง หากดูการแข่งขันที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม จำนวนผู้เล่นน้อยราย ไม่ได้หมายความว่า จะแข่งขันน้อยลง ต้องแยกประเด็นวิเคราะห์ว่า จำนวนผู้เล่นน้อยรายเกิดจาก ค่าใบอนุญาตคลื่นนั้นราคาสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก หากอยากให้มีจำนวนผู้ประกอบการมากขึ้น ต้องลดภาระผู้ประกอบการ ดึงดูดผู้ประกอบการรายใหม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับผู้แข่งขันปัจจุบันจะแข่งขันน้อยลง ปัจจุบัน ด้วยต้นทุนภาระที่สูงจากค่าคลื่น ค่าอุปกรณ์เน็ตเวิร์ค ภาระต้นทุนดอกเบี้ย ทำให้ผู้ประกอบการน้อยราย ต้องเร่งสร้างส่วนแบ่งตลาดให้ถึงจุดคุ้มทุน (Economy of Scale) ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีเพียงเอไอเอส รายเดียว ที่สามารถถึงจุดคุ้มทุน ในขณะที่ผู้ประกอบการรายอื่น ยังไม่สามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดเชิงมูลค่า ได้ถึงจุดคุ้มทุน ทำให้ไม่สามารถทำกำไร และ มีกำลังทุนเพียงพอในการต่อยอดเทคโนโลยีใหม่ การควบรวม จะทำให้เกิดการแข่งขัน แต่การกีดกันแบบเลือกปฏิบัติ ถ่วงเวลาการควบรวมเฉพาะกรณีทรู ดีแทค ทำให้ผู้นำตลาดผูกขาดรายเดียว หลักการคิดคือ หากควบรวมไม่สำเร็จ ก็จะมีผู้นำตลาดรายเดียวที่ผูกขาดตลาด แต่หากให้ดำเนินการควบรวมแบบเท่าเทียมกับกรณีก่อนหน้าที่ใช้กฎหมายฉบับเดียวกัน การแข่งขันจะสูงขึ้นกว่า ปล่อยให้มีผู้นำตลาดรายเดียวอย่างแน่นอน นอกจากนี้ ลูกค้าทรู ดีแทค จะได้รับบริการที่ดีขึ้นทันที จากเน็ตเวิร์คที่ครอบคลุมทั้งประเทศกว่า 50,000 ต้น และ ราคาก็ถูกกำกับโดย กสทช.อยู่แล้ว ดังนั้น ลูกค้าได้ประโยชน์ในขณะที่ผู้ประกอบการก็อยู่ได้ ปรับตัวได้ ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมต้องการให้ผู้เล่นทุกรายปรับตัวและแข่งขันได้
5.การบอกว่า หลังการควบรวมจะมีผู้เล่นเพียง 2 รายนั้น
ตอบ ไม่เป็นความจริง นักวิจารณ์ที่ออกมาพูดกรณีนี้ รู้ได้อย่างไร ว่าจะไม่มีผู้เข้าประมูลคลื่นเพิ่มเติมในอนาคต การที่นักวิชาการไม่นับ MVNO โดยปรามาสว่าเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก จึงไม่นับ ทั้งนี้ขอถามว่าทำไมไม่ส่งเสริม MVNO หรือออกมาตรการในการส่งเสริม MVNO ให้ดำเนินธุรกิจได้ แต่กลับไม่นับ MVNO เหมือนระบบการศึกษา ที่นับเฉพาะเด็กห้องคิง แต่มองนักเรียนที่เหลือว่า ไม่มีความสำคัญ การใช้ HHI จะเลือกคำนวณเฉพาะส่วนไม่ได้ ต้องนำผู้เล่นทุกรายมาคำนวณ และ ที่สำคัญ ผู้ให้บริการทดแทน ที่มาจากโลกดิจิทัล และทำให้รายได้ของผู้ประกอบการโทรคมนาคมลดลงนั้น จะไม่นับเป็นผู้เล่นใหม่ ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมได้อย่างไร การวิจารณ์แบบเลือกปฏิบัติ เป็นการเอื้อให้ผู้นำตลาดรายเดียว ผูกขาดตลาดต่อไป นอกจากนี้การที่นักวิจารณ์ออกมาบอกว่า NT เป็นรายเล็ก ซึ่งเป็นการปรามาส NT ที่มีคลื่นแทบจะมากที่สุดในอุตสาหกรรม มีคนเก่งหลายหมื่นคนทำงานอยู่ และ พร้อมนำเสนอบริการใหม่ ๆ มากมาย หากนักวิจารณ์ไม่นับเป็นผู้ประกอบการโทรคมนาคม ก็เหมือนการจงใจบิดเบือนให้สังคมเข้าใจผิด และ ควรออกมาให้เหตุผลว่า ทำไม NT ถึงไม่มีศักยภาพในการเป็นผู้แข่งขัน ทั้งที่ NT เป็นผู้เล่นที่แข็งแกร่งรายหนึ่งในอุตสาหกรรม
6.การบอกว่า ควบรวมแล้ว ค่าบริการจะเพิ่มขึ้น
ตอบ ไม่เป็นความจริง การมองข้ามผลงานกสทช.นั้น เป็นความไม่เป็นธรรมต่อ กสทช. ซึ่งมีผลงานในอดีตด้านการกำกับดูแลราคาการให้บริการเป็นที่ประจักษ์ ปัจจุบัน มีการกำหนดเพดานราคา กำกับดูแล จนประเทศไทย มีค่าบริการต่ำเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ดังนั้นการนำตัวเลขคณิตศาสตร์มาบอกว่า ค่าบริการแพงขึ้น ไม่ต่างจากการนับดวงดาว แล้วบอกว่า อนาคตจะเป็นอย่างไร วันนี้ ค่าบริการ การแข่งขันในโทรคมนาคม ผู้ประกอบการปัจจุบันอ่อนแอลงไปมาก ควรเอาสภาพความจริง มาวิเคราะห์ และ บทบาทของหน่วยงานกำกับดูแลมีอยู่แล้ว การตัดสินผู้ประกอบการว่า อนาคตจะดำเนินการอย่างไรนั้น เป็นการวิจารณ์ที่ไม่เป็นธรรม และ ในฐานะของสิทธิความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน การตัดสินผู้อื่นด้วยการคาดการณ์นั้น เป็นความไม่ยุติธรรมอย่างยิ่ง
7.การบอกว่า ลูกค้าจะไม่มีทางเลือก หากเกิดการควบรวม นั้น
ตอบ ไม่เป็นความจริง โลกหลังโควิด อำนาจอยู่ในมือผู้บริโภค ใครบอกลูกค้าไม่มีทางเลือก คือ ตกยุค โลกเปลี่ยน บีบผู้ประกอบการปรับตัวตัว เปลี่ยนโครงสร้าง ควบรวม เข้าซื้อ ปิดกิจการ เปิดบริษัทใหม่ ประเทศไทย คนยุคดิจิทัลไม่ได้ซื้อของเหมือนแต่ก่อน ในอดีต ตลาดเป็นของผู้ขาย ปัจจุบันตลาดเป็นของผู้ซื้อ หรือผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคไม่เพียงแต่เป็นผู้ซื้อ แต่ยังเป็นทั้งผู้สร้าง Content และสร้าง Demand ให้ตลาดเอง จะสังเกตได้ว่าสมัยนี้ ตลาดต่าง ๆ Fragment มาก เพราะฉะนั้นความ Dynamic หรือความยากแตกต่างจากในอดีต ดังนั้น เราต้องตามให้ทัน เปิดรับสิ่งใหม่ และไปให้เร็วกว่า เช่น ธุรกิจโทรคมนาคม ที่เป็นทะเลสาบสีเลือด การแข่งขันด้านราคา ทำให้คนไทยใช้มือถือที่มีค่าบริการแทบจะถูกที่สุดในโลก โดยมีต้นทุนสูงเกือบที่สุดในโลก จากค่าคลื่น ใบอนุญาต การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการโฆษณาแบบหนักหน่วง ทำให้ผู้ประกอบการล้วนหนีตายไปธุรกิจน่านน้ำดิจิทัล เช่น ไอโอที โซลูชั่น สมาร์ทซิตี้ เป็นต้น เพราะลูกค้าคนไทย เคยชินกับราคาที่ได้รับจนสามารถยกเพดานราคาได้อีกแล้ว เพราะคนไทยมองว่า การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั้นเป็นโครงสร้างพื้นฐาน เหมือนไฟฟ้า ประปา และยังมี กสทช. คอยควบคุมราคาอีกด้วย ดังนั้น ด้วยบริการดิจิทัลทดแทนบริการโทรคมนาคมเดิม และ พฤติกรรมการเปลี่ยนซิม ทิ้งซิม ตามโปรโมชั่น ในขณะที่ค่ายมือถือต้องจ่ายค่ารักษาซิม เบอร์ละ 12 เดือน ซึ่งหากนับจำนวนส่วนแบ่งตลาดจากซิม จะเจอซิมที่ไม่ได้อยู่ในเครื่อง แต่ผู้ให้บริการต้องจ่ายค่ารักษาซิมแทนลูกค้า ดังนั้น ทะเลเลือด จึงเสียเปรียบลูกค้าในทุกประตู เพราะลูกค้ายุคดิจิทัล มีทางเลือกมากมายหากลุกค้าเลือกไม่ได้ ทำไมผู้ใช้งานมือถือส่วนใหญ่ โทรผ่านไลน์ (LINE) ซึ่งให้บริการมาครบรอบ 10 ปี พิชิตผู้ใช้ไทยครบ 50 ล้านราย เชื่อมโยงทุกมิติการสื่อสาร และไลฟ์สไตล์ มีลูกค้า 50 ราย ลูกค้าก็เลือกบริการใหม่ ๆ ตลอดเวลา การบอกว่าลูกค้าไม่มีทางเลือกในยุคดิจิทัล ถือว่า บิดเบือน ผู้เล่นดิจิทัลระดับโลก มีส่วนแบ่งตลาด 90% แต่ไม่มีใครมองว่า ผูกขาด การสื่อสารของคนไทยไม่สะดุดแม้ต้องรักษาระยะห่าง เห็นได้จาก ไลน์ Group VDO Call ที่ทะยานสูงถึง 99% (ระหว่างม.ค.- ต.ค. เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า) ในขณะเดียวกัน ไลน์ Meeting ก็เติบโตสูงขึ้นถึง 191% (นับตั้งแต่ช่วงเปิดตัวเมื่อ ส.ค. 2563) สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยนั้นนอกจากจะใช้ ไลน์ สื่อสารในชีวิตประจำวันแล้ว ยังใช้ในการทำธุรกิจ และการทำงานช่วง Work From Home อีกด้วย แล้วจะบอกว่า ลูกค้าไม่มีทางเลือกได้อย่างไร Line มีส่วนแบ่งตลาดมีคนไทยเป็นลูกค้าถึง 50 ล้านราย ลองถามตัวเองดูว่า มือถือคุณมีแอพไลน์หรือไม่ ถ้าบอกว่า ลูกค้าไม่มีทางเลือกในยุคนี้ ก็ต้องเรียกว่า ตกยุค
8.ลูกค้าจะได้รับผลกระทบเชิงลบหลังการควบรวม จริงหรือไม่
ตอบ ไม่เป็นความจริง หากสองบริษัทรวมกันได้ ก็จะทำให้การขยายการลงทุนในประเทศไทยเป็นรูปธรรมและเชื่อว่าลูกค้าได้ประโยชน์ อาทิ
•การเข้าถึงสัญญาณเครือข่ายดีขึ้น เสาสัญญาณเพิ่มมากขึ้น สัญญาเร็ว แรง และครอบคลุมพื้นที่ใช้งานมากขึ้น
•คลื่นที่ครบถ้วนในทุกย่านความถี่ ทำให้ลูกค้าสามารถใช้มือถือได้ทุกรุ่น รองรับทุกย่านความถี่ เริ่มตั้งแต่คลื่น 700 MHz มีทั้ง 2 ค่าย คลื่น 850 MHz ดีแทคสามารถใช้คลื่นของทรูได้
•เพิ่มความสะดวกมากขึ้น โดยมีศูนย์ให้บริการหลังการขายเพิ่มมากขึ้น สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น
•ลูกค้าทั้งสองค่ายจะมีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีและสิทธิพิเศษที่เพิ่มมากขึ้น
•เมื่อทรูควบรวมกับดีแทค จะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันใกล้เคียงกันกับเอไอเอส เมื่อผู้แข่งขันสองรายมีขีดความสามารถใกล้เคียงกัน จะทำให้เกิดการแข่งขันกันมากขึ้น ทำให้ลูกค้าได้โปรโมชั่นที่ถูกลง และมีข้อเสนอทางการตลาดที่ลูกค้าได้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น
•ลูกค้าไร้กังวลว่าหลังการควบรวมแล้วราคาจะสูงขึ้น แพคเกจที่ใช้อยู่สามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง เพราะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกสทช.
•การบริการต้นทุนของผู้ให้บริการหลังการควบรวมจะลดลง ทำให้ลูกค้าได้รับประโยขน์จากความคุ้มค่าของบริการที่ได้รับ ทำให้มีเงินทุนไปพัฒนาบริการใหม่ ๆ รองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่กำลังจะเข้ามา เช่น ดาวเทียม, Metaverse, Quantum รวมถึงรถยนต์ EV และ Smart City
•ผู้บริโภคสามารถใช้บริการของผู้ประกอบการดิจิทัลอย่างไม่สะดุด เช่น Facebook, Line, Netflix และอื่น ๆ ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย โดยใช้เครือข่ายโทรคมนาคมเดิม ซึ่งต้องใช้ดาต้าเพิ่มขึ้นมหาศาล ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตใช้งานดาต้าเพิ่มขึ้นหลายเท่าทุกปี เพื่อให้บริการจากผู้เล่นดิจิทัลมีความต่อเนื่อง การควบรวมจะทำให้เกิดความแข็งแกร่งในการพัฒนาคุณภาพเครือข่าย รองรับการเติบโตของผู้ใช้ข้อมูลที่เพิ่มขึ้น
•หลังการควบรวม ผู้เล่นทุกรายในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย พร้อมปรับตัวเข้าสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี และเพิ่มขีดความสามารถที่จะแข่งกับผู้ประกอบการระดับโลก และสนับสนุนการลงทุนของ Tech Startup รุ่นใหม่ บริษัทจะมีความสามารถในการลงทุนเพิ่ม รองรับเทคโนโลยีใหม่ ทำให้ลูกค้าได้รับบริการดิจิทัลมากขึ้น เช่น บริการแพทย์ทางไกล การประชุมทางไกล การเข้าถึงคอนเทนต์ เพลง หนัง ระดับโลก ในราคาลดลง
This website uses cookies.