เดลิเวอรี่ (Delivery) เข้ามามีบทบาทสำคัญธุรกิจร้านอาหารมูลค่าหลานแสนล้านบาทของไทยเป็นอย่างมากในช่วงการระบาดของโควิด -19 ที่ผ่านมา และแม้หลังสถานการณ์โควิดผ่านพ้นไป การเติบโตของธุรกิจเดลิเวอรี่จะไม่เติบโตหวือหวาเหมือนช่วงที่ผ่านมา แต่หลังการล็อคดาวน์เป็นเวลานาน ทำผู้บริโภคต้องคุ้นชินและต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น ขณะเดรียวกันก็ถนัดและเชี่ยวชาญการใช้ Social Media เพื่อสั่งงานและสั่งสินค้ามากขึ้น นั่นคือปัจจัยที่ทำให้ “Delivery” ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจร้านอาหารยุคใหม่อยู่
ไมเนอร์ ฟู้ด (Minor Food) ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจร้านอาหารเมืองไทย ที่เร่งเครื่องพัฒนาบริการเดลิเวอรี่ออกมารองรับความต้องการของลูกค้า ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยอาศัยความได้เปรียบของสาขาที่มีอยู่ทั่วประเทศ แบรนด์ในเครือที่หลากหลาย เข้ามาเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาแพลตฟอร์มบริการเดลิเวอรี่ ที่ต่อยอดความเชี่ยวชาญของทางเครือฯ หลังเป็นผู้ริเริ่ม บริการ “1112Delivery” ด้วยการส่งอาหารในเครือไปยังลูกค้าผ่านสายด่วน 1112 เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา
ตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา “ไมเนอร์ ฟู้ด” ได้ยกเครื่องแอปพลิเคชัน “1112Delivery” ที่รวมการจัดส่งอาหาร 7 แบรนด์ดังของทางค่าย อย่าง The Pizza Company, BurgerKing, Sizzler, The Coffee Club, ThaiXpress, Swensens และ Dairy Queen รองรับบริการที่หลากหลายขึ้น ซึ่งตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไมเนอร์ฟู้ด ขยายบริการเดลิเวอรี่ครอบคลุมไปแล้ว 75 จังหวัด มีสมาชิกดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นไปแล้ว กว่า 2.5 ล้านราย (สิงหาคม 2565) มียอดผู้ใช้บริการ Active มากกว่า 60% จวบจนปัจจุบันหลังการระบาดของโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย แม้การเติบโตของบริการเดลิเวอรี่จะไม่ก้าวกระโดดเหมือนช่วง 2 ปีผ่านมา แต่จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคทำให้เดลิเวอรี่ยังได้รับความนิยมในระยะยาว
ทั้งนี้จากข้อมูลของไมเนอร์ ฟู้ด พบว่า อดีตผู้ใช้บริการแอปฯ จะมีอายุเฉลี่ย 35 ปีขึ้นไป แต่ขณะนี้มีลูกค้ากลุ่มอายุเฉลี่ย 25-34 ปีเพิ่มขึ้นเป็นการได้ฐานลูกค้าใหม่ๆ เพิ่ม โดยมีเพศหญิงใช้บริการแอปฯ มากกว่า 67% และเพศชาย 33% ทำเลที่ใช้บริการอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมากถึง 80% และต่างจังหวัด 20%
ภายใต้การนำทัพของ “คุณธันยเชษฐ์ เอกเวชวิท” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการคนใหม่ของ บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้รูปแบบการรับประทานในร้าน Dine-in จะเพิ่มมากขึ้นหลังการคลายล็อก แต่พฤติกรรมการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปฃงไป นิยมสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นมากขึ้น ทำให้บริษัทยังคงเดินหน้าพัฒนาแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับบริการ ภายใต้โจทย์ที่ว่าจะทำอย่างไร ให้ลูกค้าเลือกสั่งอาหารโดยตรงจาก “1112 Delivery” ซึ่งคำตอบที่ได้ก็คือ เราต้องเพิ่มโปรโมชั่น และ Benefit ให้แก่ลูกค้าได้เห็นทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาไปเปรียบเทียบกับแพลตฟอร์มอื่น
ท่ามกลางความท้าทายของการแข่งขันในตลาดเดลิเวอรี่มูลค่ากว่า 79,000 ล้านบาท มีแนวโน้มว่าในปีนี้จะเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 5% ที่ยังคงระอุอย่างต่อเนื่องมีคู่แข่งที่เป็น Food Aggregator หลักอย่าง LINE Man, GrabFood ,Robinhood หรือแม้กระทั่งแพลตฟอร์มอย่าง Shopee ที่หันมารุกบริการส่งอาหาร ฯลฯ กลายเป็นความท้าทายอีกครั้งของ “ไมเนอร์ ฟู้ด”ที่ต้องรับมือ
ในปี 2562 พบว่าแอพลิเคชั่น “1112 Delivery” มีการเติบโตมากถึง 178% ในช่วงโควิด-19 ระบาดหนัก จากปกติจะเติบโตที่ 50% กว่า ซึ่งเป็นตัวเลขที่เราพอใจเป็นอย่างมาก ซึ่งหลังจากนี้แม้แนวโน้มการเติบโตจะลดลง แต่คาดว่าในปี 2565 นี้ดีลิเวอรีของไมเนอร์ก็ยังคงเติบโตที่ 56% ส่วนปี 2566 คาดว่ายังคงเติบโตในระดับใกล้เคียงกันที่ 50% นั่นทำให้เรายังคงผลักดันแอพพลิเคชั่นเพื่อรองรับความต้องการอย่างต่อเนื่อง
ทำให้แผนงานหลักของ การเพิ่มบริการและ offer โปรโมชั่นแคมเปญต่างๆเพื่อตอบโจทย์มากยิ่งขึ้น ในการดึงลูกค้าถึงต้องสั่งหรือใช้บริการ Food Delivery จาก “1112 Delivery” ของทางไมเนอร์ฟู้ดเป็นหลัก โดยกลยุทธ์หลักเพื่อตอกย้ำความคุ้มค่าของ 1112 Delivery มีหัวใจหลักใน 3 แกนหลักเน้นย้ำในเรื่องของการให้บริการที่ ดีที่สุดเรื่องของประสบการณ์ในการสั่งอาหารจากทางบริษัทโดยตรง
1. การเป็น “Best Deal” ในการนำเสนอสินค้าและบริการที่ให้ลูกค้าได้รับความคุ้มค่าสูงสุด ที่มีราคาถูกกว่า platform อื่นๆ 10-15% โดยมาพร้อมกับการเปิดตัวแคมเปญ ‘Best Price รับประกัน ราคาดีที่สุด’ เข้ามาเป็นกิจกรรมส่งเสริมการตลาดที่ออกมากระตุ้นตลาดดีลิเวอรี และเป็นเจ้าแรกเจ้าเดียวในไทยให้ผู้บริโภคได้มั่นใจว่าจะได้รับดีลราคาที่ดีที่สุด เป็นการรับประกันราคาที่ดีที่สุด ซึ่งจะทำให้สินค้าต่างๆที่อยู่ภายในแพลตฟอร์มของทางค่ายมีราคาและโปรโมชั่นพิเศษ จัดเต็มกว่า Food Aggregator รายอื่นๆ
2. Best service สร้างบริการที่ดีของผู้บริโภค ผ่านระยะเวลาการรออาหารที่ต้องไม่เกิน 30 นาที โดยเอาเรื่องของสปีด และการมีสาขาในเครือกว่า 1,500 แห่งมาเป็นจุดแข็งในการจัดส่ง ด้วยการการันตีเวลาจัดส่ง 30 นาที โดยเฟสแรกจะทำกับแบรนด์ The Pizza Company และจะติดต่อไปจะทำกับทุกแบรนด์ในเครือทั้งหมด สร้างความเชื่อมั่นตามที่การันตี แต่หากเลยระยะเวลาจัดส่งจะมีการมอบส่วนลดหรือ Voucher ให้แก่ลูกค้าเป็นการทดแทน
3.Best Quality เรื่องของคุณภาพอาหาร กับนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่เก็บความร้อนที่มีแผ่นทำความร้อน หรือ Heat Plate ควบคุมอุณหภูมิของอาหาร หากเป็นอาหารรก็จะร้อนจนถึงมือลูกค้า และหากเป็นกลุ่มไอศกรีมก็จะเย็นจนถึงมือลูกค้าแบบไม่ละลาย ตอกย้ำในเรื่องของคุณภาพอาหารภายใต้ปรัชญาการทำงานของไมเนอร์ฟู้ดท
ขณะที่อีกหนึ่งคีย์สำคัญที่ “ไมเนอร์ ฟู้ด” ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อน “1112 Delivery” นำมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า E- Bike เข้ามาใช้ในการบริการส่งอาหารเมื่อช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา นำร่องที่แบรนด์เดอะ พิซซ่า คอมปะนี หรือการก้าวสู่ความเป็น “Green Delivery” โดยระยะแรกเริ่มต้นในโซนกรุงเทพมหานคร ซึ่งในอนาคตมีแผนเตรียมขยายปริมาณรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้บริการที่ครอบคลุมทุกพื้นที่มากขึ้น โดยจะช่วยตอบโจทย์การให้บริการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้เพื่อเป็นการดึงดูดไรเดอร์ ให้เข้ามาร่วมงาน จากเดิมที่ไรเดอร์อาจจะต้องใช้เงินเติมน้ำมันเติมน้ำมันสูงถึง 120-130 บาทต่อวัน (ช่วงสถานการณ์นำมันแพง) ซึ่งการใช้ E- Bike จะทำให้มีต้นทุนค่าน้ำมันเพียงวันละ 20-30 บาทโดยเฉลี่ย โดยวางเป้าหมายการใช้ E-Bike จะต้องครอบคลุม 80% ในปี 2565 ซึ่งจะสามารถส่งฟรีได้ในระยะ 3 กิโลเมตรแรก ขณะที่ระยะถัดไปจะมีอัตราค่าส่งอยู่ที่ 19 ถึง 49 บาท นับเป็นอีกหนึ่งจุดแข็งในเรื่องของค่าส่งราคาประหยัดที่ไมเนอร์ฯ ใช้ในการดึงลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการ
นอกจากจะเป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้เหล่าไรเดอร์แล้ว ยังเป็นการรับมือกับต้นทุนที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมาทั้งเรื่องของวัตถุดิบและน้ำมันส่งผลกระทบต้นทุนรวมของบริษัทไปแล้วกว่า 7-8% หลังช่วงที่ผ่านมาแม้วัตถุดิบของบริษัทจะไม่ได้รับผลกระทบ แต่มีการปรับขึ้นราคาอาหารในบางแบรนด์ไปแล้ว 3-5% โดยปัจจุบันบริษัท มีไรเดอร์รวมมากกว่า 5,000 ราย แบ่งเป็นของบริษัทไมเนอร์ และไรเดอร์พันธมิตร อย่างละ 50:50
สำหรับการเดินหน้ารุกบริการเดลิเวอรี่ของ ” ไมเนอร์ ฟู้ด” ไม่ใช่แค่ตอบโจทย์การสั่งซื้อและบริการจัดส่งเท่านั้น หากแต่ยังเป็นการสร้าง Ecosystem ของร้านอาหารในเครือให้แข็งแกร่ง รองรับบริการทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่
1.พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปเราจะเห็นลูกค้ามีความก้าวสู่ยุคของ Super Convenient ไม่ใช่เฉพาะ Food อย่างเดียวแต่แม้แต่ คอนวีเนียนสโตร์ หรือ Supermarket ก็มีการนำรูปแบบ delivery เข้ามาใช้ ถือว่าเป็น New Normal ของพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งกลุ่มนี้จะมีความต้องการความรวดเร็วสะดวกสบายอยู่แล้ว เป็นการตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มดังกล่าวจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปและมี demand เพิ่มมากขึ้นที่เราต้องเจาะให้ได้
2.เป็นการเติมจุดแข็งของ “ไมเนอร์ ฟู้ด” หลังจากทำธุรกิจ Delivery มานาน ด้วยการอาศัยประสบการณ์และ Know How ที่มีอยู่ และจุดแข็งกันมีเครือข่ายร้านค้ากว่า 1500 สาขา ในไทย สร้างเครือข่ายเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจ Delivery และบริการที่มีคุณภาพได้ดีรับเทรนด์อนาคต
3. ต่อยอดธุรกิจในอนาคตของ “ไมเนอร์ ฟู้ด” ที่มากกว่าเรื่องของพฤติกรรมผู้บริโภคแต่ยังเป็นเรื่องของการนำ data base มาวิเคราะห์และทำ Personalize Offer เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ไม่ใช่แค่บริการ delivery แต่ยังเป็นการต่อยอดบริการ O2O ให้กับร้านค้าในเครือ โดยต่อไปในอนาคตแพลตฟอร์ม 1112 จะไม่ได้ตอบโจทย์แค่ delivery แต่ยังเป็นแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ Personalized Experience ให้กับลูกค้าทั้งออนไลน์และออฟไลน์
อย่างไรก็ตามบริษัทวางเป้าหมายยอดขายจากเดลิเวอรี่ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง จะผลักดันยอดขายรวมของบริษัทให้เติบโตขึ้น 30% โดยสัดส่วนรายได้ของไมเนอร์ฟู้ด ในช่วงก่อนเกิดโควิดจะแบ่งเป็น นั่งรับประทานในร้าน 60%, ดีลิเวอรี 15% และซื้อกลับบ้าน Take Away 30% ส่วนหลังสถานการณ์โควิดพบว่าสัดส่วนเปลี่ยนเป็นนั่งรับประทานในร้านอยู่ที่ 40%, เดลิเวอรี 30% และ ซื้อกลับบ้าน Take Away 30%
เครือไมเนอร์ฯ เริ่มต้น Green Delivery ส่งอาหารด้วย ‘รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า’ ด้วยแบรนด์ The Pizza Company
This website uses cookies.