นี่คือรถแข่งแรลลี่ที่น่าสนใจที่สุดในปี 2022 ใช่แล้วครับ RS Q e-tron ของ Audi นั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทันสมัย ลุยแหลกได้ และมีระบบขับเคลื่อนสุดเจ๋ง ย้อนกลับไปในเดือนมกราคม การแข่งขันแรลลี่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ทรหดที่สุด และเป็นอันตรายต่อรถที่ลงแข่งมากที่สุดในโลก แรลลี่ดาการ์ในทุกวันนี้ มีการเปลี่ยนกฎข้อบังคับเกี่ยวกับเครื่องยนต์ ทำให้ RS Q e-tron เป็นรถแข่งแรลลี่หฤโหดที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าคันแรกที่วิ่งเข้าเส้นชัย รถสามคันที่บันทึกชัยชนะในรายการดาการ์ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าบนเพลาแต่ละข้าง ดึงพลังงานจากก้อนแบตเตอรี่ขนาด 50kw ใต้เบาะนั่ง แม้จะซดน้ำมันบ้างแต่ RS Q e-TRON ใช้ความพยายามด้านเทคนิคเพื่อทำตัวให้สะอาด ด้วยระบบพลังงานผสมเครื่องยนต์บวกมอเตอร์ไฟฟ้า
มันเป็นรถแข่งแรลลี่ลูกผสม ไม่มีทางที่ก้อนแบตเตอรี่ขนาด 50kW จะสามารถขับเคลื่อนนักแข่งข้ามทะเลทรายไกลสุดกู่ซึ่งเต็มไปด้วยอันตราย RS Q e-TRON 4WD ขนาด 2 ตันผ่านด่านการแข่งขันที่มีความยาวหลายร้อยกิโลเมตรได้ เครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตร เทอร์โบชาร์จ มีหน้าที่เพียงเพื่อหมุนมอเตอร์ไฟฟ้าตัวที่สาม เพื่อชาร์จแบตเตอรี่ นอกจากนี้ เครื่องยนต์เบนซินของ Audi เป็นหนึ่งในเครื่องยนต์ที่ระบายความร้อนได้ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา เพื่อขับเคลื่อน RS5 DTM racer ของทีมแข่ง Audi Sport มอเตอร์ไฟฟ้าถูกนำมาจากรถแข่ง Formula E ใช่แล้วครับ ตอนนี้เทคโนโลยีสนามแข่ง Formula ELectric ได้มาถึงส่วนที่ลึกที่สุดของทะเลทราย
เนื่องจากขณะแข่งขันจะไม่มีโอกาสชาร์จไฟใส่แบตฯ ในทะเลทราย Audi ได้เลือกแนวคิดการชาร์จที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่คล้ายกับ Nissan Kicks : บนรถ Audi RS Q e-tron¹ มีเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตร 4 สูบ ระบบเชื้อเพลิง TFSI ระบบอัดอากาศเทอร์โบชาร์จ ที่มีประสิทธิภาพสูงจากรถแข่ง Audi DTM เป็นส่วนหนึ่งของตัวแปลงพลังงานที่คอยชาร์จแบตเตอรี่ไฟฟ้าแรงสูงขณะขับเคลื่อน เนื่องจากเครื่องยนต์สันดาป จะทำงานในช่วงที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นพิเศษระหว่าง 4,500 ถึง 6,000 รอบต่อนาที อัตราสิ้นเปลืองเฉพาะจึงต่ำกว่า 200 กรัมต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง
ระบบขับเคลื่อนของ Audi RS Q e-tron¹ เป็นระบบไฟฟ้าล้วน เพลาหน้าและเพลาหลังติดตั้งชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (MGU) จากรถยนต์ Audi e-tron FE07 Formula E แต่มีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยเพื่อใช้ MGU ในรายการ Dakar Rally
MGU หรือมอเตอร์ไฟฟ้าตัวที่สาม ซึ่งมีการออกแบบให้ทำหน้าที่เป็นเจเนอเรเตอร์ รับแรงหมุนจากเครื่องยนต์ เป็นส่วนหนึ่งของตัวแปลงพลังงานและทำหน้าที่ชาร์จแบตเตอรี่ไฟฟ้าแรงสูงขณะแข่งขัน นอกจากนี้ พลังงานไฟฟ้าจะมีการชาร์จอย่างเร็วเมื่อนักแข่งยกเท้าออกจากแป้นคันเร่ง ด้วยระบบ regenerative braking แบตเตอรี่มีน้ำหนักประมาณ 370 กิโลกรัมและมีความจุประมาณ 50 kWh
Audi RS Q e-tron แสดงให้เห็นถึงอนาคตของการแข่งขัน เนื่องจากเครื่องยนต์สันดาปภายใน ICE ทำงานที่ความเร็วคงที่ และไม่ถูกนำมาใช้งานอย่างหนัก เครื่องยนต์ 2.0 TFSI จึงใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่ารถแข่งที่เข้าร่วมในรายการดาการ์ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ RS Q e-TRON 4WD ยังไม่จำเป็นต้องใช้เบรกล้อ เนื่องจากระบบฟื้นฟูพลังงานไฟฟ้าหรือ regenerative braking ถูกปรับตั้งให้มีกำลังแรงต้านมากสุดๆ เพื่อปั่นไฟเข้าแบตฯ อย่างรวดเร็ว – อันที่จริง ระบบ regenerative braking ของ RS Q e-TRON สามารถเก็บเกี่ยวพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่ารถยนต์ไฮบริดทุกแบบบนโลกใบนี้!! กล่าวโดยย่อก็คือ RS Q e-TRON เป็นก้าวแรกบนเส้นทางสู่อนาคตที่ยั่งยืน สำหรับรถแข่งแรลลี่ในรายการดาการ์โดยเฉพาะและการแข่งรถระยะไกลในทะเลทราย นอกจากนี้ หาก Audi สามารถพิสูจน์ได้ว่า เทคโนโลยีไฮบริดเต็มรูปแบบใช้งานได้จริงในการแข่งขัน ตราบเท่าที่สิ่งนี้จะนำไปสู่ชัยชนะเหนือทีมแข่งอื่นๆ สนามแข่ง Lemans อาจเป็นงานที่ไม่ยากจนเกินไปสำหรับแบรนด์สี่ห่วงที่เคยมีประวัติศาสตร์ด้านชัยชนะเหนือรถคู่แข่งใน Lemas
Audi RS Q e-tron เป็นรถยนต์พลังงานผสมที่เข้ามาปฏิวัติวงการอย่างแท้จริง และไม่มีอะไรที่เหมือนกับมันอีกแล้ว รายการแรลลี่ชิงแชมป์โลก WRC ได้เปลี่ยนกฎการแข่งขันใหม่หมดในปีนี้ โดยอนุญาตให้ใช้เครื่องยนต์ไฮบริดจากกระแสลดมลพิษ กฎข้อบังคับของดาการ์ยังคงเปิดกว้าง FIA อนุญาตให้ทีมนำเทคโนโลยีและแนวคิดใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ดังนั้น Audi ได้ใช้โอกาสนั้นเพื่อลองทำอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม นั่นเป็นเรื่องที่ Audi สมควรได้รับการยกย่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อโปรเจกต์ทั้งหมดเปลี่ยนจากภาพสเกตช์แรก ไปเป็นการเริ่มต้นการแข่งขัน ด้วยเวลาเตรียมรถเพียง 15 เดือนเท่านั้น ดาการ์นั้นโหดมากจนรถที่ไม่แข็งแกร่งมากพอจะไม่มีทางจบการแข่งขัน ไม่เคยมีใครมาที่นี่พร้อมรถใหม่และคว้าชัยชนะทันทีทันควัน RS Q จะกลับมาในปีหน้า โดยมุ่งเป้าไปที่ถ้วยรางวัลอันทรงคุณค่าเหมือนเดินในแบบที่เคยทำมา.
Technical data
Audi RS Q e-tron¹
Vehicle type Cross-Country Rally Car (Category T1 U)
Chassis Steel tube frame in combination with structural components in carbon/cylon fiber composite
Drivetrain All-wheel drive with electrically driven axles
E-drivetrains on the axles One Audi MGU05 from Formula E per axle
Output Total system power under 288 kW (392 hp)
Transmission One single-speed racing gearbox per axle, including limited-slip differential (software-based), virtual center differential with freely selectable torque distribution on front and rear axle
Battery High Voltage Battery System (HVBS), approx. 370 kg (wet), lithium-ion cells, usable battery capacity approx. 52 kWh, charging with max. 220 kW (299 hp) while driven through energy converter
Energy converter 2.0 liter four-cylinder turbo engine from the DTM coupled via a shaft with a generator (Audi MGU05 from Formula E) Speed- and torque-controlled generator operation at the energy converter’s maximum efficiency with intelligent battery charging and energy management
Tyres BF Goodrich front/rear 37×12,5 R17
Dimensions 4,500 / 2,300 / 1,950
Length / Width / Height (mm)
Minimum weight 2,000 kg without drivers
Fuel tank capacity Max. 300 liters
0–100 km/h Less than 4.5 seconds (on loose surface)
Top speed Limited to max. 170 km/h by regulations
อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail chang.arcom@thairath.co.th
Facebook https://www.facebook.com/chang.arcom
https://www.facebook.com/ARCOM-CHANG-Thairath-Online-525369247505358/
This website uses cookies.