โบรกมองหุ้นไฟแนนซ์กระทบจำกัด หลังธปท.-แบงก์ออกมาตรการอุ้มลูกหนี้รายย่อย เชียร์ MTC-SAWAD รับอานิสงส์เปิดเทอม-ฤดูกาลเพาะปลูก
ผลกระทบโควิด-19 ระลอก 3 ที่ยังขยายวงกว้างและทวีความรุนแรงมากขึ้นกระทบต่อภาคบริการ ท่องเที่ยว โดยเฉพาะรายย่อย ผู้มีรายได้ประจำ ลูกจ้างรายวันที่ขาดรายได้ ที่มีสัญณาณว่ามีความยากลำบากมากขึ้น ในการชำระหนี้ทำให้ธปท.และสถาบันการเงินคลอดมาตรการดูแลลูกหนี้รายย่อย ซึ่งจะครอบคลุมสินเชื่อ 4 ประเภท 1. บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล (Revolving & Install ment Loan) : เน้นการบรรเทาภาระหนี้โดยขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้ยาวขึ้น และจ่ายอัตราดอกเบี้ยลดลง
2. สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ : เพิ่มทางเลือกการพักชำระค่างวด และสำหรับลูกหนี้จำนำทะเบียนรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ให้มีทางเลือกในการคืนรถ โดยหากมีภาระหนี้คงเหลือจากการขายประมูล ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถช่วยลดภาระหนี้ให้สอดคล้องกับสถานะของลูกหนี้
3. เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ : กำหนดแนวทางในการควบคุมอัตราดอก เบี้ยตลอดอายุสัญญา (Effective Interest Rate: EIR) ไม่ให้สูงขึ้นกว่าอัตราดอกเบี้ยเดิม และปรับวิธีการคิดดอกเบี้ยช่วงที่พักบนค่างวดที่พักชำระหนี้สำหรับลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ให้มีทางเลือกในการคืนรถ โดยหากมีภาระหนี้คงเหลือจากการขายประมูล ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถช่วยลดภาระหนี้ให้สอดคล้องกับสถานะของลูกหนี้
4. สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน : เพิ่มทางเลือกด้วยการพักเงินต้นและจ่ายดอกเบี้ยบางส่วน และให้ลูกหนี้สามารถทยอยชำระคืนเป็นขั้นบันได (step up) ตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ โดยมาตรการดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องมากน้อยแค่ไหนนั้น
นายเอนกพงศ์ พุทธาภิบาล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสายงานวิจัย บล.เอเซียพลัส มองว่า มาตรการดังกล่าวกระทบต่อธนาคารพาณิชย์ที่มีฐานลูกค้ารายย่อย รวมถึงบริษัทที่ประกอบธุรกิจการเงินแต่ไม่ใช่สถาบันการเงิน(นอนแบงก์) แต่ไม่มากนัก เห็นได้จากการเกิดไวรัสแพร่ระบาดในรอบแรก และรอบ 2 มีผู้เข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 10% ของลูกหนี้แต่ละบริษัท โดยคนที่มีความสามารถชำระหนี้ ก็จะไม่เข้าร่วมโครงการนี้ เพราะหากพักเงินต้น แต่ดอกเบี้ยก็ยังจ่ายเหมือนเดิมและเงินต้นก็ไม่ได้ลด ซึ่งกลุ่มคนกลุ่มนี้มีสัดส่วนมากถึง 90% และสัดส่วน 7-8% ที่ขอปรับโครงสร้างนี้
สำหรับหุ้นในกลุ่มไฟแนนซ์มองว่า ในไตรมาส 2 ยังมีแนวโน้มที่ดีไปต่อได้ แม้ว่าในช่วงนี้มีการแข่งขันที่รุนแรง โดย SAWAD ล่าสุดได้หั่นดอกเบี้ยรถ มอเตอร์ไซด์จาก 15% เหลือ 11 % เริ่มตั้งแต่เดือนเม.ย.ที่ผ่านมาจนถึงสิ้นมิ.ย.นี้ หวังรักษาฐานลูกค้าเก่าและขยายฐานลูกค้าใหม่ ส่วน MTC นั้นยังไม่ได้ปรับดอกเบี้ยลงตามคิดอัตรา 15% เหมือนเดิม ขณะที่ TIDLOR ยังไม่มีการขยับอะไรหลังจากที่เข้าตลาดฯ
ทั้งนี้หากพูดถึงหุ้น MTC เป็นหุ้นที่น่าสนใจราคาลงมาเยอะ ขณะที่กำไรปีนี้คาดว่าจะเติบโต 15%เป็นผลมาจากความต้องการสินเชื่อในไตรมาส 2 คาดว่ายังเติบโตดี จากการเปิดเทอมและ ฤดูกาลเพาะปลูกแม้การแข่งขันรุนแรงขึ้นแต่ให้น้ำหนักการเติบโตสินเชื่อมากกว่า โดยมองแนวโน้มธุรกิจของ MTC ในปีนี้จะเติบโตต่อเนื่อง จากเศรษฐกิจฟื้นตัว หนุนความต้องการใช้สินเชื่อเติบโตตามไปด้วย สอดคล้องกับสินเชื่อสุทธิงวด 1Q64 ที่เติ่บโต 4. 5%QOQ และ 17.3% YOY ราคาเป้าหมาย 80 บาท
สำหรับ MTC จะเน้นปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่มากขึ้นในปี 2564 ซึ่งเป็นสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยสูงราว 24% เพื่อชดเชยแนวโน้มการแข่งขันในอุตสาหกรรมสินเชื่อจำนำทะเบียนที่รุน แรงมากขึ้น นอกจากนี้มีจุดเด่นที่ความสามารถในการบริหารต้นทุนที่ดีทั้งในด้านคำใช้จ่ายในการดำเนินงาน การควบคุม NPL และแนวโน้ม Cost of funds ปี2564 ที่จะลดลง จากการออกหุ้นผู้ใหม่ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง
ขณะที่ SAWAD แนวโน้มสินเชื่อ หนุนกำไสุทธิเติบโตในปี 64 คาดกำไรสุทธิปีนี้เพิ่มขึ้น 23.0% YOY จากการขยายสาขา และเน้นปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่มากขึ้น หนุนแนวโน้มสินเชื่อสุทธิปีนี้เดิบโต 16.2%YOY ทั้งนี้ คาดกำไรสุทธิงวด 2064 จะทรงตัวสูงต่อเนื่องจากงวด 1Q64จากแนวโน้มสินเชื่อเติบโต ห้กล้างแนวโน้ม Credit cost ที่จะสูงขึ้นไปได้ทั้งหมดFair Value ปี 2564 เท่ากับ 95 บาท กำหนด Fair value ปี 2564 เท่ากับ 95 บาท อิง PBV 4.8 เท่า ตามวิธี GGM ภายใต้คาดการณ์ ROE เฉลี่ย 26.0% ยังแนะนำซื้อราคาเป้าหมาย 95 บาท
This website uses cookies.