“…กล่าวโดยสรุปแล้ว การอุดช่องโหว่เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลักษณะนี้ต้องซ้ำซาก ซ้ำรอยมิรู้จบ ต้องดำเนินการควบคู่กับไปทั้ง สร้างกระแสสังคม สร้างความตระหนักให้ผู้ปกครองหรือผุ้ถือครองรถต้องจริงจังและรับผิดชอบกับเหตุลักษณะนี้ ที่สำคัญ “ระบบกำกับดูแลและโยงรับผิดชอบ” ของหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ จะต้องยกเครื่องเพื่อให้การจัดการปัญหาวัยรุ่นขับขี่จนเป็นเหตุมีผู้ประสบภัยสามารถจัดการปัญหาได้อย่างเป็นระบบ และทุกความสูญเสียต้องได้รับการเยียวยาและมีผู้รับผิดชอบ…”
เป็นอีกครั้ง ของอุบัติเหตุจากเด็กวัยรุ่นอายุไม่มีใบขับขี่ อายุเพียง 16 ปี ทำให้มีเหยื่อซึ่งเป็นบัณฑิตจบใหม่ ที่กำลังเป็นเสาหลักครอบครัวต้องเสียชีวิต ซึ่งความสูญเสียลักษณะนี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยครอบครัวก็ต้องอาศัยการเยียวยาที่ช่วยชดใช้จากจำเลย แม้ตำรวจจะระบุตั้งข้อหาหนัก (1) ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้เสียชีวิต (2) ฝ่าฝืนสัญญาณไฟ และ (3) ไม่มีใบขับขี่ แต่ในความเป็นจริงถ้าสารภาพ 2 ข้อหาหลังก็โทษปรับหลักพันบาท ส่วนข้อหาแรก เกือบทุกรายก็รอลงอาญา
จะว่าไปแล้ว เหตุลักษณะนี้ตั้งแต่กรณีเคสแพรวา (17ปีขับรถยนต์ เฉี่ยวชนรถตู้เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 9 ราย) คนในสังคมก็ส่งเสียงทั้งต่อ “ครอบครัว-ชุมชน” และหน่วยงานรัฐให้มีมาตรที่จริงจังเพื่อทำให้ปัญหาลดน้อยเบาบางลง
แต่ถ้าพิจารณาจากข้อมูลการใช้สิทธิประกันภัย ระบบ e-claim บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด สะท้อนผลกระทบที่น่าห่วงใย เฉพราะปีนี้ เพียง 9 เดือนที่ผ่านมา (1 มค.- 30 กย.2565) ก็มีการใช้สิทธิผู้ประสบเหตุเสียชีวิตจากผู้ขับขี่อายุ จักรยานยนต์ร่วมด้วย จะมีผู้เสียชีวิตสูงและบาดเจ็บถึง 92,315 ราย พิการอีก 103 ราย
หรือในกรณีที่เป็นข่าวในหน้าสื่อ ก็พบได้เนื่อง ๆ อาทิ
– 12 สิงหาคม 2565 : นักเรียนทำพานวันแม่ ขับรถกลับบ้านเสียหลัก ชนเสาไฟฟ้าเสียชีวิต 1 ราย เจ็บ 7 ราย โดยพบว่าทั้ง 8 คนอายุเพียง 16-17 ปีเป็นนักเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว : https://www.dailynews.co.th/news/1352937/
– 8 มกราคม 2565 : อุทาหรณ์! เด็กอายุ 17 ปี ควบรถยนต์ ซิ่งชนคนตาย เตือนพ่อ-แม่อย่างประมาท https://www.brighttv.co.th/social-news/accident-hit-the-dead-example
– 16 กรกฎาคม 2565 : เด็กอายุ 16 ปี ขับรถพ่อมาส่งเพื่อน เกิดหลับในชนเกาะกลาง หงายท้องกลางถนน https://www.one31.net/news/detail/56428
จะเห็นได้ว่า ความพยายามสื่อสารรณรงค์ไปที่ผู้ปกครอง แม้จะเป็นเรื่องสำคัญแต่ไม่เพียงพอที่จะป้องกันและลดปัญหาลักษณะนี้ได้ ต้องเพิ่มมาตรการและการจัดการของหน่วยงานต่าง ๆ ในสังคมให้ลุกขึ้นมาจริงจังกับปัญหานี้มากขึ้น ควบคู่ไปกับการสร้างความตระหนักให้ผู้ปกครองหรือคนมีรถยนต์ ต้องระมัดระวังไม่ปล่อยให้เด็กเยาวชนที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ หรือไม่ผ่านการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ไม่มีใบอนุญาติขับขี่ ก่อนจะมาขับรถยนต์บนถนน
เป็นที่ทราบกันดีว่า เด็กวัยรุ่น 15-17 ปีแม้ทางสรีระจะดูเหมือนผู้ใหญ่ แต่ด้วยความที่เป็นวัยรุ่น มีธรรมชาติในด้านทางอารมณ์ที่มีความคึกคนอง ชอบความท้าทาย (risk taking) มากกว่าการคิดไตร่ตรองยับยั้งชั่งใจ อีกทั้งยังเป็นวัยที่มีการเข้าสังคมและรับอิทธิพลกลุ่มเพื่อนได้สูง เพราะต้องการยอมรับในกลุ่มเพื่อน (social emotion) ซึ่งก็จะทำให้มีโอกาสพบเห็นมีพฤติกรรมเสี่ยงในกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการแข่งกีฬา ดูคอนเสริต ยิ่งถ้ามีแอลกอฮอล์ร่วมด้วยจะเพิ่มโอกาสพฤติกรรมเสี่ยง โดยเฉพาะการขณะขับขี่ยานพาหนะ
หลายประเทศจะมีหลายมาตรการเพื่อรองรับกลุ่มวัยรุ่นที่จะมาขับขี่ (young driver) เช่น ยานพาหนะที่เสี่ยงสูงก็ต้องรออายุถึงเกณฑ์ (มีวุฒิภาวะ) อย่างจักรยานยนต์ บิ๊กไบค์ ซีซี สูง ๆ (เกิน 400cc) ก็ต้องหลังอายุ 20 ปี และเพิ่มเงื่อนไขต้องผ่านการสอบใบขับขี่เฉพาะ หรือหลาย ๆ ประเทศจะใช้ระบบการออกใบขับขี่แบบเป็นขั้นเป็นตอน (Graduate Driver Licensing: GDL) คือผ่านขั้นตอนแรก ก็เป็น learner (L) ก่อน (พร้อมกำหนดเงื่อนไขพื้นฐาน สำหรับกลุ่ม L เช่น ไม่ให้ขับขี่กลางคืนคนเดียว ห้ามขับข้ามรัฐ ต้องมีผู้ดูแล (under supervision) หรือ ระดับแอลกอฮอล์กลุ่มนี้ต้องเป็นศูนย์ )
บางประเทศถึงขั้นกำหนดให้การขับขี่โดยไม่มีทักษะ (ไม่มีใบขับขี่) เป็นเรื่องใหญ่ เป็นข้อหาที่รุนแรงมิใช่คดีลหุโทษแบบบ้านเรา เช่น ประเทศญี่ปุ่น ได้แก้กฎหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้ กรณีความผิดต่อไปนี้ไม่ถือเป็นเพียงโทษประมาท แต่ถือเป็น “ขับขี่อันตราย” และมีโทษอาญา ได้แก่ (1) ขับรถโดยไม่มีใบขับขี่ ไม่มีทักษะ (2) ฝ่าฝืนสัญญาณจราจร เช่น ฝ่าไฟแดง ย้อนศร ฯลฯ (3) ขับเร็วและจี้คันหน้า (4) เมาแล้วขับ ซึ่งทั้ง 4 ข้อหานี้ถ้าทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต ยิ่งมีบทลงโทษที่รุนแรง จำคุกถึง 15 ปี
บ้านเรามีข้อกำหนดไว้กว้าง ๆ ถ้าทำใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ต้องอายุไม่น้อยกว่า 18 ปี ถ้าเป็นใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ อนุโลมให้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป โดยให้เป็นแบบชั่วคราว (15-18 ปี ขี่ได้ไม่เกิน 110 cc ) หรือถ้าขี่เกิน 400 cc ต้องผ่านการอบรมจากผู้ประกอบการมาก่อน ในทางปฎิบัติก็จะพบว่าแทบไม่ถูกนำมาปฎิบัติแบบจริงจัง อย่างกรณีรถยนต์การตรวจสอบอายุผู้ขับขี่แบบจริงจังน้อยมาก หรือถ้าตรวจพบก็เพียงโทษปรับ 1,000 บาท ไม่มีการเรียกให้ผู้ปกครองหรือเจ้าของรถต้องมาร่วมรับผิดชอบอย่างเป็นระบบ ทำให้เด็กวัยรุ่นและหลายครอบครัวไม่ตระหนักว่าเป็นเรื่องที่มีผลกระทบสูง
นอกจากนี้ จะพบว่าผู้ขับขี่อายุน้อย (young driver) ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ในทางปฎิบัติสำหรับผู้ปกครอง โดยเฉพาะพ่อแม่จำนวนหนึ่งก็ไม่ได้อยู่ดูแลเด็ก (เป็นเครือญาติดูแล) ทำให้การกำกับเรื่องการนำรถหรือจักรยานยนต์ ออกไปขับขี่ทำได้จำกัด ยิ่งถ้าเป็นรถจักรยานยนต์ บางครั้งเด็กก็จะขอให้พ่อแม่ซื้อให้ประจำตัวไว้เลย
ดังนั้น จำเป็นที่ต้องมีการทบทวนระบบจัดการในเรื่องนี้ ตั้งแต่ระดับครอบครัวและหน่วยงานรับผิดชอบให้สามารถดำเนินการได้จริง เพื่อป้องกันและลดผลกระทบลง ได้แก่
1) ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล ควรหยิบยกปัญหานี้เพื่อทบทวนมาตรการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ
– ให้มีการรณรงค์สื่อสารประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างการรับรู้จนเกิดเป็นบรรทัดฐาน (social norm) ของสังคมว่า “ไม่ยอมรับกรณีที่ผู้ปกครองปล่อยปละละเลยให้ลูกที่อายุไม่ถึงเกณฑ์” ออกไปขับขี่ และถ้าเกิดเหตุชนคนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ต้องมีความรับผิดชอบร่วมด้วยเสมอ
– นอกจากการกำกับจากครอบครัว ก็ควรส่งเสริมบทบาทท้องถิ่น-ชุมชน หน่วยงานองค์กรให้มีส่วนร่วมเฝ้าระวัง สอดส่องดูแลและป้องกัน ห้ามปรามมิให้มีเด็กเยาวชนที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ออกมาขับขี่ ทั้งนี้ อาจต้องอาศัยมาตรการทางสังคม (ประชาคม-ข้อกำหนดชุมชน-หมู่บ้าน) พบเห็นก็มีการว่ากล่าวตักเตือนด้วยความห่วงใย
– ในกรณีมีเด็กเยาวชน อายุ
2) กรมการขนส่งทางบก
– พิจารณาให้เจ้าของรถยนต์ที่ปล่อยปละละเลย ให้เด็กวัยรุ่นที่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ ต้องร่วมรับผิดชอบในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การเพิกถอนทะเบียน ถ้าปล่อยให้รถยนต์ที่ครอบครองไปทำให้มีผู้เสียชีวิต
– กรณีรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่เด็กวัยรุ่น จักรยานยนต์ ต้องมีการตรวจสอบการมีใบอนุญาตขับขี่ ของผู้ใช้รถจักรยานยนต์เสมอ
3) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
– เพิ่มการจริงจังกับการตรวจสอบอายุผู้ขับขี่ทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และกรณีที่มีเด็กวัยรุ่น ขับขี่แล้วเกิดอุบัติเหตุมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชิวิต ต้องมีการตรวจสอบสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยอื่น ๆ เช่น วัดระดับแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดทุกราย เป็นต้น พร้อมทั้งมีการเชื่อมโยงไปสู่ความรับผิดชอบผู้ปกครองด้วยเสมอ
– แจ้งสิทธิ์เพื่อให้โจทก์ผู้เสียหาย รับรู้สิทธิ์ในการยื่นฟ้องแพ่งร่วมไปด้วย เพราะถ้าปล่อยให้คดีอาญาดำเนินการไปแล้ว จะมีขั้นตอนและระยะเวลาอีกนานจึงจะเริ่มกระบวนการฟ้องแพ่งได้
กล่าวโดยสรุปแล้ว การอุดช่องโหว่เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลักษณะนี้ต้องซ้ำซาก ซ้ำรอยมิรู้จบ ต้องดำเนินการควบคู่กับไปทั้ง สร้างกระแสสังคม สร้างความตระหนักให้ผู้ปกครองหรือผุ้ถือครองรถต้องจริงจังและรับผิดชอบกับเหตุลักษณะนี้ ที่สำคัญ “ระบบกำกับดูแลและโยงรับผิดชอบ” ของหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ จะต้องยกเครื่องเพื่อให้การจัดการปัญหาวัยรุ่นขับขี่จนเป็นเหตุมีผู้ประสบภัยสามารถจัดการปัญหาได้อย่างเป็นระบบ และทุกความสูญเสียต้องได้รับการเยียวยาและมีผู้รับผิดชอบ
หมายเหตุ : ภาพประกอบจาก https://www.innnews.co.th