ด้วยเม็ดเงินของการเทคโอเวอร์ 300 ล้านปอนด์ ไม่เพียงทำให้เชื่อกันว่า สาลิกาดง จะลืมตาอ้าปากกลายมาเป็นเสือร้ายตัวใหม่แห่ง พรีเมียร์ลีก ในอนาคตกันใกล้เท่านั้น แต่พวกเขายังทำให้สองอภิมหาเศรษฐีของโลกลูกหนังอย่าง แมนฯ ซิตี้ และ ปารีส แซงต์ แชร์กแมง กลืนไม่เข้าคายไม่ออกไปด้วยเช่นกัน
นั่นเป็นเพราะว่าราชวงศ์จาก ซาอุดิ อาระเบีย ถูกตีแผ่ว่ามีความมั่งคั่งมากกว่าเจ้าของสโมสร เรือใบสีฟ้า และ เปแอสเช หลายเท่าถึงขนาดสองเจ้าสัวนำทรัพย์สินมากองรวมกันก็ยังด้อยกว่าเจ้าของใหม่ทีม เดอะ แม็กพายส์ ชนิดเทียบกันไม่ติดเลยทีเดียว
จึงถือได้ว่าข่าวชิ้นดังกล่าวนับเป็นการเขย่าขวัญทีมระดับเงินถุงเงินถังทั้งหลายที่ผูกขาดความสำเร็จได้อย่างชัดเจน แต่นอกจากเศรษฐีใหม่อย่าง นิวคาสเซิ่ล และเจ้าบุญทุ่มอีกสองสโมสรแล้ว เราไปดูกันดีกว่าว่ามีเจ้าของทีมไหนอีกที่อู้ฟู่ที่สุดในโลกจนติดอยู่ในอันดับท๊อปเทน
ซาอุดิ อาระเบีย พับบลิค อินเวสต์เมนต์ ฟันด์
1.ซาอุดิ อาระเบีย พับบลิค อินเวสต์เมนต์ ฟันด์ – นิวคาสเซิ่ล ยูไนเต็ด (ทรัพย์สิน 320 พันล้านปอนด์)
กลุ่มทุนที่อยู่ภายใต้การสนับสนุนของราชวงศ์ ซาอุดิ อาระเบีย เพียรพยายามที่จะเทคโอเวอร์ สาลิกาดง มานานแล้ว และในที่สุดก็สมปรารถนาจึงเชื่อได้เลยว่าโลกลูกหนังกำลังจะมีเจ้าบุญทุ่มรายใหม่ผงาดขึ้นมาร่วมสร้างสีสันในตลาดนักเตะ
2. กาตาร์ อินเวสต์เมนต์ ออธอริตี้ – เปแอสเช (220 พันล้านปอนด์)
นาสเซอร์ อัล เคไลฟี่ อดีตนักเทนนิสนับเป็นสหายคนสนิทของ ชีค ทามิน เชื้อพระวงศ์แห่ง กาตาร์ ซึ่งทรงเป็นประธานกลุ่มทุนดังกล่าว และซื้อกิจการของ เปแอสเช มาครอบครองในปี 2011 โดยที่ อัล เคไลฟี่ นั่งเก้าอี้ควบทั้งประธาน และซีอีโอ
3. ชีค มานซูร์ – แมนฯ ซิตี้ (21 พันล้านปอนด์)
ชีค มานซูร์ ซื้อ เรือใบสีฟ้า ไปเป็นกรรมสิทธิ์ในปี 2008 และผลักดันให้ทีมจากเมืองแมนเชสเตอร์กระโดดขึ้นเป็นหนึ่งในสโมสรฟุตบอลที่โด่งดังที่สุดทีมหนึ่งของโลก พร้อมกันนี้พระองค์ยังดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีของ สหรัฐอาหรับเอมิรเตส์ อีกด้วย ขณะที่ คาลดูน อัล มูบารัค ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของ อาดู อาบี รับผิดชอบการบริหารสโมสรในทุกๆด้าน
นาสเซอร์ อัล เคไลฟี่
4. ดีทริช มาเตชิตซ์ – แอร์เบ ไลป์ซิก และ แอร์เบ ซัลซ์บวร์ก (15.7 พันล้านปอนด์)
ผู้ก่อตั้งเครื่องดื่ม เร้ดบูลล์ สร้างชื่อด้วยการเทเงินอัดฉีดวงการกีฬา และมีทีมรถแข่งสูตรหนึ่งตั้งแต่ปี 2005 จากนั้นในปีเดียวกันก็ซื้อทีมฟุตบอลที่เรียกขานกันในขณะนั้นว่า ออสเตรีย ซัลซ์บวร์ก ก่อนก่อตั้งทีม แอร์เบ ไลป์ซิก ในปี 2009 โดยทั้งสองทีมของเขาได้ลงเล่นฟุตบอล แชมเปี้ยนส์ลีก อย่างสม่ำเสมอ
5. อันเดรีย อันเญลลี่ – ยูเวนตุส (14 พันล้านปอนด์)
ทายาทของอดีตประธาน อุมแบร์โต้ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้รับผิดชอบบทบาทนี้ในปี 2010 กลายเป็นสมาชิกของตระกูลคนที่สี่ที่นั่งเก้าอี้ตัวสำคัญหลังจากตระกูลของเขามั่งคั่งมาจากการก่อตั้งบริษัทผลิตรถยนต์ เฟี๊ยต เมื่อปี 1899 อีกทั้งยังเป็นเจ้าของรถสปอร์ต แฟร์รารี่ ซึ่งอยู่ในกลุ่ม เอ็กซอร์ เช่นกันอีกด้วย
โรมัน อบราโมวิช
6. โรมัน อบราโมวิช – เชลซี (10.5 พันล้านปอนด์)
เข้ามาเทคโอเวอร์ สิงห์บลูส์ ในปี 2003 พร้อมทั้งพาทีมลูกหนังของกรุงลอนดอนคว้าแชมป์ พรีเมียร์ลีก ได้สำเร็จในเวลาเพียงสองปี มีธุรกิจปิโตรเคมี และค้าน้ำมัน อีกทั้งถือครองหุ้นของ ซิบเนฟท์ หนึ่งในบริษัทน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซียในปี 1995
7. ฟิลิป อันชูตซ์ – แอลเอ แกแลคซี่ (8.1 พันล้าน)
หันมาจับธุรกิจกีฬาหลังเคยทำธุรกิจด้านขุดเจาะน้ำมันกับครอบครัว มีส่วนร่วมก่อตั้ง เมเจอร์ลีกซ็อคเกอร์ และเป็นเจ้าของร่วมของหลายสโมสรทั้ง แอลเอ แกแลคซี่ , ชิคาโก้ ไฟร์ , โคโลราโด้ ราปิดส์ , ฮูสตัน ไดนาโม , ซานโฮเซ่ เอิร์ธเควกส์ และ ดีซี ยูไนเต็ด
ชีค มานซูร์
8. สแตน โครนเก้ – อาร์เซน่อล (6.8 พันล้านปอนด์)
เริ่มต้นจากการซื้อหุ้นของ เดอะ กันเนอร์ส ในปี 2008 ก่อนเพิ่มสัดส่วนในปี 2011 นอกจากนี้เศรษฐีชาวแยงกี้ยังเป็นเจ้าของทีมกีฬาอีกมากมายทั้ง แอลเอ แรมส์ , เดนเวอร์ นักเก็ตส์ และ โคโลราโด้ ราปิดส์ ตลอดจนจับงานด้านอสังหาริมทรัพย์ ศูนย์การค้า และ อพาร์ทเมนต์
9.จาง จินตง – อินเตอร์ มิลาน (6.2 พันล้านบาท)
แม้ระยะที่ผ่านมา งูใหญ่ จะประสบกับปัญหาทางด้านการเงิน แต่ จาง ในวัย 58 ปียังถือเป็นหนึ่งในเจ้าของสโมสรฟุตบอลผู้มั่งคั่งจากการก่อตั้งกลุ่มทุน ซูหนิง เข้าซื้อหุ้นก้อนโตของทีมดังแห่ง เซเรียอา เมื่อปี 2016
10.กั๋ว กวางชาง – วูล์ฟส์ (5.2 พันล้านปอนด์)
ซื้อทีม หมาป่า ไปบริหารในปี 2016 และพาทีมปีนขึ้นสู่ พรีเมียร์ลีก ได้สำเร็จ เป็นประธานกลุ่มทุน โฟซุนกรุ๊ป ซึ่งมีธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของโลก
จาง จินตง
Getty Images
[ ไม่อนุญาตให้คัดลอกรูปภาพหรือนำไปเผยแพร่รูปภาพต่อไม่ว่าวิธีใดๆ ถ้าฝ่าฝืนมีความผิดตามกฎหมายที่ระบุไว้สูงสุด ]
As part of their spo…
This website uses cookies.