ไม่กี่ปีที่ผ่านมา Formula 1 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในข้อกำหนดทางเทคนิคสำหรับระบบส่งกำลังของรถแข่งที่ต้องมีขนาดเล็ก ปล่อยมลพิษตามกฎข้อบังคับ น้ำหนักเบาและทรงพลัง Mercedes AMG ตัดสินใจที่จะนำผลงานของการทำงานอย่างหนักในสนามแข่ง โดยนำมาปรับใช้ในแพ็กเกจระบบส่งกำลัง Formula 1 หนึ่งในนั้นคือรถไฮเปอร์คาร์หรือสตรีทคาร์ Project ONE
การออกแบบที่สอดคล้องกับหลักการทำความเร็วของ Mercedes-AMG Project ONE มีพื้นฐานมาจากแนวคิดที่ซับซ้อนทางด้านวิศวกรรมเพื่อทำให้ได้รถสปอร์ตที่มีประสิทธิภาพตรงตามข้อกำหนดของผู้บริหารใน Mercedes-AMG รายละเอียดการออกแบบแต่ละจุด เอื้ออำนวยเฉพาะสำหรับประสิทธิภาพโดยรวมของรถ สัดส่วนของกล้ามเนื้อ ส่วนเว้า ส่วนโค้ง มีรูปทรงที่ไหลลื่นอยู่บนความงามของตัวถัง Mercedes-AMG Project ONE ใช้แนวคิดขึ้นอยู่กับการติดตั้งเครื่องยนต์ในตำแหน่งกลางลำตัวหรือเครื่องยนต์วางกลาง Cockpit ที่มีขนาดเล็ก ออกแบบเฉพาะสำหรับคนขับและผู้โดยสาร มีพื้นที่เก็บสัมภาระไม่มาก ซุ้มล้อใหญ่และสัดส่วนที่ถูกขัดเกลาอย่างสมดุล ส่วนท้ายที่ออกแบบให้มีขนาดความกว้างมากกว่ารถสปอร์ตของ AMG ทุกรุ่น โดยเฉพาะโป่งล้อหลังกับล้อขนาดยักษ์ เป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนถึงจุดกำเนิดที่มาจากกีฬามอเตอร์สปอร์ต สปอยเลอร์หน้าพร้อมช่องดักอากาศที่มีขนาดใหญ่ตลอดความกว้างของรถ
มุมมองด้านหน้าที่โฉบเฉียวกับไฟหน้า LED ใช้ดีไซน์ที่แบนราบ เพื่อปรับให้เข้ากับรูปทรงของตัวรถได้อย่างลงตัว แนวหลังคาแบบไดนามิกมีช่องรับอากาศเข้าไประบายถ่ายเทความร้อนห้องเครื่องยนต์ ท่อดักอากาศ ออกแบบให้มีเส้นที่ผสานเข้ากับครีบฉลามแนวตั้งได้อย่างสวยงาม การออกแบบท่อไอเสียที่มีเต้ารับทรงกลมขนาดใหญ่และช่องเปิดเล็กๆ อีกสองช่องนั้นอิงตามแบบของรถยนต์ Formula 1 โดยตรง การออกแบบที่โดดเด่นกับรถยนต์สมรรถนะสูง ทำให้ One เป็นไฮเปอร์คาร์ที่มีบุคลิกโดดเด่นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในยานยนต์ของ AMG
ทศวรรษที่ผ่านมา เครื่องยนต์ V8 แบบไม่มีระบบอัดอากาศในรถ F1 สามารถดันรอบเครื่องได้ถึง 20,000 รอบต่อนาที หลังจากความบ้าลดมลพิษของคนใน FIA มีการออกกฏให้ทุกทีมต้องลดขนาดความจุของเครื่องยนต์ลง การกระทำดังกล่าวส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากในวงการแข่งความเร็วระดับโลก ระบบไฮบริดกลายเป็นอุปกรณ์เสริม รับหน้าที่ทดแทนพลังงานที่ต้องสูญเสียไป จากการที่เครื่องยนต์ต้องถูกลดความจุลง จากนั้น การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของเครื่องยนต์ V6 แบบดิสเพลสเมนต์ที่มีขนาดเล็กลง พร้อมกับระบบอัดอากาศ turbo ตามด้วย e-Turbo และการนำพลังงานจลน์กลับคืนเมื่อยกคันเร่งแล้วเบรก รวมถีงการนำความร้อนเหลือทิ้งหมุนวนกลับมาใช้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ แน่นอนว่ามอเตอร์ไฟฟ้าถูกนำมาปรับใช้เพื่อเพิ่มสมรรถนะ ในขณะที่แฟนกีฬามอเตอร์สปอร์ต โดยเฉพาะคนดู F1 หลายคนต่างคร่ำครวญและก่นด่าถึงเสียงเครื่อง V6 รุ่นใหม่ในเครื่องยนต์ F1 ที่ขาดความเร้าใจและมีเสียงเหมือนวัวในทุ่งร้องครางอย่างทุกข์ทรมาณ F1 ได้สูญสิ้นความเร้าใจในด้านเสียงเครื่องยนต์ ด้วยแพ็กเกจระบบส่งกำลังแบบใหม่ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของระบบส่งกำลังสันดาปภายใน จะเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณด้วยเทอร์โบและมอเตอร์ไฟฟ้า สามสิบปีที่ผ่านมา ประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเครื่องยนต์เบนซินดีขึ้นจาก 20% เป็น 35% ในเวลาน้อยกว่าห้าปีนับตั้งแต่ Formula 1 ได้ทำการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบทางเทคนิค เงินพัฒนาหลายหมื่นล้านบาทที่จ่ายให้กับการวิจัยและพัฒนาระบบส่งกำลังแบบใหม่ในวงการ Motorsports ระด้บโลก ได้เพิ่มประสิทธิภาพเชิงความร้อนดีขึ้นถึง 50% กฎข้อบังคับที่เปลี่ยนไป เพื่อให้เทคโนโลยี Formula 1 เข้ามาเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคที่ใช้รถยนต์ในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น บริษัทรถยนต์บางราย โดยเฉพาะฝั่งเยอรมัน ได้ปรับปรุงเทคโนโลยีระบบส่งกำลังของเครื่องยนต์สันดาปภายในใหม่ ทำให้เกิดประสิทธิภาพอย่างมากในรถยนต์รุ่นใหม่ที่ยังคงใช้เครื่องยนต์สันดาป เทอร์โบไฟฟ้า e-turbos ที่ใช้ใน F1 นั้น กลายเป็นเทคโนโลยีในรถยนต์ (ราคาแพง) สำหรับคนกลุ่มเล็กๆ ที่มีเงินมากพอและสามารถหาซื้อได้ภายในครึ่งทศวรรษนี้ เศรษฐีเหล่านั้นสามารถบอกลาอาการรอรอบของเทอร์โบ หรือปัญหาเทอร์โบแล็กได้อย่างไม่ยากเย็นนัก ด้วยเทคนิคใหม่ๆ ในวงการ F1
สกู๊ปหลังคาดูดอากาศเข้าไปในช่องแอร์ซึ่งนำไปสู่ช่องอากาศเข้าของคอมเพรสเซอร์เทอร์โบชาร์จเจอร์
การเพิ่มแรงดันอากาศเข้าไปในช่องลมเข้าของคอมเพรสเซอร์หมายความว่าคอมเพรสเซอร์สามารถทำงานที่อัตราส่วนแรงดันที่ต่ำกว่าเพื่อเพื่อสร้างแรงดันอย่างสมบูรณ์ในท่อร่วมไอดี นั่นแปลว่า อากาศที่ออกมาจากเทอร์โบจะเย็นตัวลงเล็กน้อย นอกจากนี้ ยังหมายถึงความต้องการพลังงานจากกังหันเทอร์ไบน์ลดลง ซึ่งจะช่วยลดแรงดันย้อนกลับของเครื่องยนต์ ท่อ NACA ขนาดใหญ่ที่ด้านหน้าของ lexan ท่อคาร์บอนไฟเบอร์ขนาดใหญ่ซึ่งจะทำให้การระบายความร้อนของเครื่องยนต์และระบบไฮบริดดีขึ้น ระบบส่งกำลังไฮบริดขั้นสูงเหล่านี้ มีส่วนประกอบเพิ่มเติมในการระบายความร้อน น้ำหล่อเย็นเครื่องยนต์แบบมาตรฐานและการระบายความร้อนด้วยน้ำมัน (สำหรับการถ่ายเทความร้อนในระบบอัดอากาศและแบตเตอรี่) อินเตอร์คูลเลอร์สำหรับ turbo จุดที่มีความสำคัญก็คือ การระบายความร้อนมอเตอร์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แรงสูง One ถูกออกแบบให้มีช่องสำหรับดึงลมร้อนออกจากส่วนในของระบบส่งกำลัง
มีอุปกรณ์ถ่ายเทความร้อนจำนวนมากที่ด้านหน้ารถ ซึ่งเห็นได้จากช่องระบายอากาศขนาดใหญ่ของฝากระโปรงหน้า บังโคลนหน้า สิ่งเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นบานเกล็ดอากาศแบบแปรผัน ปิดไว้สำหรับการขับในย่านความเร็วต่ำ และเปิดขึ้นเพื่อเพิ่มแรงกด
ก้านกระจกมองข้างมีความน่าสนใจ เนื่องจากประกอบด้วยวัสดุน้ำหนักเบา โดยพื้นฐานแล้ว มันอาจไม่แข็งแรงมากพอ วิศวกรพิจารณาว่าการใช้รูปทรงดังกล่าวทำให้มีแรงต้านอากาศน้อยกว่า เมื่อเทียบกับรูปร่างของก้านที่หนากว่า ซุ้มล้อหลังถูกปรับเพื่อให้อากาศไหลออก แผงด้านหลังล้อหน้า ช่วยควบคุมการไหลเวียนของอากาศที่ออกจากบริเวณซุ้มล้อ แนวคิดการไหลของอากาศใน Project ONE คล้ายกับต้นแบบของรถแข่ง LeMans ซึ่งอากาศที่เข้าสู่ด้านหน้าของรถจะถูกส่งไปรอบล้อหน้าและออกด้านข้างตามหลักอากาศพลศาสตร์
ด้านหลังไม่มีอะไรผิดปกติหรือดูแปลกประหลาดมากเกินไป ดิฟฟิวเซอร์ขนาดใหญ่ ยางหลังหน้ากว้างแบบรถแข่ง ตาข่ายขนาดใหญ่ปิดช่องระบบส่งกำลังด้านหลัง ช่วยให้อากาศร้อนระบายออกได้อย่างรวดเร็ว ท่อไอเสียเป็นแบบเดี่ยวขนาดใหญ่ขนาบข้างด้วยท่อขนาดเล็กสองท่อ
Hyperperformance
ขุมพลังเครื่องยนต์เบนซิน V6 ขนาด 1.6 ลิตร หัวฉีดตรง ที่มาพร้อมเทคโนโลยีที่ยกมาจากรถแข่ง Formula 1 กับระบบอัดอากาศ Turbocharging ผสานการทำงานกับระบบไฟฟ้าแบบ e-Turbo รถ Project ONE เป็นแนวทางของการออกแบบรถยนต์ AMG รุ่นใหม่ๆในอนาคต Mercedes-AMG Project ONE ไม่ใช่แค่การเทิดทูนให้กับความสำเร็จในเวที Motorsport แต่คือการตอกย้ำจุดยืนของ Mercedes-Benz ในการเป็น “ผู้นำการขับเคลื่อนแห่งโลกอนาคต” ได้อย่างไร้ข้อกังขา
ส่วนประกอบของระบบขับเคลื่อนปลั๊กอินไฮบริดประสิทธิภาพสูง EQ Power+ ใน Mercedes-AMG Project ONE มีพื้นฐานมาจาก Formula 1 โดยตรง และได้รับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญด้านมอเตอร์สปอร์ตที่ Mercedes-AMG High Performance Powertrains ใน Brixworth เครื่องยนต์เบนซินไฮบริด 1.6 ลิตร V6 ระบบไฮบริด มีมอเตอร์ไฟฟ้ารวม 4 ตัว หนึ่งตัวถูกรวมเข้ากับเทอร์โบชาร์จเจอร์ อีกตัวหนึ่งได้รับการติดตั้งโดยตรงบนเครื่องยนต์สันดาปพร้อมเชื่อมต่อไปยังเพลาข้อเหวี่ยง และมอเตอร์อีกสองตัวที่เหลือทำหน้าที่ขับเคลื่อนล้อหน้า
จากการผสมผสานระหว่างประสิทธิภาพและการใช้งานจริง การตกแต่งภายในให้สัมผัสของ Formula 1 ที่แท้จริงทั้งในและนอกสนาม สีสันและวัสดุภายในห้องโดยสารได้รับแรงบันดาลใจจากรถแข่ง Formula 1 การตกแต่งภายในที่โค้งมนตามหลักสรีรศาสตร์พร้อมเบาะนั่งแบบบัคเก็ตซีท 2 ตัว โดดเด่นด้วยสไตล์ล้ำสมัยและใช้งานง่ายแบบมินิมอล วัสดุที่เป็นนวัตกรรมใหม่ คันเหยียบและพวงมาลัยแบบ Formula 1 สามารถปรับได้ตามต้องการ อุโมงค์ตรงกลาง แยกพื้นที่คนขับและผู้โดยสารออกจากกันตามลักษณะของยานยนต์ซุปเปอร์สปอร์ต เป็นส่วนประกอบที่ใช้งานได้จริง จากโครงสร้างคาร์บอนไฟเบอร์ ผสมผสานเข้ากับแพลตฟอร์มโมโนค็อก เบาะนั่งรถแข่งสร้างความเชื่อมโยงกับการแข่งรถ พื้นผิวเบาะนั่งสลับกับหนังแนปป้าสีเทาแมกมา การเย็บตะเข็บบนสีเหลืองตัดกันยังเป็นคุณลักษณะเด่นของ AMG
การจะสร้างจุดขายให้เป็นที่พอใจของบรรดาอภิมหาเศรษฐีที่ถูกเชิญให้มาชมรถคันจริง ซึ่งคนรวยเหล่านั้นต้องควักกันหนักถึง 91 ล้านบาท (ยังไม่รวมอัตราภาษีนำเข้า 380 % ของไทย) ก็คือรูปแบบของการผลิตเพียงแค่น้อยนิดไม่ถึง 300 คัน รวมถึงการใช้เทคโนโลยีของ F1 กับบานประตูปีกนก ทรงที่แบนและเตี้ย ตัวถังเพียบพร้อมไปด้วยระบบ Active AERO ชุดจัดกระแสลมรอบคัน สปอยเลอร์หลังแบบพิเศษรวมกับครีบหลังคาร์บอนอันแปลกประหลาดแต่เข้ากับรถและท่อระบายท้ายแมคนีเซียม ทำให้ปิศาจสีเงินคันนี้มีหน้าตาราวกับยานรบต่างดาว ระบบอากาศพลศาสตร์ หรือ AERODYNAMIC ของรถคันนี้เกิดขึ้นจากชิ้นส่วนคาร์บอนซึ่งทำหน้าที่สี่แบบคือ ปรับเป็นโหมด DRS เพื่อความลู่ลมสูงสุดสำหรับการวิ่งในย่านความเร็วสูง ปรับเพื่อสร้างแรงยึดเกาะกับถนนโดยใช้ Air Blade ทั้งสองข้าง ปรับองศาของครีบที่สร้างแรงกดเพื่อพยุงบาลานซ์ระหว่างหน้าและท้าย แบบสุดท้ายคือการปรับให้เกิดแรงต้านอากาศสูงสุดสำหรับการเบรก ช่วงล่างแบบ Active Suspension เฟืองทดกำลังของระบบ Torque Vectoring ที่สามารถเทแรงบิดไปยังล้อข้างใดข้างหนึ่งไม่ว่าล้อนั้นจะขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์หรือเครื่องยนต์
ระบบเสริมพลังงานแบบ Hybrid วางแบตเตอรี่แบบพิเศษ Lithium-ion ที่มีความแตกต่างจากรถ Mercedes F1 โดยปรับให้มีความคงทนและเหมาะกับการใช้งานทั้งบนถนนปกติและในสนามแข่ง แบตเตอรี่วางอยู่ที่ด้านหน้าหลังแรคพวงมาลัยและช่วงล่างเพื่อการกระจายน้ำหนักที่สมมาตร ชุดระบายความร้อนของแบตฯ มีพื้นฐานเดียวกันกับรถแข่ง Formula 1
มอเตอร์ 2 ที่ใช้ขับเคลื่อนล้อคู่หน้า แยกฝั่งซ้าย-ขวาออกจากกันเพื่อป้องกันการกินกำลังระหว่างขับเคลื่อน มอเตอร์ไฟฟ้าที่ล้อหน้าของ Mercedes Project One มีกำลังตัวละ 120 กิโลวัตต์ หรือ 163 แรงม้า เมื่อทำงานพร้อมกันทั้งสองตัวแบบเต็มกำลังจะมีเรี่ยวแรงมหาศาลมากถึง 326 แรงม้า โดยสามารถหมุนด้วยรอบที่สูงมากถึง 50,000 รอบต่อนาที เมื่อผู้ขับกดปุ่มใช้งานด้วยระบบไฟฟ้าแต่เพียงอย่างเดียว กำลังไฟในแบตฯ ที่จ่ายให้กับมอเตอร์ไฟฟ้าสามารถผลักดันให้ Project One วิ่งได้ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตรโดยปราศจากมลพิษ ระบบสะสมพลังงานแบบพิเศษยังช่วยชาร์จไฟฟ้ากลับเข้าสู่แบตเตอรี่ขณะขับเคลื่อนได้ถึง 80%
มอเตอร์ไฟฟ้าเสริมแรงตัวที่ 3 มีขนาด 90 กิโลวัตต์ (90 kW = 122 แรงม้า (PS)) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบเทอร์โบชาร์จ โดยในรอบเครื่องยนต์ต่ำ มอเตอร์จะเป็นตัวปั่นใบพัดไอดีเพื่ออัดอากาศและทำให้อาการรอรอบหายไป เมื่อผู้ขับใช้รอบเครื่องยนต์สูงๆ ระบบควบคุมจะตัดการทำงานโดยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกลีบเทอร์ไบน์ในใบพัดไอเสียทำหน้าที่ปั่นใบพัดไอดีแทน ซึ่งในขณะเดียวกันมอเตอร์ก็จะชาร์จไฟฟ้ากลับเข้าสู่แบตเตอรี่ หรือ ส่งกำลังไฟสู่มอเตอร์ตัวอื่นๆ
มอเตอร์ตัวที่ 4 มีขนาด 120 กิโลวัตต์ (120 kW = 163 แรงม้า (PS)) ถูกติดตั้งแบบขั้นกลางระหว่างเครื่องยนต์กับเกียร์ คอยทำหน้าที่เสริมแรงบิด และส่งกำลังไปยังเกียร์ 8 สปีดไฮดรอลิก โดยมีชุดเฟืองตรง หรือ Spur Gear ช่วยในการตัดต่อกำลัง พร้อมโหมด ERS Energy Recovery System สะสมพลังงานมาบูสต์แรงบิดในช่วงสั้นๆ แต่แรงมหาศาลเพื่อกระชากร่างแซงผ่านรถคู่แข่ง
เมื่อเครื่องยนต์ V6 ของรถแข่ง F1 W07 กับมอเตอร์ไฟฟ้าทั้ง 3 ตัวทำงานผสานกันจะะทำให้ Mercedes-AMG Project One มีกำลัง 1,000 แรงม้า เร่งความเร็วจาก 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใน 2.9 วินาที 0-200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงใน 5.9 วินาที โดยมีความเร็วสูงสุด 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ชิ้นส่วนที่ต้องรับแรงมหาศาลก็คือยาง ไฮเปอร์คาร์ Mercedes AMG Project One ใช้ยาง Michelin รุ่น Pilot Sport Cup 2 ยางล้อหน้าไซส์ 285/35ZR-19s สำหรับยางหลังแม้จะขับเคลื่อนสี่ล้อแต่ขอเล่นใหญ่ไว้ก่อน ไซส์ยางหลังแบบรถแข่ง 335/30ZR-20s ยางสปอร์ตประสิทธิภาพสูงรุ่น Pilot Sport Cup 2 ออกแบบพิเศษสำหรับไฮเปอร์คาร์ทั้งการยึดเกาะ การรีดน้ำและสมรรถนะของการเบรก
กำลังจากเครื่องยนต์ V6 จะเทแรงบิดไปขับเคลื่อนล้อหลัง ชุดเกียร์ของ Project One เป็นระบบเกียร์แบบกึ่งอัตโนมัติ Automated AMG Speedshift 8 Speed ควบคุมการทำงานของเกียร์ด้วยสมองกลไฟฟ้าที่ปรับตั้งมาให้มีความเหมาะสมกับโหมดการขับเคลื่อนที่คนขับเลือกใช้ ระบบเกียร์แบบไฮดรอลิกช่วยเพิ่มความคงทนและการตอบสนองต่อการเปลี่ยนอัตราทดด้วยความรวดเร็ว ผู้ขับสามารถเลือกโหมดที่ใช้ควบคุมการทำงานของเกียร์ได้อย่างหลากหลาย เมื่อมอเตอร์ทั้งสามตัวทำงานพร้อมเครื่องยนต์ ระบบขับเคลื่อนของ Project One จะออกมาในรูปแบบขับเคลื่อน 4 ล้อตลอดเวลา โดย Mercedes AMG เรียกระบบนี้ว่า AMG Performance 4MATIC Plus!
TECHNICAL DATA AT A GLANCE.
Rear-wheel drive
1.6-litre V6 with direct injection, four valves per cylinder, four overhead camshafts and electrically boosted single turbocharger, electric motor connected to the crankshaft
Displacement 1,600 cc
Rear-wheel drive output > 500 kW
Front-wheel drive output 2 x 120 kW
System output > 740 kW (> 1,000 hp)
Electric range 25 km
Drive system
Variable AMG Performance 4MATIC+ all-wheel drive with hybrid-drive rear axle, electrically driven front axle and torque vectoring
Transmission
Automated AMG SPEEDSHIFT 8-speed manual transmission
Acceleration 0-200 km/h Top speed > 350 km/h
As part of their spo…
This website uses cookies.