29 มิ.ย. 2564 เวลา 6:38 น.
อย่างไรก็ตาม การดำเนินธุรกิจของ ออโต้แบคส์ ดูจะเงียบๆ ในช่วงที่ผ่านมา โดยเปิดสาขาแค่ประมาณ 10-12 สาขาเท่า่นั้น ในช่วง 20 ปี
ออโต้แบคส์ ถึงจุดเปลี่ยนสำคัญในปี 2557 เมื่อ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) (PTG) เข้าไปซื้อหุ้นบริษัท สยามออโต้แบคส์ จำกัด ในปี 2560 ในสัดส่วน 38.26% และล่าสุุดในปี 2563 ที่ผ่านมา ก็ซื้อหุ้นเพิ่ม รวมเป็น 76.52% ซึ่งจะทำให้ พีทีจี สามารถกำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจของออโต้แบคส์ได้สะดวกขึ้น
รังสรรค์ พวงปราง ประธานกรรมการ บริษัท สยามออโต้แบคส์ จำกัด และ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า พีทีจี มองว่าธุรกิจศูนย์บริการรถยนต์มีอนาคตที่ดี ขณะที่ออโต้แบคส์ ก็เป็นธุรกิจที่มีชื่อเสียงอย่างมาก ซึ่งในถิ่นกำเนิด ประเทศญี่ปุ่น ออโต้แบคส์ เป็นผู้นำตลาดอันดับ 1 ขณะที่ในไทยผู้บริโภคก็ให้การยอมรับที่ดี
แต่ตลาดที่ยังมีขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับตลาดรวมมูลค่า 3 หมื่นล้านบาท/ปี หรือเท่ียบกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เป็นสิ่งที่จะต้องได้รับการแก้ไข ซึ่งเมื่อพีทีจี บริหารงานได้เต็มที่ บวกกับการมีความแข็งแกร่งหลายอย่าง ทั้งการเป็นผู้ค้าปลีกน้ำมันรายใหญ่ มีสถานีบริการจำนวนมากทั่วประเทศ มีพันธมิตรที่เกี่ยวข้องหลายๆ ด้าน ตั้งแต่เกี่ยวข้องกับรถยนต์รถยนต์โดยตรง เช่น น้ำมันเครื่อง อะไหล่ ไปจนถึงด้านไลฟ์สไตล์ ทั้งดูหนัง ฟังเพลง หรือว่าอาหาร
ทั้งหมดนี้จะถูกนำมาใช้ในการพัฒนการตลาด ยกระดับธุรกิจหลังจากนี้
“เรามีพันธมิตร จำนวนมาก และมีฐานของลูกค้าของ พีที จำนวนมาก มีสมาชิก พีที แมกซ์ การ์ด 18 ล้านใบ ซึ่งจะมาใช้ในการจัดทำกิจกรรมร่วมกันได้ ทั้งแคมเปญต่างๆ หรือการสะสมแต้ม” แต่สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่จะต้องเร่งดำเนินการก่อนคือ การขยายสาขา
รังสรรค์ ระบุว่า ออโต้แบคส์ เป็นธุรกิจศูนย์บริการรถยนต์ในรูปแบบโมเดิร์น ซึ่งปัจจุบันมีคู่แข่งหลายราย และการที่ธุรกิจรูปแบบนี้จะขยายตัวได้ สิ่งสำคัญคือ ต้องมีสาขาที่มากพอ
ซึ่งหลังจากการเข้ามาถือหุ้นใน ออโต้แบคส์ ของพีทีจี ปัจจุบัน มีสาขาให้บริการแล้วรวม 16 สาขา และเตรียมจะเปิดตัวเร็วๆนี้ 4 สาขา และเมื่อถึงสิ้นปี 2564 ตั้งเป้าเปิดบริหารครบ 30 สาขา
“เราวางแผนว่าจะต้องเปิดบริการให้ได้ 30 แห่ง ในปีนี้ แต่ว่าก็ต้องดูสถานการณ์โดยรวม โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วย ว่าจะมีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน และก็คาดหวังว่าจะมีการเร่งฉีดวัคซีน ให้ประชาชนแพร่หลายขึ้นโดยเร็ว ซึ่งจะทำให้มีความมั่นใจ และธุรกิจเดินหน้าต่อได้”
ทั้งนี้ โควิด-19 ส่งผลกระทบตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ที่ทำให้ตลาดอยู่ในภาวะหยุดนิ่ง ก่อนที่เมื่อเข้าสู่ปี 2564 ตลาดเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ธุรกิจเดินหน้า แต่การแพร่ระบาดระลอก 3 ในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบรุนแรง ทำให้รายได้ลดลง 30-40% เพราะประชนมีกำลังซื้อลดลง และบางส่วนมีความระมัดระวังในการใช้สอยมากขึ้น
แต่ออโต้แบคส์ ก็ยังเชื่อมั่นภาพรวมตลาดในระยะยาว และเชื่อมั่นในศักยภาพของออโต้แบคส์ จึงยังคงเดินหน้าธุรกิจต่างๆ โดยพยายามให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ให้มากที่สุด
และแน่นอนรวมถึงแผนการขยายสาขาที่จะเดินหน้าต่อไป และตั้งเป้าว่าภายใน 4-5 ปีจะต้องเปิดบริการให้ได้ 250-300 สาขา
“เพราะหัวใจสำคัญของออโต้แบคส์ ซึ่งที่ญี่ปุ่นก็ยึดถือว่าแนวคิดนี้เช่นกันคือ ไม่มองว่าเป็นธุรกิจรถยนต์ แต่ต้องมองว่าเป็นธุรกิจค้าปลีก และเมื่อเป็นค้าปลีกก็จำเป็นจะต้องทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย ด้วยการเพิ่มเครือข่ายให้แพร่หลายมากขึ้น” และเมื่อมีสาขามากขึ้น ครอบคลุมพื้นที่บริการมากขึ้น สิ่งสำคัญอีกอย่างคือต้องทำให้ลูกค้ารู้จักมากขึ้นอีกด้วย
ดังบนั้นอีกสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการขยายสาขาคือ กิจกรรมประชาสัมพันธ์ ที่จะเข้มข้นมากขึ้นหลังจากนี้
ส่วนหัวใจหลักของธุรกิจ คือ การบริการ ก็จะถูกยกระดับมากขึ้นหลังจากนี้ ทั้งเรื่องคุณภาพ และความหลากหลาของทั้งการบริการและสินค้า
“แน่นอนว่าคู่แข่งก็ต้องเน้น และมุ่งมาที่การบริการเช่นกัน ดังนั้นเราต้องปรับตัว และพยายามทำให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ”
เช่น ช่วงเวลานี้ ผู้บริโภค หลีกเลี่ยงการเดินทาง หลีกเลี่ยงการพบปะผู้คน ออโต้แบคส์ ก็มีบริการดูแลลูกค้าถึงบ้าน ด้วยโมบาย เซอร์วิส หรือการหาบริการที่ตอบสนองกลุ่มลูกค้าผู้หญิง กลุ่มลูกค้าที่ไม่ค่อยมีเวลาว่างในการดูแลรถด้วยตนเองมากนัก รวมถึงกลุ่มที่ต้องการควบคุมค่าใช้จ่าย
“เรากำหนดแนวทางการให้บริการ คือ เป็นผู้ให้คำปรึกษา ที่จะให้รายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับรถ เกี่ยวกับปัญหา และแนวทางแก้ไข แต่สุดท้าย การจะเปลี่ยนอะไหล่ หรือซ่อม ลูกค้าจะเป็นผู้ตัดสินใจเอง ซึ่งแนวทางนี้จะทำให้ได้รับการยอมรับและไว้วางใจจากลูกค้าในระยะยาว”
ทั้งนี้แม้จะโดยส่วนใหญ่ ธุรกิจนี้จะเน้นการเปลี่ยนอะไหล่ แต่ออโต้แบคส์ มีบริการซ่อมเบาด้วย โดยจะเน้นการซ่อมที่มีชั่วโมงทำงานไม่เกิน 3-4 ชั่วโมง แต่ในอนาคตจะพยายามขยายบริการนี้ให้มากขึ้น
นอกจากนี้ ก็ยังมีการจัดแพคเกจการดูแลรถรายปี ซึ่งจะช่วยลูกค้าที่ต้องการควบคุมค่าใข้จ่ายและไม่มีเวลาดูแลรถ
และอีกสิ่งหนึ่งที่ มuแนวคิดจะขยายธุรกิจหลังจากนี้ คือ การพรีออเดอร์อะไหล่และอุปกรณ์ตกแต่งพิเศษ เช่น ท่อไอเส่ีย จากญี่ปุ่น เพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่ชอบแต่งรถ และชอบอารมณ์สปอร์ต
“พีที มีทีมแข่งอยู่แล้ว ซึ่งทำให้ทีมช่างของออโต้แบคส์ ได้รับประสบการณ์นี้มาด้วย ส่งผลดีต่อการขยายธุรกิจของเรา”
รังสรรค์กล่าวว่า แผนการดำเนินธุรกิจเชิงรุกทั้งหมด จะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแต่ทำให้ธุรกิจเติบโต ผู้บริโภครู้จักมากขึ้น แต่เป้าหมายหลักของออโต้แบคส์ก็คือ การขึ้นแท่นอันดับ 1-2 ในธุรกิจนี้ภายใน 3-4 ปี นับจากนี้
As part of their spo…
This website uses cookies.