Motor Sport Sponsored

ฮอนด้า มอเตอร์ ญี่ปุ่นประกาศแผนธุรกิจ 2 ล้อ พัฒนารถไฟฟ้า พร้อมเปิดตัว 10 รุ่นปี 2025 ตั้งเป้าขาย 3.5 ล้านคันปี 2030

Motor Sport Sponsored
Motor Sport Sponsored


ฮอนด้ามอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ประกาศแผนงานสำหรับธุรกิจรถจักรยานยนต์ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2022 วางเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ด้วยการพัฒนารถจักรยานยนต์ไฟฟ้าหลากหลายรูปแบบเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลกที่มีความต้องการแตกต่างกัน เตรียมเปิดตัวรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ไม่น้อยกว่า 10 รุ่น ภายในปี 2025 พร้อมกับตั้งเป้าจำหน่ายรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 1 ล้านคันต่อปีภายใน 5 ปีข้างหน้า และยอดจำหน่าย 3.5 ล้านคันต่อปี ภายในปี 2030

ทั้งนี้ นโยบายธุรกิจรถจักรยานยนต์ของฮอนด้าถูกแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อสำคัญ ประกอบด้วย การมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน การสร้างสรรค์ยานยนต์ไฟฟ้า และการทำให้การใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น


1. ก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

เพื่อรองรับการใช้งานหลากหลายรูปแบบและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ทั่วโลก ฮอนด้านำเสนอผลิตภัณฑ์รถจักรยานยนต์หลายรุ่น ตั้งแต่คอมมิวเตอร์รุ่นเล็กสำหรับการเดินทางในเมือง ไปจนถึงรุ่นใหญ่ที่ขับขี่ได้อย่างสนุก ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกทั้งในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าและกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่นั้นมีความต้องการรถจักรยานยนต์อย่างมาก ส่วนใหญ่เป็นรุ่นคอมมิวเตอร์ที่ตอบสนองการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างลงตัว อย่างไรก็ดี รถจักรยานยนต์ไฟฟ้ายังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก เนื่องจากน้ำหนักที่มาก ราคาที่สูง และความต้องการรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ายังขึ้นกับมาตรการส่งเสริมและกฎระเบียบของรัฐ รวมถึงความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานบริการชาร์จไฟฟ้าในแต่ละประเทศ

จากการพิจารณาสถานการณ์ดังกล่าว ฮอนด้ายังคงผลิตเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน (ICE) ในขณะเดียวกันพร้อมเร่งผลิตรถจักรยานยนต์พลังงานไฟฟ้า เน้นกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งเป้าบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนสำหรับผลิตภัณฑ์รถจักรยานยนต์ทุกคันในช่วงปีทศวรรษ 2040s นอกจากนี้ฮอนด้ายังคงความเป็นผู้นำด้านโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอื่นๆ ในอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์อีกด้วย


เดินหน้าโครงการพัฒนาเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน (ICE) อย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน พร้อมกับรองรับความต้องการอันหลากหลายของผู้ขับขี่และการใช้งานที่เป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ ฮอนด้ายังมีโครงการพัฒนารถจักรยานยนต์รุ่นที่ใช้น้ำมัน (ICE models) แบบช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไปพร้อมๆ กับผลิตรถจักรยานยนต์รุ่นที่สามารถใช้พลังงานที่สร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน เช่น รุ่นที่ใช้แก๊สโซลีนผสมเอทานอล เป็นต้น
ตัวอย่าง เช่น ในประเทศบราซิล ที่มีรถจักรยานยนต์ใช้พลังงาน flex-fuel หรือ E100*1 ฮอนด้ายังได้วางแผนเปิดตัวรถจักรยานยนต์ใช้พลังงาน flex-fuel ในอินเดียซึ่งเป็นตลาดรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ โดยจะเปิดตัวรุ่น flex-fuel (E20) *1 ประมาณต้นปี 2023 และ รุ่น flex-fuel (E100) ในปี 2025

*1 แก๊สโซลีนผสมเอทานอล มีอัตราการผสมหลายระดับ ตั้งแต่แก๊สโซลีน 100% ไปจนถึงเอทานอล 100% ส่วน E100 หมายถึง เอทานอล 100% และ E20 หมายถึง เอทานอล 20%

2. สร้างสรรค์ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า

เปิดตัวรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อรองรับความต้องการของผู้ขับขี่หลากหลายรูปแบบ

จากการคาดการณ์การขยายตัวของตลาด ฮอนด้าเปิดตัวรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่รองรับความต้องการที่แตกต่างของผู้ขับขี่ ตั้งแต่รุ่นคอมมิวเตอร์ขับขี่ในเมือง ไปจนถึงรุ่นใหญ่ขับขี่เพื่อความสนุก ฮอนด้าเตรียมนำเสนอรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ไม่น้อยกว่า 10 รุ่น ภายในปี 2025 ตั้งเป้ายอดขายรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 1 ล้านคันต่อปี ภายใน 5 ปีข้างหน้า และ 3.5 ล้านคัน (ประมาณ 15% ของยอดขายรวม) ภายในปี 2030


โดยมีรายละเอียดของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดังต่อไปนี้

-รถจักรยานยนต์คอมมิวเตอร์ขับขี่ในเมือง Commuter EVs

ในยุคที่ทุกกิจกรรมหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ความต้องการใช้รถจักรยานยนต์พลังงานไฟฟ้าเริ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพื่อรองรับความต้องการผู้ขับขี่ประเภทนี้ ฮอนด้านำเสนอ Honda e: Business Bike Series พร้อมเร่งเปิดตัวรถจักรยานยนต์พลังงานไฟฟ้าสำหรับธุรกิจในตลาดโลก นอกเหนือจากการส่งมอบ Honda e: Business Bike Series ให้กับบริษัทไปรษณีย์ของญี่ปุ่นและเวียดนาม* 2 เพื่อการทำงานบริการส่งสินค้าไปรษณีย์แล้ว ปัจจุบันฮอนด้ายังทดลองจับมือกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด*3 ทั้งยังวางแผนผลิตและจำหน่ายรุ่น BENLY e: ในประเทศไทยก่อนสิ้นเดือนนี้ สำหรับรถจักรยานยนต์ Honda e: Business Bike Series มาพร้อมกับ Honda Mobile Power Pack (MPP) แบตเตอรี่แบบสลับเปลี่ยนได้ เหมาะกับการใช้งานธุรกิจประเภทส่งสินค้าชิ้นเล็ก และช่วยแก้ปัญหาเรื่องประเภทไฟฟ้าและระยะเวลาชาร์จไฟฟ้า ซึ่งนับเป็นข้อท้าทายหลักในการทำให้การใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเป็นที่แพร่หลาย

สำหรับการใช้งานส่วนบุคคล ฮอนด้าเตรียมแผนเปิดตัว Commuter EV สองรุ่นในปี 2024 และ 2025 ในเอเชีย ยุโรป และญี่ปุ่น ในอนาคต ฮอนด้ายังคงมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทนอื่นๆ นอกเหนือจากแบตเตอรี่แบบสลับเปลี่ยนได้

-รถจักรยานยนต์รุ่นคอมมิวเตอร์ขับขี่ในเมือง Commuter EMs*4 / EBs*5

ปัจจุบัน รุ่น EMs และ EBs ครอง 90 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก หรือประมาณ 50 ล้านคัน ในประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก รุ่น EMs / EBs เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้ขับขี่เพื่อความสะดวกในชีวิตประจำวัน และฮอนด้านำเสนอผลิตภัณฑ์เหล่านี้ด้วยการยกระดับโครงสร้างบริการพื้นฐานให้กับผู้แทนจำหน่ายในพื้นที่และเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตและพัฒนา โดยคาดว่าความต้องการรุ่น EMs / EBs จะขยายในวงกว้างขึ้นและครอบคลุมไปทั่วโลก พร้อมมีแผนเปิดตัว EMs / EBs รุ่นกะทัดรัดในราคาที่จับต้องได้ 5 รุ่น ตั้งแต่ช่วงนี้จนถึงปี 2024 ในตลาดเอเชีย ยุโรป และญี่ปุ่น


-FUN EVs รถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหญ่ที่ขับขี่ได้อย่างสนุก

นอกจาก commuter EVs แล้ว ฮอนด้ายังได้พัฒนาและนำเสนอรถจักรยานยนต์รุ่นใหญ่ที่ขับขี่ได้อย่างสนุก “Fun” EV models โดยจะเปิดตัว “Fun” EV models ทั้งหมดสามรุ่นในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและยุโรป ในช่วงปี 2024 และ 2025 พร้อมกับเปิดตัว “Kid Fun EV model” สำหรับเด็กที่ออกแบบเพื่อส่งต่อความสุขในการขับขี่ให้กับคนรุ่นใหม่อีกด้วย

*2 บริการไปรษณีย์ของเวียดนาม
*3 บริการไปรษณีย์ไทย
*4 ประเภทไฟฟ้า: ความเร็วสูงสุด: 25 กม./ชม.~50 กม./ชม.
*5 ประเภทรถจักรยานไฟฟ้า ไม่รวมรถจักรยานที่ใช้ไฟฟ้าช่วย ความเร็วสูงสุด 25 กม/ชม หรือต่ำกว่า

กระบวนการผลิตแบบประสิทธิภาพสูง “Monozukuri” ที่ช่วยขยายการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าพร้อมเพิ่มยอดการจำหน่าย

ด้วยความก้าวหน้าของการผลิตแบบ “Monozukuri” ที่สั่งสมจากการพัฒนาและการใช้แพลตฟอร์มสำหรับยานยนต์รุ่นที่ใช้น้ำมัน ฮอนด้าพัฒนาและนำมาประยุกต์ใช้กับแพลตฟอร์มรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่ประสานองค์ประกอบหลัก 3 ประการของยานพาหนะไฟฟ้า ได้แก่ แบตเตอรี่ PCU และเครื่องยนต์ เข้าด้วยกัน โดยมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยกระบวนการผลิต Monozukuri ประสิทธิภาพสูง เพื่อมอบความสุขในการขับเคลื่อนด้วยรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในราคาที่จับต้องได้

ในส่วนของแบตเตอรี่ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของพาหนะไฟฟ้า ฮอนด้ามุ่งเป้าติดตั้ง แบตเตอรี่แบบแข็ง (All-solid-state battery) ที่มีเสถียรภาพสูงในรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่น ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ที่ฮอนด้ากำลังพัฒนาโดยการใช้แหล่งพลังงานของตนเอง


3. เพิ่มความสะดวกและความชาญฉลาดในการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า

โครงการริเริ่มเพื่อเสริมโครงสร้างพื้นฐานการให้บริการชาร์จแบตเตอรี่และการกำหนดมาตรฐานให้กับแบตเตอรี่

การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้บริการชาร์จแบตเตอรี่และการกำหนดคุณสมบัติที่เป็นมาตรฐานให้กับแบตเตอรี่นั้น จำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำให้การใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเป็นที่แพร่หลาย ฮอนด้า ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้บริการชาร์จแบตเตอรี่นั้น ได้เน้นการดำเนินงานเพื่อให้มีการใช้แบตเตอรี่ร่วมกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น

-ส่งเสริมการใช้แบตเตอรี่ร่วมกันให้เป็นที่แพร่หลาย
– ฮอนด้ามีธุรกิจร่วมในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดรถจักรยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ดำเนินการให้บริการใช้แบตเตอรี่ร่วมกัน จากการใช้ประโยชน์จากแบตเตอรี่ MPPs และรถจักรยานยนต์พลังงานจากแบตเตอรี่ MPP โดย JV เริ่มให้บริการใช้แบตเตอรี่ร่วมกันแล้วในเมืองบาหลี
– ในอินเดีย ฮอนด้าเตรียมวางแผนเริ่มให้บริการใช้แบตเตอรี่ร่วมกันสำหรับใช้ในรถแท็กซี่สามล้อ (หรือที่เรียกกันว่า ริกชอว์) ภายในปลายปีนี้ ฮอนด้ายังวางแผนขยายโครงการริเริ่มใช้แบตเตอรี่ร่วมกันให้เป็นที่แพร่หลายในประเทศอื่นๆ ในเอเชีย
– ในญี่ปุ่น เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา บริษัท ENEOS Holdings, Inc. และผู้ผลิตรถจักรยานยนต์รายใหญ่ 4 แห่ง*6 ร่วมมือกับ Gachaco, Inc. ผู้ให้บริการแบ่งปันการใช้แบตเตอรี่แบบสลับเปลี่ยนได้ที่ได้มาตรฐาน สำหรับรถจักรยานยนต์และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการให้บริการ โดยบริษัทเตรียมให้บริการเพื่อการใช้แบตเตอรี่ร่วมกันในฤดูใบไม้ร่วงที่จะถึงนี้


-กำหนดมาตรฐานแบตเตอรี่

– ในญี่ปุ่น ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์มีการตกลงกันเรื่องคุณสมบัติทั่วไปของแบตเตอรี่แบบสลับเปลี่ยนได้โดยยึดแนวปฏิบัติเรื่องแบตเตอรี่แบบสลับเปลี่ยนได้สำหรับยานพาหนะไฟฟ้าสองล้อ (JASO TP21003*7 Guideline)
– ฮอนด้ามุ่งมั่นทำงานเพื่อสร้างมาตรฐานให้กับแบตเตอรี่แบบสลับเปลี่ยนได้ พร้อมกับเข้าร่วมประชุมสมาคมแบตเตอรี่ในยุโรป*8 ทั้งยังร่วมมือกับบริษัทร่วมทุนในอินเดีย

*6 บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด บริษัท คาวาซากิ มอเตอร์ จำกัด บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และบริษัท ยามาฮ่า มอเตอร์ จำกัด
*7 สมาคมวิศวกรรมยานยนต์แห่งประเทศญี่ปุ่น รายงานวิชาการ TP21003 ขององค์กร JASO แนวปฏิบัติเรื่องแบตเตอรี่ที่สลับเปลี่ยนได้ สำหรับยานพาหนะไฟฟ้าสองล้อ “Guideline For Swappable Batteries Of Electric Two Wheel Vehicles”
*8 สมาคมแบตเตอรี่ที่สลับเปลี่ยนได้สำหรับรถจักรยานยนต์ (Swappable Batteries Motorcycle Consortium หรือ SBMC) ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่การใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าขนาดเล็กเพื่อการขับเคลื่อน


เสริมความแข็งแกร่งด้านเทคโนโลยีซอฟต์แวร์

เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ฮอนด้ามุ่งปรับเปลี่ยนธุรกิจจากการเน้นการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ที่ทำรายได้เพียงครั้งเดียว สู่รูปแบบธุรกิจที่ผสมผสานทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

ด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ ฮอนด้าร่วมงานกับ Drivemode*9 บริษัทซอฟต์แวร์ในเครือ ยกระดับมูลค่าการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในโลกยุคที่ทุกสิ่งเชื่อมต่อกัน โดยเริ่มจากรุ่น Commuter EV ที่จะออกสู่ตลาดในปี 2024 ฮอนด้ามอบประสบการณ์การขับขี่สุดแสนเพลิดเพลินให้กับผู้ใช้งาน (UX) ผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อ อาทิ อุปกรณ์ที่ช่วยเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด โดยคำนึงถึงวิถีถนน จุดชาร์จไฟฟ้า แนะแนวการขับขี่อย่างปลอดภัย พร้อมการบริการหลังการขายที่ช่วยให้ผู้ขับขี่อุ่นใจตลอดเส้นทาง

ในอนาคต ฮอนด้าจะมุ่งสร้างแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงทุกสิ่ง เพิ่มคุณค่าการใช้งานที่ไม่เพียงเชื่อมต่อกับรถจักรยานยนต์เท่านั้น แต่ยังเชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์ของฮอนด้าทุกประเภท เพื่อส่งมอบประสบการณ์การขับขี่ที่สะดวกสบายแบบไร้ขีดจำกัด

*9 ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่ปรับเปลี่ยนประสบการณ์ผู้ใช้เพื่อการขับขี่อย่างสะดวกสบาย Drivemode สร้างสรรค์เทคโนโลยีการขับขี่อัจฉริยะที่เชื่อมต่อกันและยังปลอดภัยมากขึ้นให้กับผู้ใช้ทุกคนบนท้องถนน

Motor Sport Sponsored
แข่งรถ รถแข่ง

การแข่งรถ (หรือเรียกว่าแข่งรถยนต์ หรือ รถแข่ง) เป็นมอเตอร์สปอร์ตที่เกี่ยวข้องกับการแข่งโดยใช้รถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ รถจักรยาน สำหรับการแข่งขัน

This website uses cookies.