12 มิ.ย. 2564 เวลา 5:47 น.
หนึ่งในโครงการมหาชนที่คนพูดถึงมากสุด และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้ดีพอสมควร คือโครงการ’คนละครึ่ง จึงทำให้รัฐเดินหน้าเฟสต่อไป ล่าสุดวันจันทร์ ที่ 14 มิถุนายน 2564 นี้รัฐก็จะเปิดให้ลงทะเบียนคนละครึ่งเฟส 3 ทั้งประชาชนทั่วไป และร้านค้าที่จะเข้าร่วมโรงการ เชื่อว่าหลายคนกำลังตั้งหน้าตั้งตารอเพื่อตั้งนาฬิกาปลุกขึ้นมาลงทะเบียนแข่งกับคนอื่น ๆ เพื่อไม่พลาดท่านจะต้องเช็กเงื่อนไขต่าง ๆที่ตัวเองจะเข้าร่วมให้ดีเพื่อไม่ให้ท่านพลาดสิทธิ์
สำหรับพ่อค้า แม่ขาย ผู้ประกอบการ ที่เตรียมจะลงทะเบียนคนละครึ่งเฟส 3 จะต้องรู้ 6 เงื่อนไขข้อปฏิบัติที่ควรรู้ พร้อมวิธีลงทะเบียนร้านค้าคนละครึ่ง ต้องทำอย่างไรบ้าง ? วันนี้ #SPRiNG จะพามาทบทวนความรู้อีกครั้งก่อนที่จะถึงวันลงทะเบียนจริงในเร็ว ๆ นี้ มาเริ่มกันที่ 6 ข้อควรรู้ ดังนี้
1. ผู้ประกอบการต้องไม่ถูกระงับสิทธิหรือถูกเรียกเงินคืนในมาตรการ/โครงการอื่นของรัฐ
2.ผู้ประกอบการต้องไม่เป็นฝ่าฝืนเงื่อนไขของมาตรการ/โครงการอื่นของรัฐ หรือฝ่าฝืนมาตรการใดของรัฐเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19
3. การซื้อขายสินค้า ผู้ซื้อและผู้ขายต้องซื้อขายสแกน QR Code ชำระค่าสินค้าและแบบพบหน้า ไม่ผ่านออนไลน์คนกลาง
4.ชำระค่าสินค้าที่รัฐสนับสนุนวงเงินร่วมจ่าย ไม่รวมสลากกินแบ่ง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ยาสูบ
5.ห้ามผู้ประกอบการปฏิเสธลูกค้าใช้สิทธิตามโครงการฯ หากยังมีสิทธิเหลืออยู่ เว้นแต่เป็นความผิดของลูกค้าหรือเป็นเหตุสุดวิสัย
6. ห้ามผู้ประกอบการกระทำการใด ๆ ที่สร้างความเข้าใจผิด
อย่างไรก็ตามขอย้ำอีกครั้งเรื่องคุณสมบัติร้านค้าเข้าร่วม “คนละครึ่ง เฟส 3” จะมีดังต่อไปนี้
– เป็นผู้ประกอบการร้านค้าอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าทั่วไปที่มีสัญชาติไทยและไม่ใช่นิติบุคคล
– ร้านค้าของกองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมืองตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2557
– ร้านค้าของวิสาหกิจชุมชนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– ร้านค้าธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น
– ต้องไม่เป็นร้านค้าที่มีลักษณะเป็นร้านสะดวกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์
– ต้องมีการประกอบการที่สามารถตรวจสอบได้ (ผู้ประกอบการร้านค้า)
– เป็นผู้ประกอบการบริการที่มีสัญชาติไทยและไม่ใช่นิติบุคคล
– เป็นผู้ประกอบการด้านขนส่งสาธารณะที่มีสัญชาติไทยและไม่ใช่นิติบุคคล ต้องเป็นผู้ประกอบการประเภทรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (TAXI – METER) รถตู้โดยสารประจำทางที่ จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย รถยนต์สามล้อสาธารณะ รถสองแถวรับจ้าง และรถจักรยานยนต์สาธารณะ
– ผู้ขับขี่ต้องมีใบขับขี่รถสาธารณะที่ถูกต้องตามกฎหมาย (ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะ)
– เป็นผู้ประกอบการประเภทบริการด้านขนส่งมวลชนสาธารณะ ได้แก่ รถไฟฟ้าในเขตเมือง รถไฟ รถโดยสารประจำทางสาธารณะ และเรือโดยสารสาธารณะ (ผู้ประกอบการขนส่งมวลชนสาธารณะ)
This website uses cookies.