Motor Sport Sponsored

3 ข้อเสนอ สรท.ปลุกส่งออก ดันไทยฮับเรือแม่

Motor Sport Sponsored
Motor Sport Sponsored

3 ข้อเสนอ สรท.ปลุกส่งออก ดันไทยฮับเรือแม่

หมายเหตุนายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) แถลงข่าว สถานการณ์ส่งออกเดือนกันยายน ประจำเดือนตุลาคม 2565 ผ่านช่องทาง Google Hangouts meet เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน

ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนกันยายน 2565 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่าการส่งออกมีมูลค่า 24,919 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 7.8% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 888,371 ล้านบาท ขยายตัว16.4% เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัยพบว่าการส่งออกในเดือนกันยายนขยายตัว 9.0% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 25,772 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 15.6% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 929,732 ล้านบาท ขยายตัว 24.7% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนกันยายน 2565 ขาดดุลเท่ากับ 853 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับ 41,361 ล้านบาท

สำหรับภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนมกราคม-กันยายน 2565 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พบว่าไทยส่งออกรวมมูลค่า 221,366 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 10.6% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 7,523,817 ล้านบาท ขยายตัว 21.3% เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในช่วงมกราคม-กันยายนขยายตัว 8.6% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 236,351 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 20.7% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 8,148,602 ล้านบาท ขยายตัว 32.3% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมกราคม-กันยายนของปี 2565 ขาดดุลเท่ากับ 14,984 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 624,785 ล้านบาท

ขณะที่การส่งออกรายกลุ่มสินค้าประจำเดือนกันยายน เทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อน พบว่ากลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัว 1.8% โดยสินค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และไก่แปรรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ข้าว อาหารสัตว์เลี้ยง น้ำตาลทราย ผลไม้แช่แข็งและผลไม้แห้ง และไอศกรีม ในทางกลับกันสินค้าที่หดตัว ได้แก่ ยางพารา และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 9.4% โดยสินค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์ และส่วนประกอบ เครื่องใช้สำหรับเดือนทาง ในขณะที่สินค้าที่หดตัว ได้แก่ สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันและเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้ สรท.คาดการณ์การส่งออกรวมในปี 2565 อยู่ที่ 8-9% และคาดการณ์การส่งออกในปี 2566 จะอยู่ที่ 2-5% (ณ เดือนพฤศจิกายน 2565) ที่ประเมินว่าการส่งออกในปี 2565 มีความเป็นไปได้ที่จะเติบโต 9% นั้น เพราะมีความเป็นไปได้ที่ไตรมาสที่ 4/2565 การส่งออกจะเติบโต 5% แต่จะไปถึง 10% ได้หรือไม่นั้น มองว่าโอกาสเป็นไปได้ปานกลางถึงน้อย เนื่องจากปัจจัยบวกทั้งในเรื่องของการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ และวัตถุดิบต่างๆ ยังไม่มากพอ

อ่านข่าวอื่น

  • ทีเอ็มบีธนชาต เช็กย้อนหลังบัญชี ‘ป้า 59’ ชี้ถอนเงินไปแล้ว ตั้งแต่ธนาคารเดิมยังไม่ปิด
  • ‘ออมสิน’ จัดหนัก! เปิดฝากเงินไว้ใช้ในยามเกษียณ ดอกเบี้ยสูงสุด 10% เปิดจองสิทธิแล้ววันนี้ (คลิกที่นี่)
  • ประกาศแล้ว! กฎกระทรวง คลายล็อก ‘การผลิตสุรา’ มีผลพรุ่งนี้
  • ราคาน้ำมันวันนี้ (2พ.ย.65) เช็กดีเซล-กลุ่มเบนซิน จากทุกปั๊มหลักทั่วประเทศ

ในส่วนของปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญในปี 2565 ได้แก่ 1.สถานการณ์อัตราเงินเฟ้อของประเทศคู่ค้าสำคัญ มีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางทั่วโลกดำเนินนโยบายทางการเงินแบบเข้มงวดเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ส่งผลทำให้อุปสงค์และกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอลง เนื่องจากต้นทุนทางการเงินปรับสูงขึ้นตามทิศทางดอกเบี้ย และค่าเงินเหรียญสหรัฐมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น จากเงินทุนที่มีแนวโน้มจะเคลื่อนย้ายไหลเข้าสหรัฐ เนื่องจากดอกเบี้ยปรับสูงขึ้น 2.ดัชนีภาคการผลิต ในประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ สหรัฐ ยุโรป จีน และเกาหลีใต้ เริ่มส่งสัญญาณหดตัวลดลงเล็กน้อยในช่วงเดือนกันยายนและตุลาคม

3.ราคาพลังงานทรงตัวในระดับสูง จากสถานการณ์ข้อพิพาทระหว่างยูเครนและรัสเซียที่ยังคงยืดเยื้อ ประกอบกับราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากสมาชิกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน โอเปคพลัส (OPEC+) เล็งปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน ส่งผลต่อเนื่องถึงต้นทุนภาคการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและต้นทุนในการดำรงชีวิตภาคครัวเรือน ปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง 4.ปัญหาต้นทุนวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน อาทิ ข้าวสาลี ข้าวโพด เมล็ดทานตะวัน ปุ๋ย เป็นต้น 5.สถานการณ์การขาดแคลนชิปเริ่มคลี่คลายในช่วงเดือนที่ผ่านมาแต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการในภาคการผลิตที่มีชิปเป็นส่วนประกอบสำคัญ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ เป็นต้น ประกอบกับกฎหมาย CHIPS and Science Act of 2022 ของสหรัฐ กดดันจีนต่อห่วงโซ่อุปทานการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ขั้นสูงในอนาคต

ขณะเดียวกัน ในเรื่องของสถานการณ์ค่าเงินบาทในเดือนตุลาคม 2565 มีการเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่าต่อเนื่องจากเดือนที่แล้ว ก่อนที่จะกลับเคลื่อนไหวทรงตัวในสัปดาห์สุดท้าย กรอบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีการเคลื่อนไหวที่ 37.34-38.44 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เนื่องจากสาเหตุสำคัญ ได้แก่ 1.การปรับเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (บอนด์ยีลด์) นักลงทุนจึงหันไปลงทุนในบอนด์ยีลด์ของประเทศสหรัฐ เพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อปริมาณเงินทุนในระบบ และเมื่ออุปสงค์ของค่าเงินบาทปรับตัวลดลง ค่าเงินบาทในเดือนตุลาคมจึงเคลื่อนไหวอ่อนค่าต่อเนื่องอย่างเห็นได้ชัด 2.อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐ ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในเดือนพฤศจิกายนนี้ อย่างไรก็ตาม กลุ่มนักลงทุนรอติดตามเพื่อประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจและตัดสินใจลงทุนในระยะต่อไป ส่งผลให้นักลงทุนลดการถือครองสกุลเงินดอลลาร์ลง ทั้งนี้ หากสถานการณ์อัตราเงินเฟ้อโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสำคัญ อาทิ สหรัฐ ยุโรป ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศยังมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินนโยบายทางการเงินแบบเข้มงวดต่อไป และปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในอัตราสูง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องให้อัตราการตอบแทนของสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ อาทิ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า อุปสงค์ของค่าเงินบาทจึงมีความเสี่ยงที่จะลดต่ำลง คาดว่าเงินบาทอาจจะยังคงมีแนวโน้มปรับตัวในทิศทางที่อ่อนค่าต่อไปอีกสักระยะ และไม่ปรับตัวแข็งค่าเพียงในระยะเวลาสั้นๆ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่งออกยังคงต้องเฝ้าติดตามปริมาณเงินทุนในระบบ รวมทั้งสถานการณ์ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ทำให้เงินบาทอาจยังไม่สามารถแข็งค่าไปมากได้ในระยะสั้น หากยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆ เข้ามาสนับสนุน ดังนั้นผู้ประกอบการควรใช้กลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลาย พร้อมทั้งวางแผนให้มีความรัดกุมมากขึ้น

ส่วนสถานการณ์อัตราค่าระวางจากเอเชียไปยังตลาดสำคัญในเดือนตุลาคม พบว่าอัตราค่าระวางปรับลดลงในหลายเส้นทาง โดยจากข้อมูล Shanghai Containerized Freight Index (SCFI) เส้นทางที่ค่าระวางปรับลดลง ได้แก่ เส้นทางเอเชีย-ทวีปยุโรป มีอัตราค่าระวางอยู่ที่ 2,379 เหรียญสหรัฐ ต่อตู้ 20 ฟุต ลดลง 571 เหรียญสหรัฐ เส้นทางเอเชีย-ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ค่าระวางอยู่ที่ 2,568 เหรียญสหรัฐ ต่อตู้ 20 ฟุต ลดลง 431 เหรียญสหรัฐ เส้นทางเอเชียส่วนที่เป็นชายฝั่งด้านตะวันตกของสหรัฐ อยู่ที่ 2,029 เหรียญสหรัฐ ต่อตู้ 40 ฟุตลดลง 370 เหรียญสหรัฐ, เส้นทางเอเชีย-ฝั่งทะเลด้านตะวันออกของสหรัฐ อัตราค่าระวางอยู่ที่ 5,639 เหรียญสหรัฐ ต่อตู้ 40 ฟุต ลดลง 520 เหรียญสหรัฐ

เส้นทางเอเชีย-Australia/New Zealand ค่าระวางอยู่ที่ 1,498 เหรียญสหรัฐ ต่อตู้ 20 ฟุตลดลง 352 เหรียญสหรัฐ เส้นทางเอเชีย-แอฟริกาตะวันออกและตะวันตก อัตราค่าระวางอยู่ที่ 4,771 เหรียญสหรัฐ ต่อตู้ 20 ฟุต ลดลง 40 เหรียญสหรัฐ เส้นทางเอเชีย-แอฟริกาใต้ ค่าระวางอยู่ที่ 4,376 เหรียญสหรัฐ ต่อตู้ 20 ฟุตลดลง 31 เหรียญสหรัฐ รวมถึงเส้นทาง East Japan ค่าระวางอยู่ที่ 298 เหรียญสหรัฐ ต่อตู้ 20 ฟุต ลดลง 3 เหรียญสหรัฐ และเส้นทางนครปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี ค่าระวางอยู่ที่ 255 เหรียญสหรัฐ ต่อตู้ 20 ฟุต ลดลง 7 เหรียญสหรัฐ ส่วนเส้นทางที่อัตราค่าระวางปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ เส้นทางเอเชีย-ทะเลแดง (Persian Gulf and Red Sea) อัตราค่าระวางอยู่ที่ 1,451 เหรียญสหรัฐ ต่อตู้ 20 ฟุต เพิ่มขึ้น 539 เหรียญสหรัฐ เส้นทางเอเชีย-ทวีปอเมริกาใต้ ค่าระวางอยู่ที่ 5,059 เหรียญสหรัฐ ต่อตู้20 ฟุต เพิ่มขึ้น 34 เหรียญสหรัฐ รวมถึงเส้นทางญี่ปุ่นตะวันตก ค่าระวางอยู่ที่ 323 เหรียญสหรัฐ ต่อตู้ 20 ฟุต เพิ่มขึ้น 12 เหรียญสหรัฐ และเส้นทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ค่าระวางอยู่ที่352 เหรียญสหรัฐ ต่อตู้ 20 ฟุต เพิ่มขึ้น 4 เหรียญสหรัฐ

นอกจากนี้ สรท. มีข้อเสนอแนะที่สำคัญประกอบด้วย 1.เร่งดำเนินการความตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ที่สำคัญ อาทิ ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) และไทย-ประเทศสหราชอาณาจักร (ยูเค) และตลาดรองอื่น เพื่อเสริมศักยภาพด้านการแข่งขันภาคส่งออกและดึงดูดการลงทุนเข้ามาในประเทศในระยะยาว 2.ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย รักษาระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อประคองการฟื้นตัวภาคธุรกิจและไม่เป็นการซ้ำเติมรายจ่ายของผู้บริโภคและต้นทุนของผู้ประกอบการมากเกินไป3.ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายลำ รวมถึงเร่งทำความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ชัดเจน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) การรับส่งสินค้าของอาเซียน เพื่อดึงดูดเรือแม่เข้ามาให้บริการแบบ Direct Call มากขึ้น

ผู้ประกอบการไทยสามารถบริหารจัดการต้นทุนค่าระวางเรือให้อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในต่างประเทศได้

Motor Sport Sponsored
แข่งรถ รถแข่ง

การแข่งรถ (หรือเรียกว่าแข่งรถยนต์ หรือ รถแข่ง) เป็นมอเตอร์สปอร์ตที่เกี่ยวข้องกับการแข่งโดยใช้รถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ รถจักรยาน สำหรับการแข่งขัน

This website uses cookies.