Motor Sport Sponsored

ฟังต่างชาติเถียงกัน บั้งไฟไทยทำร้ายโลกจริงหรือ? – โพสต์ทูเดย์

Motor Sport Sponsored
Motor Sport Sponsored

วันที่ 12 ม.ค. 2565 เวลา 18:00 น.

บั้งไฟของไทยกลายเป็นประเด็นถกเถียงระหว่างชาวต่างชาติว่าเพิ่มมลพิษให้กับโลกหรือไม่

วันสิ้นปีที่ผ่านมา เฟซบุ๊คของ UNILAD Tech เผยแพร่คลิปการปล่อยบั้งไฟตะไลจากสถานที่แห่งหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งมีคนเข้ามาคอมเม้นต์เกือบ 20,000 คอมเม้นต์ส่วนใหญ่เป็นการถกเถียงกันในประเด็นเรื่องผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมจากควันไฟที่ตัวบั้งไฟปล่อยออกมา

Farid Hobeiche บอกว่า “ว้าว ชอบอ่ะได้ดูมลพิษเนี่ย” ซึ่งมีคนเข้ามากดถูกใจและหัวเราะกว่า 2,800 ครั้ง และมีคนเข้ามาคอมเม้นต์ตอบเขาอีกนับร้อยครั้ง เช่น Abhishek Wadwalkar ตอบกลับว่า “ใช่ คุณพูดถูก ผมก็รู้สึกแบบเดียวกันเวลาเห็นคนที่ขับรถยนต์ 1 คน 1 คันเพียงเพื่อสถานะปลอมๆ ในสังคม หรือแม้แต่คนที่ซื้ออาหารฟาสต์ฟู้ดที่ใส่หีบห่อเพื่อให้ดึงดูดใจ”

Matthew Brandon Rodgers เข้ามาตอบ Farid Hobeiche ว่า “แย่หน่อยนะที่ภูเขาไฟปล่อยมลพิษมากกว่านี้มาก”

Ellen Jones ตอบ Farid Hobeiche ว่า “งั้นก็แบนการใช้ฟืนในหลายประเทศที่ต้องพึ่งพามันในการสร้างความอบอุ่นด้วยสิ เพราะมันสร้างมลพิษทางอากาศเหมือนกัน” ส่วน Greg Bown โต้ว่า “ห้องแอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นเซิร์ฟเวอร์เก็บคลิปนี้ในเฟซบุ๊คสร้างมลพิษให้โลกมากกว่าสิ่งนั้นอีกเพื่อน”

Kongmeng Vaj ตอบกลับ Farid Hobeiche ว่า “มลพิษงั้นเหรอ เคยเห็นมั้ยว่าที่สหรัฐแย่แค่ไหน ทุกๆ วันที่ 4 ก.ค. (วันชาติสหรัฐ) เมืองที่ผมอยู่เต็มไปด้วยหมอกควัน และไม่ใช่แค่หมอกควันเท่านั้นนะ ยังมีควันจากพลุด้วย นี่แค่25% ของที่เราเจอในสหรัฐ”

Shaun Espiritu ตอบกลับ Farid Hobeiche ว่า “ผู้ชายคนนี้เชียร์การปล่อยจรวดของ SpaceX อาทิตย์ละ 2 ครั้ง”

Dave Baker คอมเม้นต์ว่า “ถึงพวกนักสิ่งแวดล้อมทุกๆ คนที่เห็นแต่มลพิษ ไปหาอะไรอย่างอื่นทำซะบ้างนะ มันโคตรสนุกอ่ะ”

และยังมี Phachara Phankhun ซึ่งเป็นคนไทยเข้าไปอธิบายไว้ว่า “เพื่อให้ทุกๆ คนเข้าใจนะ นี่คือเทศกาลจรวด (บุญบั้งไฟ) ในภาคอีสานของไทยและลาว ซึ่งชาวบ้านจะผลิตบั้งไฟและยิงขึ้นฟ้า เพื่อขอฝนจากพญาแถน (เทพยดาของชาวไต) ในช่วงกลางเดือน พ.ค.ของทุกปี และในคลิปนี้คือประเภทหนึ่งของบั้งไฟซึ่งเรียกว่า ตะไล”

Edwin Solis ตอบคอมเม้นต์ของคนไทยรายนี้ว่า “แล้วมีบั้งไฟป้องกันฝนตกมั้ย เพราะที่ฟิลิปปินส์นี่ถ้าฝนตกหนักทีไรน้ำท่วมทุกที” และ Hon Kweku Lawrence ตอบกลับว่า “ผมชอบมันมาก และอยากนำวัฒนธรรมนี้ไปบ้านเกิดผมบ้าง”

Rupesh Acharya บอกว่า “ผู้คนที่นี่คร่ำครวญถึงมลพิษทางอากาศ ผมเดาว่าคุณปั่นจักรยานและไม่ขับรถยนต์ และคนคนเดียวกันนี้ยังส่งเสียงเชียร์ตอน SpaceX ปล่อยจรวดอาทิตย์ละ 2 ครั้ง”

Brian Natividad คอมเม้นต์ว่า “ไม่ปลอดภัยมากๆ มลพิษก็เยอะ ในเราอยู่ในทศวรรษ 1800 เหรอ”

Thaier Siam บอกว่า “ใช่ ก็เหมือนกับที่มันออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ และอื่นๆ ในประเทศเรานั่นแหละ ใครสนล่ะ”

Mohammad Khalid Farahi บอกว่า “ขอให้สนุกกับโชว์ปล่อยมลพิษ” ซึ่ง Audrey Marcel Lemieuxเข้ามาตอบกลับว่า “ใช่ ผมสงสัยว่ามันไม่ใช่มลพิษเดียวกับที่ปล่อยออกมาวันที่ 4 ก.ค. หรือ 1 ม.ค.หรอกเหรอ”

Anas Mustapha โต้กลับ Mohammad Khalid Farahi ว่า “งั้นก็อย่าใส่เสื้อผ้าสิ โรงงานก็สร้างมลพิษเหมือนกัน…อย่าใช้ยานพาหนะไม่ว่าชนิดไหน เพราะโรงงานก็สร้างมลพิษเช่นกัน คุณควรจะเปลือยกายและเดินเท้าเปล่านะ”

Tom Scotland เล่าว่า “ผมเคยไปอยู่ต่างจังหวัดของไทย ยโสธร เทศกาลนี้เรียกว่าบุญบั้งไฟ และชาวนาทำเพื่อขอฝน รางวัลเป็นของบั้งไฟที่ขึ้นสูงที่สุด ทุกคนเมาหัวราน้ำ 3 วัน 3 คืน เป็นประสบการณ์ที่เยี่ยมมาก”

Marian Dickson บอกว่า “โอ้มายก็อด ตอนแรกคิดว่าเกิดความผิดพลาด สร้างสรรค์มาก ติดต่อ อีลอน มัสก์ สิ ผมมั่นใจว่าเขาต้องชอบไอเดียคุณแน่”

Ron Brenneman บอกว่า “ตลกสิ้นดี มลพิษมันเกิดขึ้นเฉพาะตอนที่มองเห็นด้วยตาเท่านั้นเหรอ การจุดพลุในเมืองใหญ่ๆ ไม่เห็นมีใคนพูดเรื่องมลพิษทางอากาศ เห็นแต่บอกว่ามันสวยดี งั้นอะไรที่ไม่เห็นคือมันไม่มีอยู่งั้นเหรอ”That’s funny air pollution

Christian Feliberty คอมเม้นต์ว่า “ร่มชูชีพตอนจบน่ารักมาก แต่จะดีกว่านี้ถ้ามันระเบิดออกมาเป็นพลุ นั่นคือสิ่งที่ผมคาดหวังว่าจะได้เห็น”

Aaron Mumba บอกว่า “ไม่แปลกใจที่เราหยุดโลกร้อนไม่ได้” ซึ่ง Charles Frazier ตอบกลับผู้ใช้รายนี้ว่า “พลุวันชาติสหรัฐกระทบกับภาวะโลกร้อนมั้ย หาอย่างอื่นทำบ่างก็ดีนะเพื่อน”

Laurie Sagullo ชมว่า “มันเจ๋งมากที่ขึ้นไปได้สูงขนาดนั้นแล้วหมุนเป็นวงกลม แล้วปล่อยร่มชูชีพก่อนกลับสู่พื้นดิน เยี่ยมมาก!”

ส่วนอีกคลิปหนึ่งซึ่งเป็นการแข่งเรือหางยาวที่ปล่อยควันออกมาคล้ายๆ กับกรณีของบั้งไฟก็มีการถกเถียงกันเรื่องมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน อาทิ Jo-a Kim บอกว่า “ควันดำกับเสียงดังสนั่นในธรรมชาติที่สวยงาม นี่คือสิ่งที่เราต้องการตอนนี้เหรอ”

Glenn Ellis บอกว่า “พวกเขาควรนำเชื้อเพลิงไปใช้กับสิ่งที่มีประสิทธิภาพ สะอาด และยังรวดเร็วอยู่ การเคลื่อนที่ได้เร็วแต่ยังปล่อยควันดำมันเหมือนกับย้อนไปศตวรรษที่ 19 น่าเศร้าใจที่หลายคนยังยอมรับและคิดว่ามันเจ๋งอยู่”

Keith Martin บอกว่า “พวกเขาไม่ได้ทำอะไรเพื่อปกป้องไม่ให้มลพิษไปถึงชั้นโอโซนเลย มีแต่ปล่อยควันดำๆ นั่นออกมา” ซึ่ง Gavin Rogers เข้ามาตอบกลับว่า “คุณสร้างความเสียหายให้โอโซนมากกว่าคนเหล่านี้ 100 เท่าแน่นอน ผมไม่แน่ใจว่าคนเหล่านี้จะเคยขึ้นเครื่องบินที่ผลาญน้ำมันหลายแกลลอนต่อเมตรหรือเปล่า คุณมาโวยกับการปล่อยควันจากเครื่องดีเซลเล็กๆ น้อยๆ แค่นี้เนี่ยนะ”

Kiyan Naavid-Harchegani บอกว่า “เครื่องบิน 747 ที่แตะระดับความสูงผลาญน้ำมัน 10,000 ปอนด์ต่อชั่วโมง” ซึ่ง Keith Martin เข้ามาตอบกลับผู้ใช้รายนี้ว่า “ควันไหนๆ ที่ลอยไปถึงโอโซนก็แย่ทั้งนั้นแหละ ไม่ว่าจะจากเรือหรือเครื่องบิน และในขณะที่พวกเราพยายามลดการปล่อย แต่คนพวกนี้ไม่ได้สนใจเลย”

ภาพ: ฺBangkok Post

Motor Sport Sponsored
แข่งรถ รถแข่ง

การแข่งรถ (หรือเรียกว่าแข่งรถยนต์ หรือ รถแข่ง) เป็นมอเตอร์สปอร์ตที่เกี่ยวข้องกับการแข่งโดยใช้รถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ รถจักรยาน สำหรับการแข่งขัน

This website uses cookies.