Motor Sport Sponsored

เชียงใหม่ เครือข่ายไฟเบอร์ออพติก เชื่อมต่อโลกดิจิทัล แก่หมู่บ้านห่างไกล – Techoffside.com

Motor Sport Sponsored
Motor Sport Sponsored

เชียงใหม่ กุหลาบแห่งภาคเหนือที่เบ่งบานด้วยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครือข่ายไฟเบอร์ออพติก เชื่อมต่อโลกดิจิทัล และประโยชน์นานัปการให้ แก่หมู่บ้านห่างไกล ของจังหวัด

จากข้อมูลของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เผยประชากรกว่าครึ่งโลกมีการเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตได้อย่างจำกัด และส่วนใหญ่อีกกว่าร้อยละ 60 ขึ้นไป อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและชนบท ไม่มีอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่บ้าน ณหุบเขาที่ห่างไกลแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งคนในพื้นที่รู้จักกันในนาม “กุหลาบแห่งภาคเหนือของประเทศไทย” ที่มีหลายหมู่บ้านห่างไกลอาศัยอยู่ท่ามกลางหุบเขาที่ขาดการเชื่อมต่อนี้ รวมถึงหมู่บ้าน และโรงเรียนบ้านแม่โต๋ที่เด็กหญิงพรฟ้ากำลังศึกษาอยู่

ด้วยสภาพภูมิประเทศที่มีภูเขาล้อมรอบเหมือนกำแพงธรรมชาติ การเดินทางของหมู่บ้านเด็กสาวจึงเป็นไปอย่างยากลำบาก ปัญหาความยากจนและการที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ได้เป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไปในหมู่บ้าน พรฟ้าและเพื่อนๆ จึงมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล ยังต้องพึ่งพาเนื้อหาเก่าจากตำราเรียน การใช้คอมพิวเตอร์และท่องโลกอินเทอร์เน็ตจึงถือเป็นเรื่องไกลตัว

ถนนน้ำ

เส้นทางถนนบนภูเขาที่ทอดยาว 60 กิโลเมตร คือเส้นทางหลักสู่ตัวเมืองที่ใกล้ที่สุด แต่ด้วยสภาพภูมิประเทศ การไม่มีระบบระบายน้ำ น้ำจึงท่วมทุกครั้งที่ฝนตก ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า “ถนนน้ำ” สภาพถนนนี้ไม่เพียงแต่ทำให้รถสัญจรไม่ได้ แต่ยังกั้นให้การศึกษากลายเป็นเรื่องยากสำหรับนักเรียน และส่งผลให้ชุมชนไม่สามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้

ขันเป็นเพื่อนบ้านของพรฟ้า เขาเป็นโรคผิวหนังรุนแรง และสถานีอนามัยท้องถิ่นก็ขาดแคลนอุปกรณ์ เขาจึงต้องซ้อนรถมอเตอร์ไซค์เพื่อนเพื่อไปรักษาในเมืองที่ใกล้ที่สุด เขาใช้เวลาเดินทางทั้งวันซึ่งถือเป็นอุปสรรคมากสำหรับชาวสวนที่มีครอบครัวต้องเลี้ยงดู อิน ชาวบ้านอีกคนเล่าว่ารายได้ของชาวบ้านที่นี่น้อยมาก บ่อยครั้งที่เธอต้องนำสตรอว์เบอร์รี่จากบนเขาลงไปขายที่ตลาดข้างล่าง แต่เพราะคนซื้อรู้ว่าเธอต้องเดินทางมาไกลจึงมักกดราคาเพราะรู้ว่าถึงอย่างไรเธอก็ต้องยอมขายในราคาถูก ดีกว่าเอาสตรอว์เบอร์รี่กลับขึ้นไปเสียบนเขา

อย่างไรก็ตาม หมู่บ้านแม่โต๋และหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลอีกหลายแห่งจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ด้วยวิสัยทัศน์ “The Country of One Digital” ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ภายใต้โครงการ USO NET โดยใช้นวัตกรรมโซลูชันของหัวเว่ยในการวางสายเคเบิลไฟเบอร์ออพติกเพื่อเชื่อมต่อหมู่บ้านแม่โต๋

จากหมู่บ้านห่างไกล สู่ใกล้แค่เอื้อมในเวลาเพียงหนึ่งปี

เมื่อได้รับการเชื่อมต่อจากเครือข่ายบรอดแบนด์และ Wi-Fi ทำให้สัญญาณอินเทอร์เน็ตพร้อมใช้งานก็ครอบคลุมพื้นที่ ซึ่งถือเป็นการปฎิรูปครั้งประวัติศาสตร์ของหมู่บ้านแม่โต๋

ณ ศูนย์ USO NET เด็กหญิงพรฟ้าและเพื่อนๆ สามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ เพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล ช่วยให้เด็กๆ ในหมู่บ้านค้นหาความรู้และตามหาความฝันได้เช่นเดียวกับเด็กๆ ในเมือง

ประโยชน์ที่เกิดขึ้นไม่ได้จำกัดภายในรั้วโรงเรียนเท่านั้น บริการแพทย์ทางไกลภายในศูนย์ USO NET ยังทำให้นาย ขัน สามารถเดินทางมาที่ศูนย์อนามัยและใช้บริการอุปกรณ์แพทย์ทางไกลแบบพกพาเพื่อรับคำแนะนำจากแพทย์ได้ทันที โดยแพทย์ประจำหมู่บ้านจะรวบรวมข้อมูล ส่งไปยังผู้เชี่ยวชาญในเมืองผ่านการส่งภาพแบบเรียลไทม์ และสามารถวินิจฉัยได้โดยละเอียด

การขายสตรอว์เบอร์รี่ของนางสาว อิน ก็เริ่มดีขึ้น เธอสามารถขยายการขายผลผลิตได้ผ่านการไลฟ์ออนไลน์ เช่นเดียวกับชาวสวนในหมู่บ้านอีกหลายคนที่ค่อยๆ มีรายได้เพิ่มขึ้น และยังมีทีม USO ที่ช่วยสอนชาวบ้านในหมู่บ้าน ยกระดับชีวิตไปอีกขั้นผ่านระบบรูปแบบออนไลน์

ผู้สูงอายุในหมู่บ้านก็สามารถติดต่อกับลูกหลานที่ทำงานในเมืองได้ และได้รับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกภายนอก นอกจากนี้ อินเทอร์เน็ตยังช่วยให้หมู่บ้านที่ห่างไกลได้สัมผัสโลกดิจิทัลเป็นครั้งแรก

“โครงการ USO 2.0 ช่วยติดตั้งบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตให้กับหมู่บ้าน 19,652 แห่ง และโครงการ USO 3.0 ก็อยู่ในช่วงวางแผนดำเนินการต่อ โดย กสทช. มุ่งมั่นที่จะขยายแบนด์วิดท์และบริการเครือข่ายให้กับชาวบ้านเพื่อการใช้งานที่สะดวกยิ่งขึ้น” นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการ กสทช. กล่าว

สะพานดิจิทัลได้รับการเชื่อมต่อได้อย่างไร?

ในปี พ.ศ. 2561 ทีมงานของโครงการพบว่าชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนเขาในจังหวัดเชียงใหม่นั้นไม่ได้แค่อยู่ไกลจากตัวเมือง แต่ยังกระจายตัวทั่วหมู่บ้าน การจะติดตั้งเทคโนโลยีโครงข่ายใยแก้วนำแสงแบบส่งตรงถึงบ้าน (FTTH) แบบพื้นฐาน จำเป็นต้องใช้พื้นที่สำหรับอุปกรณ์และสายเคเบิลขนาดใหญ่อีกหลายสิบกิโลเมตร ซึ่งนอกจากจะใช้งบประมาณจำนวนมาก ยังสร้างมลภาวะและเป็นโมเดลเครือข่ายการเชื่อมต่อที่ไม่ยั่งยืนอีกด้วย ซึ่งโซลูชัน AirPON ของหัวเว่ยสามารถตอบโจทย์ โดยใช้เสาสัญญาณและสายไฟเบอร์ที่มีอยู่แล้วในการสร้าง “ห้องอุปกรณ์เครือข่ายเสมือนจริง”                        

AirPON กลายเป็นเทคโนโลยีทางเลือกที่ช่วยผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ด้วยความเร็วสูงในพื้นที่ที่ห่างไกลและยากต่อการเข้าถึง ผ่านเสาสัญญาณและสายไฟเบอร์ที่มีอยู่แล้ว และยังเป็นโซลูชันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และใช้พลังงานต่ำอีกด้วย

“โซลูชัน AirPON เชื่อมต่อเทอร์มินัลสำหรับสายออพติคัล (OLT – Optical Line Terminal) ไปยังเสาสัญญาณในพื้นที่ ช่วยให้ผู้คนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น และหัวเว่ยภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ USO” คุณคุณานนต์ ดอนกุศล วิศวกรอาวุโส บริษัท หัวเว่ย ประเทศไทย กล่าว

AirPON HUAWEI Optical Line Terminal USO NET

Motor Sport Sponsored
แข่งรถ รถแข่ง

การแข่งรถ (หรือเรียกว่าแข่งรถยนต์ หรือ รถแข่ง) เป็นมอเตอร์สปอร์ตที่เกี่ยวข้องกับการแข่งโดยใช้รถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ รถจักรยาน สำหรับการแข่งขัน

This website uses cookies.