Motor Sport Sponsored

เปิด 4 บจ.เตรียมเฮ หลังคลังเล็งออกมาตรการช่วยแบต – สถานีชาร์จ EV

Motor Sport Sponsored
Motor Sport Sponsored

   หุ้นกลุ่มแบตฯ – สถานีชาร์จ EV เตรียมเฮ  หลังภาครัฐฯ เตรียมออกมาตรการช่วยต่อจากเรื่องภาษีรถ ฟาก EA แนะ หาซอฟต์โลนให้กลุ่มสถานีชาร์จ และเงินสนับสนุนธุรกิจแบตฯ เพื่อแข่งกับตปท. ฟาก ASPS แนะ 4 หุ้นทำแบตฯ เตรียมรับอานิสงส์เต็มๆ
 
   หลังจากกระทรวงการคลัง ออกมาส่งสัญญาณว่ากำลังพิจาณามาตรการช่วยผู้ประกอบการธุรกิจ ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในภาคผู้ผลิตแบตเตอรี่ และสถานีชาร์จไฟ จากที่ก่อนหน้านี้ได้มีมาตรการลดภาษีให้กับกลุ่มยานยนต์ไปแล้ว โดยกระแสดังกล่าวได้รับการตอบรับที่ดี จากทางมุมของผู้ประกอบการ และนักวิเคราะห์  เนื่องจากเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่า ภาครัฐฯได้เดินหน้าอย่างจริงจังเพื่อผลักดันโครงการพลังงานสะอาดของไทย  

* คลังเตรียมอัดแพ็ค หนุนแบตฯ- สถานีชาร์จ ต่อยอดจากภาษีรถ
 
   นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการพิจารณามาตรการเพิ่มเติม โดยเฉพาะการสนับสนุนให้เกิดการผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ส่งเสริมให้เกิดการติดตั้งสถานีอัดประจุ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและส่งออกยานยนต์ไฟฟ้าและช่วย ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

   “ที่ผ่านมาเรามีมาตรการสนับสนุนในด้านราคา มาตรการภาษีแล้ว เกี่ยวกับตัวรถ ในระยะต่อไป ก็จะเป็นการส่งเสริมสถานีอัดประจุไฟฟ้า ซึ่งค่ายรถหลายค่ายก็มีแนวคิดที่จะมีในที่ศูนย์บริการต่างๆ ก็ถือเป็นเรื่องดี ที่จะทำให้มีสถานีมากขึ้นทั่วถึงขึ้น”นายอาคม กล่าว

   โดยยอมรับว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ถือเป็นอุตสาหกรรมหลักที่สำคัญของไทย ภาครัฐจึงได้ออกมาตรการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าประเภท รถยนต์ และรถจักรยานต์ ซึ่งเป็นมาตรการระยะสั้น 4 ปี ตั้งแต่ปี 65-68 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการผลิต การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ทั้งในเรื่องการการลดภาษีสรรพสาทิต การลดอัตราอากรศุลกากร และการให้เงินอุดหนุน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้บริโภคเพื่อเลือกซื้อยานยนต์ไฟฟ้าในราคาจับต้องได้

   ทั้งนี้กรมสรรพสามิต กับบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า โดยบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด มีแผนจะจำหน่ายรถไฟฟ้า รุ่น bZ4X โดยจะได้รับสิทธิลดอากรศุลกากร ลดภาษีสรรพสามิตและรับเงินอุดหนุน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้บริโภคเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในราคาที่จับต้องได้

* แย้มปีนี้ มีผู้ประกอบการรถ EV ร่วมโครงการภาษีอีก 5 ราย

     นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้เกิารการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ โดยการใช้มาตรการทางภาษี เช่น การลดภาษีสรรสามิต และลดอากรศุลกากร และมาตรการที่ไม่ใช่ทางภาษี คือการให้เงินอุดหนุน

   นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนให้ราคาของรถยนต์และรถจักรยานต์ไฟฟ้ามีราคาลดลงใกล้เคียงกับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ประเภทเครื่องยนต์สันดาป สร้างแรงจูงใจให้มีการผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อส่งเสนิมให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน เป็นต้น

   ทั้งนี้ คาดว่าภายในปี 65 จะมีบริษัทผู้ประกอบอุตสาหกรรมและผู้นำเข้ารถยนต์และรถจักรยนต์ BEV เข้าร่วมลงนามในข้อตกลงเข้าร่วมมาตรการฯ กับกรมสรรพสามิตอีกไม่น้อยกว่า 5 ราย

   อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลมีมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ คาดว่าจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ก่อให้เกิดอุปสงค์ในการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

   ด้านสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก ถือเป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และนำไปพิจารณาด้านนโยบายที่เหมาะสมต่อไป

* EA ฝาก 2 เรื่องด่วนให้ภาครัฐ ช่วยกลุ่มแบตฯ – สถานีชาร์จ

   นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) เปิดเผย “สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย” ว่าสำหรับกรณีที่รัฐบาลประกาศเล็งออกมาตรการหนุนธุรกิจผลิตแบตเตอรี่และสถานีชาร์จ EV นั้น มองว่าประเด็นดังกล่าวหากเกิดขึ้นจริงก็จะทำให้บริษัทแข่งขันได้ดีขึ้นและจะเป็นผลบวกต่อ EA ค่อนข้างมาก เพราะบริษัททำธุรกิจในด้านนี้โดยตรง

   โดยคาดว่าภาครัฐคงอยากผลักดันให้เกิดโรงงานผลิตแบตเตอรี่และสถานีชาร์จ EV ในประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเบื้องต้นเชื่อว่าจะมีในส่วนของมาตรการด้านภาษี อาทิ การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ก็คงจะมีการสนับสนุนให้แก่ผู้ประกอบการ

   ทั้งนี้สิ่งที่ต้องมองต่อไปคือ การกำหนดราคาค่าไฟฟ้าจากภาครัฐ หลังจากช่วงที่ผ่านมาภาครัฐได้ส่งเสริมผ่านการคิดอัตราค่าไฟในต่ำที่ 2.639 บาท ภายในระยะเวลา 2 ปี แก่ผู้ประกอบการสถานีชาร์จ EV ที่ผ่านการตรวจสอบและอนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐ แต่ที่ผ่านมาอาจติดขัดปัญหาการการตรวจสอบจากหน่วยงานภาครัฐที่ล่าช้า ทำให้ผู้ประกอบการที่ติดตั้งสถานีชาร์จ EV บางจุดยังไม่สามารถเปิดให้ดำเนินการได้เต็มที่ ซึ่งอยากให้ปรับปรุงการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้รวดเร็วขึ้น ประกอบกับมาตรการให้ค่าไฟราคาต่ำจะหมดอายุภายในปีนี้ ซึ่งต้องติดตามว่าภาครัฐจะต่ออายุออกไปอีกหรือไม่และจะคิดราคาค่าไฟแก่ผู้ประกอบการที่อัตราเท่าไหร่

   ขณะที่มาตรการที่ต้องการจากภาครัฐแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ

   1. ผู้ให้บริการสถานีชาร์จ EV มองว่าปัจจุบันผู้ประกอบการสถานีชาร์จ EV ตอนนี้ได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากจำนวนผู้ใช้บริการรถ EV ยังน้อยเมื่อเทียบกับเงินลงทุนสถานีแต่ละแห่ง จึงอยากให้ภาครัฐออกมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) ให้แก่ผู้ประกอบการสถานีชาร์จ EV หรือนำแบงก์รัฐมาช่วยซัพพอร์ตสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำหรือเงินกู้ระยะยาว เพราะหากไม่ช่วยตรงนี้ก็คงไม่เกิดโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ไม่มีแหล่งเงินทุนมากๆเหมือนบริษัทขนาดใหญ่ๆ รวมถึงอยากให้ภาครัฐกำหนดโซนนิ่งหรือจัดสรรพื้นที่ในการติดตั้งสถานีชาร์จ EV ให้แก่ผู้ประกอบการว่าแต่ละพื้นที่ควรไม่เกินเท่าไหร่ เพราะปัจจุบันยังมีข้อจำกัดเรื่องปริมาณไฟฟ้าของแต่ละพื้นที่ด้วย

   2.ธุรกิจผลิตแบตเตอรี่ อยากเสนอให้ภาครัฐมีเงินอุดหนุนบางส่วนให้กับผู้ประกอบการในประเทศเพื่อให้เกิดการแข่งขันได้ เนื่องจากต้องยอมรับว่าทุกวันนี้ผู้ประกอบการแต่ละรายยังไม่สามารถแข่งขันกับบริษัทต่างชาติได้ ซึ่งมองว่าช่วงเริ่มต้นตั้งหลักภาครัฐควรลงมาช่วยประคับประคองให้ธุรกิจเดินไปได้ก่อน ซึ่งเชื่อว่าในระยะยาวแต่ละบริษัทก็จะเดินหน้าต่อไปได้เอง รวมถึงอาจมีมาตรการส่งเสริมสิทธิประโยชน์สำหรับแบตเตอรี่ฯที่มีชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น
 

* โบรกฯ ยก เห็นสัญญาณดีต่อหุ้นกลุ่ม EV หลังภาครัฐจริงจังมากขึ้น

   บริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส จำกัด (ASPS) เปิดเผยผ่านบทวิเคราะห์ว่า  เห็นสัญญาณในการที่ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ เซ็นสัญญารับสิทธิประโยชน์ต่างๆ กับ ภาครัฐฯในการนำเข้ารถยนต์ EV เข้ามาขาย แลกกับการต้องมาตั้งฐานการผลิตรถ EV ในประเทศไทยในอนาคต โดยก่อนหน้านี้เป็นค่า GWM และ MG ล่าสุดเป็นค่ายใหญ่ของญี่ปุ่นได้แก่ Toyota ซึ่งถือเป็นสัญญาณเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ EV ในประเทศไทย

   สำหรับสถานะของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ปี 64 มีจำนวนยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ที่จดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้น 92.7%yoy มาอยู่ที่ 5.8 พันคัน คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.2% ของจำนวนรถจดทะเบียนใหม่ทุกประเภทของไทยปี 64 โดยมียอดสะสมที่ 1.1 หมื่นคัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 0.03% ของจำนวนรถสะสมทุกประเภทของไทยในปัจจุบันที่ 42.3 ล้านคัน

* เปิด 4 บจ.ยักษ์ทำแบตฯ มีโครงการอะไรบ้าง 

   สำหรับแบตเตอรี่ ASPS  ถือเป็นชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้าต่อจากนี้ โดยมีผู้ประกอบการในไทย นำโดย EA ซึ่งปัจจุบันมีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ phase 1 ขนาด 1 พัน MWh ส่วนระยะถัดไปมีแผนขยายการผลิตไปให้ถึง 4.9 หมื่น MWh
 
   ถัดมาได้แก่ GPSC ผ่านการร่วมทุนกับ PTT โดยจัดตั้งบริษัท NUOVO PLUS (สัดส่วนถือหุ้น 49:51) ซึ่งปัจจุบันNUOVO PLUS มีโรงผลิตแบตฯ กำลังการผลิตรวม 141 MWh ทั้งในประเทศไทยและประเทศจีน และร่วมลงนาม MOU กับ Foxconn เพื่อศึกษาความเป็นไปได้สำหรับจัดตั้งโรงงานผลิต Platform และส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ตลาด EV ในอนาคต ผ่านการจับมือกับ Foxconn บริษัทสัญชาติไต้หวันร่วมศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนตั้งโรงงานผลิต Platform และส่วนประกอบสำคัญสำหรับ EV ในประเทศไทย

   ส่วนการผลิตแบตเตอรี่มีบริษัทลูก GPSC ที่มีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบ 30.0 MWh มาพัฒนาและทดลองใช้ภายในกลุ่ม PTT นอกจากนี้GPSC ยังได้เข้าถือหุ้น 11.1% ในบริษัท AXXIVA ประเทศจีน ซึ่งกำลังก่อสร้างโรงงานแบตเตอรี่ 1.0 พัน MWh เพื่อนำมาใช้สำหรับลูกค้ายานยนต์ไฟฟ้าในประเทศจีน คาดCOD ได้ภายในปี 2566

   นอกจากนี้ยังมี BANPU NEXT (BANPU และ BPP ถือหุ้นบริษัท ละ 50%) เข้าลงทุน 47% ใน Durapower ประเทศจีน มีโรงงานรองรับการผลิตแบตเตอรี่ได้ 1.0 พัน MWh สำหรับใช้ทั้งในอุตสาหกรรม EV และระบบกักเก็บพลังงานรวมถึง BCPG ซึ่งมีโครงการนำร่องโดยการนำแบตเตอรี่ 1.4 MWh มาใช้กักเก็บพลังงานในการผลิตไฟฟ้า และได้เข้าซื้อหุ้นกู้แปลงสภาพบริษัท VRB ซึ่งเป็นบริษัทผลิตวิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่สำหรับกักเก็บพลังงานในประเทศจีน

โครงการ กำลังผลิตติดตั้ง สัดส่วนถือหุ้น กำลังผลิตตาม COD / SCOD
Mwh % สัดส่วนถือหุ้น (Mwh)
EA
โรงงานแบตเฟส1 1,000 74.7 747.1 Q4/64
Amita Taiwan 400 74.7 298.8
รวม 1,045.9
PTT+GPSC
Energy Storage 30 49 14.7 Q3/64
ลงทุนใน AXXIVA 1,000 5.4 54.4 ปี 66
รวม 69.1
BANPU + BPP
ลงทุนใน Durapower 1,000 23.5 235 ปี 61
รวม 235
BCPG
ลมลิกอร์ 1.4 100 1.4 ปี 62
VRB 1,000 13-14 130-140 ปี 65-66
รวม 131.4-141.4

ที่มา : บล.เอเซียพลัส

Motor Sport Sponsored
แข่งรถ รถแข่ง

การแข่งรถ (หรือเรียกว่าแข่งรถยนต์ หรือ รถแข่ง) เป็นมอเตอร์สปอร์ตที่เกี่ยวข้องกับการแข่งโดยใช้รถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ รถจักรยาน สำหรับการแข่งขัน

This website uses cookies.