ในยุคนี้การจับตามองการเปลี่ยนผ่านจากยุคเครื่องยนต์สันดาปภายใน ไปสู่ยุคของพลังงานไฟฟ้าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะแม้จะมีความแพร่หลายในส่วนของรถยนต์ แต่ในส่วนของจักรยานยนต์นั้น ดูเหมือนกับว่าทำได้ยากกว่ามาก ส่วนหนึ่งก็คือขนาดและน้ำหนักของแบตเตอรี่เป็นตัวขัดขวางการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง อาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม 2564 เวลา 13.09 น.
ในปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายแบรนด์พยายามคิดค้นสารพัดเทคนิคชั้นสูงที่จะเพิ่มความเข้มข้นของประสิทธิภาพแบตเตอรี่ รวมไปถึงระบบขับเคลื่อนสมรรถนะสูงและลดน้ำหนักของระบบไฟฟ้าทั้งหมดลงให้มากที่สุด ดังตัวอย่างของ ค่ายไทรอัมพ์ (Triumph) ที่พัฒนาเทคโนโลยีของรถรุ่นต้นแบบอย่าง TE-1 ร่วมกับทีมแข่งรถฟอร์มูล่าวัน “วิลเลียมส์” (Williams) ในการพัฒนาเคมีของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนให้มีศักยภาพสูงขึ้น รวมถึงการพัฒนามอเตอร์ไฟฟ้าด้วยการใช้วัสดุอย่างซิลิกอน คาร์ไบด์ เซมิคอน ดักเตอร์ มาแทนที่ระบบทรานซิสเตอร์แบบดั้งเดิมเพื่อยืดระยะการวิ่งให้ได้ไกลขึ้น
แต่ในอีกมุมหนึ่งแทนที่จะเคี่ยวกรำให้เกิดเทคโนโลยีชั้นสูง ผู้ผลิตอีกหลายรายพยายามที่จะทำให้การใช้งานรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าสะดวกและมีราคาที่ไม่สูงเกินเอื้อม ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เกินเอื้อม ตัวอย่างก็คือรถแนวคิดรุ่นใหม่ “อี-พิลเลน” (E-Pilen) ของค่าย ฮัสกวานา (Husqvarna) บริษัทในเครือของค่ายเคทีเอ็ม (KTM) จากประเทศออสเตรีย
รถต้นแบบคันนี้มีรูปทรงโมเดิร์นคลาสสิกเรียบง่ายแต่เก๋ไก๋ โดยรูปทรงนั้นคล้ายคลึงกับรุ่นสวาร์ทพิลเลน และวิทพิลเลน (Svartpilen & Vitpilen) ที่ใช้เครื่องสันดาปภายในของฮัสกวานานั่นเอง! โดยการเปิดเผยภาพของรถแนวคิดนี้พวกเขาเลือกที่จะพรางตัวด้วยแสงสลัว เพราะรถคันนี้ใกล้เคียงกับรถจริงที่ใกล้จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเร็ววันนี้เป็นอย่างมากนั่นเอง
โดยเทคโนโลยีเบื้องหลังรถรุ่นอี-พิลเลน นี้เป็นเทคโนโลยีระบบไฟฟ้า 48 โวลต์ที่พวกเขาเผยว่าจะใช้งานได้กับมอเตอร์ตั้งแต่แบบ 4 กิโลวัตต์ ไปจนถึง 11 กิโลวัตต์ หรือแปลงเป็นหน่วยแรงม้า ที่เราคุ้นเคยก็คือ 5.36 แรงม้า และ 14.75 แรงม้า ซึ่งพอฟัดพอเหวี่ยงกับเครื่องยนต์ขนาด 50 และ 125 ซีซี ซึ่งก็หมายความว่าระบบนี้รองรับรถตั้งแต่สกู๊ต เตอร์แม่บ้าน ไปจนถึงคลาสรถสปอร์ต แต่สำหรับรถรุ่นอี-พิลเลน นี้จะมีมอเตอร์ขนาด 8 กิโลวัตต์ หรือ 10.7 แรงม้า และสามารถวิ่งได้ไกลประมาณ 100 กิโลเมตร
แต่ก่อนที่จะติว่าแรงมันน้อย ก็ต้องอธิบายว่าวิธีการวัดกำลังของเครื่องยนต์สันดาปภายในกับมอเตอร์ไฟฟ้านั้นต่างกัน ในขณะที่เครื่องยนต์สันดาปภายในที่เราคุ้นเคยนั้น เราวัดกันที่ “แรงม้าสูงสุด” แต่กับมอเตอร์ไฟฟ้านั้นเป็น “กำลังต่อเนื่อง” นั่นก็หมาย ความว่า มอเตอร์ไฟฟ้านั้นกำลังสูงสุดที่จุดพีคจะสามารถขึ้นไปสูงกว่าค่าที่เราเห็นได้นั่นเอง โดยทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับการเขียนโปรแกรมของระบบจัดการพลังงานนั่นเอง
แต่ทั้งหมดที่ว่ามานั้นก็ไม่ได้น่าตื่นเต้นอะไร แต่จุดที่ทำให้รถคันนี้น่าสนใจก็คือการที่มันใช้แนวคิดระบบ “หมุนเวียนแบตเตอรี่” คล้าย คลึงกับของค่ายโกโกโร่ (Gogoro) อันเป็นสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าของไต้หวันนั่นเอง แต่ของฮัสกวานา นี้เป็นมาตรฐานที่ทางเคทีเอ็มร่วมมือกับฮอนด้า, ยามาฮ่า และเพียทจิโอ (Piaggio หรือที่เรารู้จักกันในชื่อเวสป้า) ได้พัฒนาขึ้น โดยไม่เพียงแต่รถของทั้ง 4 ยี่ห้อนี้จะสามารถใช้แบตเตอรี่ที่ถอดเปลี่ยนได้หมุนเวียนร่วมกันได้ ยังมีอีกหลายยี่ห้อในปัจจุบันที่เลือกที่จะใช้มาตรฐานนี้เช่นกัน อาทิ ซูซูกิ และคาวาซากิ อีกด้วย ซึ่งเป็นไปได้ว่าต่อไปในอนาคตจะมีอีกหลายยี่ห้อเลือกที่จะใช้แนวคิดนี้กับรถของตัวเองด้วยเช่นกัน เพราะแทนที่จะต้องขยายความจุแบตเตอรี่เพื่อยืดระยะการขับขี่ ผู้ขี่สามารถที่จะเข้าสถานีบริการ และสลับเอาแบตเตอรี่ที่ชาร์จไฟเต็มแล้วใส่รถได้ทันที ซึ่งด้วยแนวคิดนี้จะช่วยให้จักรยานยนต์ยังคงที่จะมีความเบาและขับได้สนุกเหมือนเดิมได้
อี-พิลเลนตั้งเป้าไว้ว่าจะผลิตที่ประเทศอินเดีย ในโรงงานของเคทีเอ็ม พร้อมกับที่เครือข่ายของสถานีแบตเตอรี่หมุนเวียนที่จะเริ่มต้นให้บริการในอินเดียด้วยเช่นกัน เราต้องมาดูว่าบ้านเราจะตามมาในอีกกี่ปี แต่ช่วงนี้ยังไงก็รักษาสุขภาพก่อนนะครับ.
0%
0%
As part of their spo…
This website uses cookies.