เมื่อวันที่ 5 เม.ย.2564 นายรัชนัย เปรมปราคิน หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์ รักษาการในตําแหน่งผู้อํานวยการกองประชาสัมพันธ์ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ชี้แจงถึงกรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) กำลังพิจารณาเตรียมแก้ไขระเบียบกฎกระทรวงที่ออกตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 เพื่อปรับลดอัตราความเร็วสูงสุดบนทางด่วนให้เหลือไม่เกิน 100 กม./ชม.จากเดิมไม่เกิน 120 กม./ชม. เพื่อเร่งลดอุบัติเหตุและจับกุมนักแข่งรถยนต์บนทางด่วน ดังความละเอียดแจ้งแล้วนั้น
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม ขอชี้แจงข้อเท็จจริงว่า พ.ร.บ.การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ.2550 (มาตรา 42) กำหนดให้นำพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาใช้บังคับแก่การจราจรในทางพิเศษโดยอนุโลม โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย และให้นำกฎกระทรวง ออกตามพ.ร.บ.จราจรทางบก ที่กำหนดความเร็วสำหรับรถมาใช้บังคับในทางพิเศษด้วย โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ว่า ปกติในเขตเมือง จำกัดความเร็วรถทั่วไปไม่เกิน 80 กม./ชม. สำหรับนอกเขตเมือง จำกัดความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. ซึ่งดุลพินิจการบังคับใช้ รวมทั้งการเปรียบเทียบปรับ เป็นอำนาจ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ปัจจุบัน สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีแนวคิดจะปรับปรุงกฎหมายความเร็วของรถยนต์เพิ่มขึ้น ให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงความเร็วบนทางพิเศษด้วย โดยพิจารณาจากข้อมูลความสามารถและมาตรฐานของทาง ที่จะรองรับความเร็วได้อย่างปลอดภัย ณ ช่วงเวลาออกแบบ เช่น ความกว้างไหล่ทางซ้าย-ขวา ความกว้างช่องจราจร ลักษณะเกาะกลาง กำแพงกันตก ฯลฯ
ดังนั้น ในร่างกฎกระทรวงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติล่าสุด การกำหนดความเร็วบนทางพิเศษ จะแบ่งตามลักษณะของทาง กล่าวคือ ทางยกระดับ จำกัดความเร็วไม่เกิน 100 กม./ชม. ทางพื้นราบ จำกัดความเร็วไม่เกิน 110 กม./ชม.
จะเห็นได้ว่า การปรับปรุงกฎหมายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ได้ทำให้การบังคับใช้ความเร็วในทางพิเศษลดต่ำลง แต่กลับเป็นการเพิ่มความเร็วขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้ หลักการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ไม่ได้ขัดหรือแย้งกับการเพิ่มความเร็วตามกฎหมายทางหลวง แต่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
As part of their spo…
This website uses cookies.