ผมมีความเชื่อว่าประเทศไทยต้องมีพิมพ์เขียวใหม่ในการพัฒนาประเทศ เพราะแผ่นดินเกิดนี้เดินผิดและหลงทางมาหลายสิบปี
ความที่ผมเป็นคนชอบคิด ขอถือวิสาสะให้ความเห็นว่านี่คือพิมพ์เขียวที่เราสามารถดึงจิตวิญญาณ “ความเป็นไทย” มาแข่งในเวทีโลก
1.ไม่ควรพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม เพราะคุณลักษณะเฉพาะตัวและความเก่งของคนไทยไม่เอื้ออำนวยให้เราเป็น industrialized country ประเทศที่มีความเลิศทางด้านอุตสาหกรรมอย่างเช่นเยอรมนี ญี่ปุ่น ประชาชนเป็นคนเอาจริง เอาจัง วินัยสูง ยินดีทำงานหนัก ซึ่งคุณลักษณะนี้ไม่ใช่จุดเด่นของคนไทย
เอาตัวอย่างง่าย ๆ ให้คนไทยมา “ตรงเวลา” แค่นี้ก็บ่งบอกได้ว่าพวกเรามีคุณลักษณะอย่างไร ทุกวันนี้ประเทศไทยทำอุตสาหกรรมที่เป็นเพียง downstream player ทำอุตสาหกรรมที่ปลายน้ำ ทำให้เรารับมลภาวะเต็ม ๆ แทน upstream player และได้เพียงเศษเงินที่พวกต้นน้ำแบ่งให้เรา
ตัวอย่างเช่นเราชอบเรียกตัวเองว่าเป็น Detroit of Asia ที่จริงเราเป็นเพียงผู้รับจ้างประกอบรถยนต์ให้กับเจ้าของแบรนด์ เราไม่มีแบรนด์รถยนต์ของตัวเอง การประกอบรถยนต์เราได้เพียงค่าประกอบซึ่งมี profit margin ต่ำกว่าตัวเจ้าของแบรนด์อย่างมหาศาล ประเด็นคือเราไม่ควรพัฒนาประเทศให้เป็น heavy industry player ส่งเสริมให้มีเพียงอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน พอเลี้ยงตัวเองเท่านั้นก็พอ
2.แล้วอะไรคือโอกาสที่จะนำแผ่นดินนี้สู่เวทีโลก ความพิเศษของคนไทยอยู่ที่ความประณีตของงานฝีมือ ความมีน้ำใจ เป็นคนมีอัธยาศัย มีความละเอียดอ่อน การพัฒนาประเทศต้องใช้วิธีคิด inside-out
นี่คือที่มาที่ผมเชื่อว่า hospitality business และ medical service คือดาวจรัสแสงที่ shining the light ความเป็นไทยได้ดีที่สุด แต่จะทำอย่างนั้นได้เราต้องสร้าง business model บนความเป็นไทย ไม่ใช่ใช้ model ต่างชาติมาขับเคลื่อนธุรกิจ ธุรกิจโรงแรมเบอร์หนึ่งและทีมบริหารต้องเป็นคนไทย สร้าง customer experience บนความเป็นไทยแท้ อย่าไปใช้ model ฝรั่งมาบริหารโรงแรมของคนไทย
ผมมีตัวอย่างหนึ่งที่อธิบายเรื่องนี้ผมเคยไปเที่ยวที่โรงแรมรายาวดี กระบี่ เป็นโรงแรมที่ทีมบริหารเป็นคนไทยล้วน และออกแบบ model ในการบริการบนแก่นความเป็นไทย ส่งผ่าน Thainess experiece ที่โรงแรมฝรั่งไม่มีทางสู้ ด้วยการดึงศักยภาพที่เป็น DNA คนไทยมาบริหาร ทำให้โรงแรมรายาวดีได้รับ rating จากนิตยสาร Conde Nast ว่าเป็น Top 40 World’s Best Beach Resort
ธุรกิจบริการทางการแพทย์คือ เพชรอีกเม็ดหนึ่งที่รอการเจียระไนให้มีประกายแวววับ ผมเคยคุยกับหมอหลายท่าน ทุกคนให้ความเห็นตรงกันว่าความสามารถในการผ่าตัดของแพทย์ไทยน่าจะติดอันดับโลก เพราะงานผ่าตัดคืองานฝีมือที่อาศัยความประณีตเป็นสิ่งที่คนไทยเป็นหนึ่งไม่รองใคร ประกอบกับความมีน้ำใจที่ส่งผ่าน “บริการ” ในการดูแลคนไข้
ทั้งสองปัจจัยคือพลังขับเคลื่อนให้ประเทศเราแข็งแรงมากพอที่จะเป็น medical hub of the world จะทำอย่างนั้นได้เราต้อง redesign ให้เกิด holistic model ที่ทำให้ medical service ของเรากลายเป็นดาวเหนือของประเทศ
3.ความอุดมสมบูรณ์ทางด้านการเกษตรคือโอกาสทำให้เราเป็น “ตู้เย็นเก็บอาหารของโลก“ จะทำอย่างนั้นได้ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการเกษตรให้แข็งแรงทั้ง value chain มีขีดขั้นความสามารถในการแข่งขันทำให้เราเป็น food provider ที่ใหญ่ที่สุด
อุตสาหกรรมเกษตรจะสร้างรายได้แบบเป็นเนื้อเป็นหนัง เราต้องไม่ขายพืชผลเป็น commodity product ต้องสร้างมูลค่าเพิ่ม มีแบรนด์ของตัวเอง เพราะ consumers buy brand value, not just only the product itself.
4.“สร้างคน” ด้วยการรื้อระบบการศึกษาอย่างถอนรากถอนโคน นำผู้บริหารการศึกษาหัวก้าวหน้าพร้อมคนนอกที่มีไฟอยากช่วยประเทศเข้ามาเขียน “แผนแม่บท” ระบบการศึกษาสำหรับทศวรรษ 21 อะไรคือเป้าหมายของระบบการศึกษาใหม่
หัวใจคือสร้าง “ปัญญา” สอนให้คนเรียนมี “วิธีคิด” ของตัวเอง เพราะปัญญาทำให้ “คนคิดเป็น” ไม่ใช่ตะบี้ตะบันเรียนหนังสือเพื่อ “จำ” องค์ความรู้ ความล้มเหลวของระบบการศึกษาเก่าคือ “ยัดเยียด” แต่ความรู้จนล้นสมอง แต่คนเรียนขาดวิธีคิด นำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงไม่ได้ ระบบการศึกษาใหม่ต้องกระตุ้นให้คนเรียนรู้จัก “เรียนรู้ด้วยตัวเอง” เพราะบนโลกใหม่ใบนี้ สิ่งที่เรียนภายในเวลาไม่นานจะกลายเป็นความรู้ที่ล้าสมัย
ดังนั้น “self learning process” คือเครื่องมือที่ทำให้ผู้คนสามารถเดินทางตามกาลเวลา ผมเป็นตัวอย่างเล็ก ๆ ที่เรียนหนังสือแบบพอไปวัดไปวา มาถึงวันนี้ได้เพราะพึ่งพา “การเรียนรู้ด้วยตัวเอง ตลอดชีวิต” เป็นคนขี้สงสัย ช่างสังเกต ทำให้ผมตระหนักถึงความสำคัญว่าการเรียนรู้ที่สุดยอดคือ “เรียนรู้จากโลกแห่งความเป็นจริง” ไม่ใช่ “รู้แต่ในห้องเรียน”
ปัญหาใหญ่ที่ประเทศนี้เปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาไม่ได้ ถ้าให้ผมเดามาจากผู้บริหารการศึกษาที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตัวเอง ทำตัวเป็น “ไม้ขวางถนน” ทำให้ประเทศเราวนอยู่ในอ่างกะละมัง ทราบไหมครับงบประมาณของกระทรวงศึกษาของประเทศมีมูลค่าสูงมาก
ประเด็นคือเราไม่ได้ขาดเงิน แต่ขาดการบริหารจัดการที่ทันกับยุค digital ทำให้คนไทย “ติดหล่ม” ประเทศเดินถอยหลัง ในขณะที่เพื่อนบ้านพุ่งเป็นจรวด ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ Singapore เมื่อห้าสิบกว่าปีที่แล้ว เขากับเรามีจุดตั้งต้นเดียวกัน แต่ Singapore ใช้การศึกษาสร้างคน เพื่อสร้างประเทศ ตอนนี้เพื่อนบ้านเราคนนี้ไปถึงดาวอังคาร แต่เรายังเดินย่ำอยู่กับที่
พูดตรงไปตรงมาปัญหาเรื่องการศึกษาของบ้านเราเกิดจากการบริหารจัดการโดยพวก “old guard” ผมมีความเชื่อว่าการขับเคลื่อนประเทศเกิดจากการสร้างคนให้มีคุณภาพทัดเทียมนานาชาติ การศึกษาจึงเป็น critical instrument ที่นำพาให้คนไทยแข็งแรง เป็น asset ที่เพิ่มขีดขั้นความสามารถของประเทศในการแข่งขันระดับโลก
5.ปฏิวัติระบบการบริหารจัดการทรัพยากรของชาติ เพื่อให้ประชาชนทั้งประเทศสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรของชาติอย่างเท่าเทียมกัน คำว่าทรัพยากรตั้งแต่เรื่องง่ายคือ “เงิน ข้อมูล การศึกษา และเรื่องพลังงาน” ทรัพยากรคืออุปกรณ์สำคัญที่ทำให้ผู้คนไม่ว่าจะรวยหรือจนสามารถยืนบนขาของตัวเองได้ ไม่ใช่ “รอแบมือขอความช่วยเหลือจากรัฐ” จะทำเรื่องนี้ได้คือเอา “คนรู้จริง” ไปบริหารจัดการ เพราะทุกวันนี้คนที่บริหารเรื่องนี้เป็นกลุ่มคนที่ไม่เข้าใจ “คุณค่าของชีวิตมนุษย์”
6.ส่งเสริมให้ประเทศมีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ การค้าขายต้องเลิกเป็นระบบปิด ยกเลิกการผูกขาดที่ทำให้ผู้ประกอบการมีอำนาจเหนือตลาด สร้างระบบเศรษฐกิจให้เป็น open economy ทุกวันนี้เศรษฐกิจของบ้านเราอยู่ในมือของคนเพียงไม่กี่คน
ผมเชื่อว่า “การแข่งขันนำมาถึงซึ่งคำว่าพัฒนาการของคุณภาพ” เป็นการกระจาย wealth ให้ “ฝนตกทั่วฟ้า”
7.รื้อระบบราชการแบบกลับหัวกลับหาง เพราะระบบเก่าเต็มไปด้วยไขมัน ใหญ่ เทอะทะ อุ้ยอ้าย ขับเคลื่อนประเทศได้ช้ามาก การปฏิรูปคือ streamline ระบบข้าราชการให้เล็ก กระทัดรัด คล่องตัว เพิ่ม productivity ปรับเงินเดือนข้าราชการให้คนเหล่านี้สามารถอยู่บนฐานเงินเดือนแห่งความเป็นจริง
รื้อระบบ rewarding system เพื่อเกื้อหนุนให้ “คนดี ได้ดี” ผมเคยทำงานที่รัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งเมื่อชาติที่แล้ว จำได้ดีว่ากระบวนการประเมินผลงานเพื่อขึ้นเงินเดือนไม่ได้ใช้ระบบ fair process แต่เป็นระบบหมุนเวียนการขึ้นเงินเดือนสองขั้น เพื่อให้ระบบการปกครองไม่มีน้ำกระเพื่อม ถ้าเป็นอย่างนี้คนดีจะถามตัวเองว่าทำดีไปเพื่ออะไร เพราะ”ทำดี” กับ “ทำเช้าชามเย็นชาม” ผลลัพธ์มันแตกต่างกันน้อยมาก
นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้ระบบข้าราชการเอื่อยเฉื่อย ฉุดรั้งไม่ให้ประเทศเดินไปข้างหน้า สุดท้ายคือการสร้างวัฒนธรรมใหม่ทำให้ระบบข้าราชการรองรับการขับเคลื่อนประเทศ ไม่ใช่รับใช้ “นักการเมืองที่มีคุณภาพอย่างที่เห็นกันอยู่”
8.พิมพ์เขียวใหม่ต้องพัฒนาผู้ประกอบการให้ทำธุรกิจที่ต้นน้ำ ไม่ใช่กินน้ำใต้ศอกต่างชาติ อย่างที่เป็นอยู่ เพื่อให้เข้าใจถึงเรื่องนี้ ขอยกตัวอย่างว่ามือถือ iPhone บริษัท Apple ได้กำไร 30% ในขณะที่บริษัท Foxconn ซึ่งเป็นผู้รับจ้างประกอบตัวมือถือให้ Apple ได้กำไรเพียง 2%
9.มีกระบวนการครบวงจรส่งเสริมให้มี SME หน้าใหม่สร้างนวัตกรรมทางธุรกิจ เพราะ SME คือกระดูกสันหลังของชาติที่เป็น eco system ให้กับบริษัทระดับชาติ เมื่อ SME แข็งแรง ประเทศไทยจะเข้มแข็ง ช่วยให้บริษัทระดับชาติกลายเป็น global player
สร้างบ้านยังมีพิมพ์เขียว ถึงเวลาแล้วที่เราต้องมี new blueprint ของประเทศครับ.
ดูบทความทั้งหมดของ แกะดำทำธุรกิจ
As part of their spo…
This website uses cookies.