2
สารบัญ
หน้า
บทสรุปผู้บริหาร 3
ส่วนที่ 1 ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 2/2565 5
ส่วนที่ 2 เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรายสาขาไตรมาสที่ 2/2565
และแนวโน้มไตรมาสที่ 3/2565 14
2.1 อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า 15
2.2 อุตสาหกรรมไฟฟ้า 16
2.3 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 17
2.4 อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ 18
2.5 อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ 19
2.6 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ 20
2.7 อุตสาหกรรมพลาสติก 21
2.8 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี 22
2.9 อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ 23
2.10 อุตสาหกรรมเซรามิก 24
2.11 อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ 25
2.12 อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 26
2.13 อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน 27
2.14 อุตสาหกรรมยา 28
2.15 อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง 29
2.16 อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง 30
2.17 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 31
2.18 อุตสาหกรรมอาหาร 32
3
บทสรุปผู้บริหาร
สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 2/2565
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2/2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัว
เล็กน้อย ร้อยละ 0.7 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับในไตรมาสที่ 1/2565 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบ
จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้ราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก
ปรับตัวสูงขึ้น และส่งผลกระทบให้ต้นทุนของผู้ผลิตและภาระค่าครองชีพของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น รวมไปถึงปัญหาข้อจำกัด
ในห่วงโซ่อุปทานโลกที่ยังคงไม่คลี่คลาย ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัวในไตรมาสที่ 2/2565 อาทิ Hard Disk Drive
เป็นผลจากการขาดแคลนวัตถุดิบ จากมาตรการควบคุมโควิด-19 ที่เข้มงวดของประเทศจีน เม็ดพลาสติก เนื่องจากผู้ผลิต
มีการปรับแผนกลยุทธ์ใหม่หลังต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการปิดซ่อมบำรุงของผู้ผลิตบางราย
เหล็กและเหล็กกล้า จากความต้องการที่ปรับตัวลดลง หลังราคาสินค้าในหมวดวัสดุก่อสร้างปรับสูงขึ้น รวมถึงลูกค้า
ชะลอคำสั่งซื้อเพื่อรอดูทิศทางของราคาเหล็กในตลาดโลก สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวดีในไตรมาสที่ 2/2565
อาทิ การกลั่นปิโตรเลียม ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ในประเทศ
และการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้ระดับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูปในประเทศเพิ่มขึ้น
ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ที่มิใช่ยางล้อ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจเริ่มกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้น และสถานการณ์โควิด-19
เริ่มคลี่คลายในหลายประเทศ ทำให้ประเทศคู่ค้ามีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น รวมถึงปัญหาเรื่องการขนส่งที่ทยอย
คลี่คลาย ส่งผลให้สามารถส่งสินค้าได้มากขึ้น
แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 3/2565
? เหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าการผลิตจะขยายตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก
ต้นทุนวัตถุดิบมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม ราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มลดต่ำลง และมีการนำเข้าเหล็กจาก
รัสเซียเข้ามาในตลาดเอเชียมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อเนื่องของไทยเลือกนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็ก
มากกว่าการซื้อจากในประเทศ
? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัวประมาณร้อยละ 3.0 เนื่องจากสถานการณ์การเงินเฟ้อ
ที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการขาดแคลนวัตถุดิบและชิ้นส่วน
บางรายการ ในขณะที่มูลค่าการส่งออกจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่องประมาณร้อยละ 6.0 เนื่องจากสถานการณ์ขาดแคลน
ซิปทั่วโลก และสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกา จีน และไต้หวัน ที่อาจส่งผลต่อห่วงโซ่การผลิต
ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดโลก ส่งผลให้ราคาของ
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวสูงขึ้น
? รถยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 420,000 คัน โดยแบ่งเป็น
การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 45-50
? รถจักรยานยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 450,000 คัน
โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20
? อุตสาหกรรมพลาสติก คาดว่าการผลิตจะชะลอตัว เนื่องจากสถานการณ์ความผันผวนของราคาน้ำมันดิบ
ในตลาดโลกอาจส่งผลกระทบต่อราคาต้นทุนวัตถุดิบ รวมถึงผู้ประกอบการบางรายเริ่มให้ความสนใจยกเลิกบรรจุภัณฑ์
ที่ยากต่อการรีไซเคิล ส่งผลให้การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เกี่ยวข้องลดลง
4
? เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ คาดว่า ผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ จะขยายตัวเพิ่มขึ้น
ตามการบริโภคในประเทศ ขณะเดียวกันบรรจุภัณฑ์กระดาษจะได้อานิสงส์ตามการใช้งานสำหรับซื้อขายสินค้า
ทางออนไลน์ สำหรับการส่งออก คาดว่า หากประเทศจีนมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 การส่งออก
เยื่อกระดาษจะกลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง เนื่องจากจีนเป็นตลาดหลักสำหรับการส่งออกเยื่อกระดาษของไทย
? สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยจากอุปสงค์ภายในประเทศ จากการฟื้นตัวของ
ภาคการท่องเที่ยว ประกอบกับการขยายตัวต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าสำคัญ
อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากกำลังซื้อของผู้บริโภค
ที่ยังเปราะบางจากปัญหาค่าครองชีพสูง ความผันผวนของราคาวัตถุดิบและราคาพลังงาน ทำให้ต้นทุนการผลิตปรับตัว
สูงขึ้น อีกทั้งปัญหาเงินเฟ้ออาจจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ
? ยา คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาในประเทศ จะมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามความต้องการใช้ยาเพื่อรักษาโรคที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการส่งออกคาดว่า
จะมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของตลาดหลัก โดยเฉพาะตลาดอาเซียน อาทิ ลาว และ
เมียนมา
? ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง คาดว่า ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมจะขยายตัวจากการผลิตเพื่อตอบสนอง
ความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทางด้านปริมาณการผลิตยางรถยนต์ คาดการณ์ว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
จากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในส่วนของปริมาณการผลิต
ถุงมือยางคาดการณ์ว่าจะขยายตัวจากความต้องการใช้ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการ
แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ และแนวโน้มการระบาดของโรคฝีดาษวานร
? อาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมขยายตัวจากนโยบายเปิดประเทศที่ทำให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้
อุปสงค์เพิ่มขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจในประเทศค่อย ๆ ทยอยฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของเงินบาทอาจส่งผล
กระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า ในส่วนของการนำเข้าวัตถุดิบที่ต้องใช้เงินบาทต่อดอลลาร์เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อต้นทุน
ภาคอุตสาหกรรมและส่งผลให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะหดตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบ
กับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจและการค้าโลกมีการชะลอตัวจากภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลให้คำสั่งซื้อ
จากประเทศคู่ค้าชะลอตัว
5
ส่วนที่ 1 ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 2/2565
6
ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 2 ปี 2565
GDP
ขยายตัวร้อยละ 2.5 (%YoY)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP
ไตรมาส 2 ของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 2.5
โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว
ร้อยละ 2.3 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.7
GDP ภาคอุตสาหกรรม
หดตัวตัวร้อยละ 0.5 (%YoY)
GDP ภาคอุตสาหกรรม ไตรมาส 2 ของปี 2565 หดตัว
ร้อยละ 0.5 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งขยายตัว
ร้อยละ 2.0 และหดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่
ขยายตัวร้อยละ 17.0
ที??มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที??มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
7
ดัชนีอุตสาหกรรมที่สำคัญ
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
หดตัวร้อยละ 0.7
(%YoY)
ดัชนีการส่งสินค้า
ขยายตัวร้อยละ 0.1
(%YoY)
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
อยู่ที่ระดับ 95.83 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (105.36)
ร้อยละ 9.01 และลดลงจากไตรมาสเดียวกัน
ของปี 2564 (96.52) ร้อยละ 0.72
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การ
ผลิตยานยนต์ และการผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อ
พ่วง เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564
ได้แก่ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิต
พลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น และการผลิตเหล็ก
และเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่
ระดับ 97.81 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (103.81)
ร้อยละ 5.78 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน
ของปี 2564 (97.75) ร้อยละ 0.06
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจาก
ไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิต
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง และการผลิตพลาสติก
และยางสังเคราะห์ขั้นต้น เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้า
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 ได้แก่ การผลิต
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิต
ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ และการผลิตน้ำตาล เป็นต้น
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
8
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
หดตัวร้อยละ 0.9
(%YoY)
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อยู่ที่ร้อยละ 61.08
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
อยู่ที่ระดับ 134.58 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (138.86)
ร้อยละ 3.08 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564
(135.87) ร้อยละ 0.95
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูป
คงคลังลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิต
ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ การผลิตยานยนต์ และการผลิต
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูป
คงคลังลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 ได้แก่
การผลิตยานยนต์ การผลิตจักรยานยนต์ และการผลิต
ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 อัตราการใช้กำลังการผลิต
อยู่ที่ระดับร้อยละ 61.08 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา
(ร้อยละ 66.53) และลดลงจากไตรมาสเดียวกัน
ของปี 2564 (ร้อยละ 62.65)
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิต
ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์
การผลิตน้ำตาล และการผลิตพลาสติกและยาง
สังเคราะห์ขั้นต้น เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการ
ผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 ได้แก่
การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิต
พลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น และการผลิตเหล็ก
และเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
9
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
ไตรมาส 2 อยู่ที่ระดับ 85.60
ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 ดัชนีความเชื่อมั่น
ภาคอุตสาหกรรมมีค่า 85.60 ลดลงจากไตรมาส
ที่ผ่านมา (87.97) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี
2564 (82.43) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์
ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 96.70 เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสเดียวกันของปี 2564 (91.80)
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวลดลงของความเชื่อมั่น
ภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มาจาก
ราคาพลังงานโดยเฉพาะราคาน้ำมันในตลาดโลก
ที่ปรับตัวสูงขึ้นจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ยังคง
ยืดเยื้อ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาวัตถุดิบต่าง ๆ
รวมทั้งปัญหาเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น กระทบต่อ
กำลังซื้อของประชาชนที่ลดลง อีกทั้งการปิดเมืองของ
ประเทศจีน ส่งผลทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบ
ในการผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งเซมิคอนดักเตอร์ที่ใช้เป็น
ส่วนประกอบสำคัญในการผลิตรถยนต์และสินค้า
อิเล็กทรอนิกส์
ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
10
การค้าต่างประเทศของไทย
?การค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 ยังคงขยายตัวต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อานิสงส์จากคำสั่งซื้อในประเทศคู่ค้าหลักที่เติบโตต่อเนื่อง รวมทั้งการเปิดประเทศ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว
และภาคบริการ ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ล้วนมีส่วนช่วยสนับสนุนการบริโภค
ส่งผลให้การค้าไทยขับเคลื่อนต่อไปได้?
การค้าระหว่างประเทศของไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีมูลค่าทั้งสิ้น 156,478.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 75,583.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
และมูลค่าการนำเข้า 80,895.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 23.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดุลการค้าไตรมาสที่ 2 ปี 2565 ขาดดุล 5,311.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
โครงสร้างการส่งออกสินค้า
การส่งออกสินค้าของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีมูลค่า 75,583.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว
ร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ สินค้า
เกษตรกรรม มีมูลค่าการส่งออก 8,441.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 15.4 (YOY) สินค้าอุตสาหกรรม
การเกษตร มีมูลค่าการส่งออก 6,278.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 28.0 (YOY) สินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่า
การส่งออก 56,970.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.3 (YOY) สินค้าแร่และเชื้อเพลิงมีมูลค่าการส่งออก
3,893.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 59.2 (YOY)
สินค้าอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกขยายตัว อาทิ เม็ดพลาสติก (มูลค่าการส่งออก 2,933.3
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.7 YOY) เคมีภัณฑ์ (มูลค่าการส่งออก 2,615.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว
ร้อยละ 3.7 YOY) แผงวงจรไฟฟ้า (มูลค่าการส่งออก 2,344.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.4 YOY)
เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล (มูลค่าการส่งออก 2,228.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 13.8
YOY) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (มูลค่าการส่งออก 1,985.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 21.7 YOY)
เป็นต้น
11
ตลาดส่งออกสินค้า
ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 ไทยมีการส่งออกสินค้าไป
ยังตลาดคู่ค้าหลัก รวมมีสัดส่วน 5 ตลาด ร้อยละ 70.6 ได้แก่
อาเซียน สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27
ประเทศ) การส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 29.4
ของการส่งออกทั้งหมด โดยส่วนใหญ่ตลาดหลักมีอัตรา
การขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งอาเซียน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป
(27 ประเทศ) และญี่ปุ่น มีรายละเอียด ดังนี้
? ไ ท ย มีสัด ส่ว น มูล ค่า ก ร ส่ง อ อ ก ไ ป อ เ ซีย น
สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ)
ร้อยละ 25.7, 16.0, 13.4, 8.2 และ 7.4 ตามลำดับ
? อัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกเมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า อาเซียน ขยายตัวเพิ่มขึ้นสูง
ที่สุด ร้อยละ 19.1 ถัดมา คือ สหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ
17.8 สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) ขยายตัวร้อยละ 5.7 และ
ญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 1.6 ขณะที่จีน หดตัวร้อยละ 1.85
โครงสร้างการนำเข้าสินค้า
การนำเข้าสินค้าของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีมูลค่า 80,895.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 23.4
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ สินค้าเชื้อเพลิง มีมูลค่า
การนำเข้า 17,872.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 95.7 (YOY) สินค้าทุน มีมูลค่าการนำเข้า 17,223.5
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.1 (YOY) สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 33,890.5
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 16.2 (YOY) สินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่าการนำเข้า 8,059.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ขยายตัวร้อยละ 8.0 (YOY) ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า 2,914.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว
ร้อยละ 21.4 (YOY) และสินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 934.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ขยายตัวร้อยละ 525.0 (YOY) ซึ่งสินค้าหมวดอาวุธฯ การนำเข้าหดตัวในกลุ่มอาวุธ กระสุน วัตถุระเบิดและ
ส่วนประกอบ โดยขยายตัวเฉพาะกลุ่มสินค้าอื่น ๆ
12
ตลาดนำเข้าสินค้า
ไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 ตลาดนำเข้าหลักของไทย
ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาดทั้งจีน อาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป
(27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา รวม 5 ตลาดมีสัดส่วน
ร้อยละ 62.8 และการนำเข้าจากตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ
37.2 ของการนำเข้าทั้งหมด โดยมีรายละเอียด ดังนี้
? ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าจาก จีน อาเซียน ญี่ปุ่น ร้อยละ
22.7, 17.6 และ 10.8 ตามลำดับ ขณะที่สหภาพยุโรป
(27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนเท่ากันร้อยละ 5.8
? อัตราการขยายตัวของการนำเข้าเมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวในตลาดหลักทุกตลาด
โดยตลาดอาเซียนขยายตัวร้อยละ 23.4 รองลงมา คือ
สหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 32.1 จีน ขยายตัวร้อยละ
10.1 สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) ขยายตัวร้อยละ 2.3
และญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 1.3
13
เศรษฐกิจโลก ไตรมาสที่ 2 ปี 2565
?เศรษฐกิจโลกมีทิศทางชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า โดยการค้าและการผลิตบางอุตสาหกรรม
ได้รับผลกระทบจาก Supply shortage และสถานการณ์เงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นหลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ
ส่งผลให้มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อลดการเร่งตัวของเงินเฟ้อ
สรุปเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญ ไตรมาสที่ 2 ปี 2565
ภาวะเศรษฐกิจมีทิศทางชะลอตัวลง เนื่องจากระดับราคาพลังงานและเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุน
การผลิตและค่าครองชีพปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ภาคการค้าและการผลิตหลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ
จากการขาดแคลนวัตถุดิบที่เป็นองค์ประกอบในการผลิต สำหรับอัตราการว่างงานในภาพรวมปรับลดลงจากไตรมาส
ก่อนหน้าภายหลังภาคบริการและการดำเนินวิถีชีวิตทยอยกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ขณะที่จีนการว่างงานปรับตัวสูงขึ้น
เป็นผลจากการควบคุมโควิดที่เข้มข้น (Zero Covid) ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยเฉพาะสหรัฐฯ ปรับเพิ่ม
เป็นร้อยละ 1.50-1.75 เพื่อชะลอการเร่งตัวของเงินเฟ้อ
ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากข้อกังวลต่อสถานการณ์ความไม่สงบ
ระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมทั้งอุปทานการผลิตน้ำมันดิบสำรองของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงและกลุ่มประเทศ
ผู้ส่งออกน้ำมันอาจผลิตน้ำมันไม่เพียงพอกับอุปสงค์ในตลาดโลก จึงเป็นปัจจัยให้ราคาน้ำมันดิบอยู่ในระดับสูง
โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ ไตรมาส 2 ปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 108.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล ขยายตัวเมื่อเทียบกับ
ไตรมาส 2 ปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 67.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล ด้านราคาน้ำมันดิบ NYMEX เดือนกรกฎาคมเฉลี่ยอยู่ที่
100.2 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล
ประเด็นที่อาจส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโลก อาทิ ความไม่แน่นอนจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์
ระหว่างประเทศ อาทิ รัสเซีย-ยูเครน รวมถึง สหรัฐฯ จีน และไต้หวัน ซึ่งอาจซ้ำเติมปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทาน
อีกทั้งราคาพลังงาน ภาวะเงินเฟ้อ และความผันผวนของภาคการเงิน อาจส่งผลให้หลายประเทศเสี่ยงเข้าสู่ภาวะ
ถดถอยเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการค้าในประเทศคู่ค้าหลักของไทยยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งเป็นปัจจัย
ให้การผลิตป้อนตลาดส่งออกมีแนวโน้มเติบโตต่อไปได้ ตลอดจนการเปิดประเทศและการผ่อนคลายมาตรการ
ล็อกดาวน์ในหลายประเทศช่วยสนับสนุนให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจขับเคลื่อนในระยะถัดไปได้
14
ส่วนที่ 2 เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรายสาขาไตรมาสที่ 2/2565
และแนวโน้มไตรมาสที่ 3/2565
15
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
ที??มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ปริมาณการบริโภคในประเทศและมูลค่าการนำเข้า
ที??มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็กและเหล็กกล้า
แห่งประเทศไทย
การผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
มีค่า 97.7 หดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.6 (%YoY)
และหดตัวจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 0.4 (%QoQ) เนื่องจากภาวะ
เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว ส่งผลต่อกำลังการซื้อของผู้บริโภคที่ลดน้อยลงและ
ราคาเหล็กมีแนวโน้มลดลงทำให้ผู้ใช้มีทางเลือกมากขึ้นจากการซื้อเหล็ก
ต่างประเทศ การผลิตในประเทศจึงลดลง โดยเมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน การผลิตเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 10.8 ผลิตภัณฑ์
ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม
หดตัวร้อยละ 28.3 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดเย็น หดตัวร้อยละ 23.5 และ
เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี หดตัวร้อยละ 10.1 สำหรับการผลิตเหล็ก
ทรงยาวหดตัวร้อยละ 12.4 โดยผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ
เหล็กลวดหดตัวร้อยละ 39.7 รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ
ชนิดรีดเย็นหดตัวร้อยละ 22.8 และ เหล็กข้ออ้อย หดตัว
ร้อยละ 15.5
การบริโภคในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2565
มีปริมาณ 4.7 ล้านตัน หดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
8.5.(%YoY) แต่ขยายตัวจากไตรมาสที่ผ่านมา ร้อยละ 17.1.(%QoQ)
โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การบริโภคเหล็ก
ทรงแบน หดตัวร้อยละ 13.2 จากการบริโภคเหล็กแผ่นเคลือบอื่น ๆ
หดตัวร้อยละ 28.4 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี หดตัว
ร้อยละ 14.4 และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน หดตัวร้อยละ 9.9 อย่างไรก็ตาม
การบริโภคเหล็กทรงยาวขยายตัวร้อยละ 0.8 จากการบริโภค
เหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน ขยายตัวร้อยละ 10.0
การนำเข้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีมูลค่า 3.7 พันล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 9.8 (%YoY) และขยายตัวจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 19.0
(%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า
เหล็กทรงแบน ขยายตัวร้อยละ 8.8 ผลิตภัณฑ์ที่การนำเข้าขยายตัว
มากที่สุด คือเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ขยายตัวร้อยละ 113.8
(ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน) รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน
ประเภท Carbon steel และ Stainless steel ขยายตัวร้อยละ 27.6
และ27.0 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าเหล็กทรงยาว ขยายตัว
ร้อยละ 13.0 ผลิตภัณฑ์ที่การนำเข้าขยายตัวมาก คือ ท่อเหล็ก
ไร้ตะเข็บ ขยายตัวร้อยละ 73.4 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน)
รองลงมา คือ เหล็กเส้น ประเภท Carbon steel ขยายตัวร้อยละ 36.2
และเหล็กลวด ประเภท Stainless steel ขยายตัวร้อยละ 26.5
แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ไตรมาสที่ 3 ของปี 2565
แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 3 ปี 2565
คาดการณ์ว่าการผลิตจะขยายตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม
ราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มต่ำลง และมีเหล็กจากรัสเซียเข้ามา
ในตลาดเอเชียมากขึ้น เพื่อเป็นการหาตลาดแทนตลาดยุโรป
ทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อเนื่องของไทย เลือกนำเข้า
ผลิตภัณฑ์เหล็กมากกว่าการซื้อในประเทศ
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กไตรมาสที่ 2 ปี 2565 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 จากการผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม
เหล็กทรงแบนและทรงยาว เช่น เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กลวด และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดเย็น
16
อุตสาหกรรมไฟฟ้า
ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก
การจำหน่ายในประเทศ ของเครื่องใช้ไฟฟ้า
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และสถาบันไฟฟ้าและ
อิเล็กทรอนิกส์
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 2 ปี 2565 ดัชนีผลผลิต
อยู่ที่ 107.8 โดยลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 1.4
(%QoQ) และลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 4.3 (%YoY) เนื่องจากผลกระทบ
จากสถานการณ์เงินเฟ้อส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระ
ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น รวมถึงราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น
อย่างต่อเนื่อง โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กระติกน้ำ
ร้อน สายเคเบิ้ล เตาอบไมโครเวฟ หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า
สายไฟฟ้า และ ตู้เย็น ลดลงร้อยละ 36.5, 35.6, 28.4, 24.9,
23.4, 21.0 และ 6.0 ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัว
เพิ่มขึ้น ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า
คอมเพรสเซอร์ และพัดลมตามบ้าน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4,
3.0, 1.5 และ 0.7 ตามลำดับ
การจำหน่ายในประเทศ ไตรมาส 2 ปี 2565 สินค้าที่มี
การปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และ คอมเพรสเซอร์
เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7, 8.3 และ 7.4 ตามลำดับ ในขณะที่
เตาอบไมโครเวฟ กระติกน้ำร้อน สายเคเบิ้ล หม้อหุงข้าว
เครื่องซักผ้า พัดลม สายไฟฟ้า และ ตู้เย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ
75.3, 42.0, 38.8, 33.0, 21.8, 12.5, 7.0 และ 6.0 ตามลำดับ
การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีมูลค่า
4,492.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว
ร้อยละ 0.5 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อนร้อยละ 0.2 (%YoY) โดยสินค้าหลักที่มีการนำเข้า
เพิ่มขึ้น ได้แก่ ตู้เย็น พัดลม และเครื่องปรับอากาศ 13.1,
8.3 และ 2.1 ตามลำดับ
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 2 ปี 2565 มีมูลค่า
การส่งออก 7,211.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยลดลง
จากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 4.9 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.0 (%YoY) โดยส่งออก
ลดลงในตลาดอาเซียน จีน และ ยุโรป โดยพัดลม และ
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ
4.8 และ 4.1 ตามลำดับในขณะที่ เครื่องซักผ้า สายไฟฟ้า
และตู้เย็น ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.2, 5.8 และ 1.0 ตามลำดับ
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 3 ของปี 2565
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า คาดว่าดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกจะหดตัว ร้อยละ 5.0 และ 3.0 ตามลำดับ แม้ว่าสถานการณ์
โควิด-19 เริ่มคลี่คลายในตลาดส่งออกหลักของไทย แต่ยังมีปัจจัยที่ส่งผลลบต่อการหดตัวของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ผลกระทบ
จากสถานการณ์เงินเฟ้อรวมถึงราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสถานการณ์วิกฤตความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน
ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 ลดลงร้อยละ 4.3 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เนื่องจากสถานการณ์เงินเฟ้อส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น โดยสินค้าที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่
กระติกน้ำร้อน สายเคเบิ้ล เตาอบไมโครเวฟ และหม้อหุงข้าว และมีการส่งออกลดลงในตลาด จีน ยุโรป และอาเซียน
17
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก
อิเล็กทรอนิกส์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และสถาบันไฟฟ้าและ
อิเล็กทรอนิกส์
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีดัชนี
ผลผลิตอยู่ที่ 94.0 โดยลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 5.9 (%QoQ) และ
ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.0 (%YoY) โดย
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD และ Semiconductor
devices transistor โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 23.4 และ 3.7 ตามลำดับ
ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ แผงวงจร (PWB),
วงจรพิมพ์ (PCBA), วงจรรวม (IC) และ Printer โดยปรับตัว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1, 5.9, 4.8 และ 3.3 ตามลำดับ เนื่องจาก
สถานการณ์การขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
ชิปเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทำให้
ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการใช้สินค้า
อิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก แต่อย่างไรก็ตามชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์ยังคงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาระบบ
เทคโนโลยี 5G, Data Center และผลิตภัณฑ์สำหรับ
โครงสร้างพื้นฐานทาง IT ทำให้ยังคงมีความต้องการสินค้า
อิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง
การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 2
ปี 2565 มีมูลค่าการนำเข้า 11,651.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 0.9 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 10.6 (%YoY) จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
โดยสินค้าหลักที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ วงจรพิมพ์
วงจรรวม (IC) เครื่องพิมพ์ เครื่องทำสำเนา และ ไดโอด
ทรานซิสเตอร์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำและส่วนประกอบ ปรับตัว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8, 23.1, 21.2 และ 11.0 ตามลำดับ
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 2
ปี 2565 มีมูลค่าการส่งออก 10,796.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 2.0 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 7.8 (%YoY) จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
โดยส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา สินค้าหลัก
ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ไดโอด ทรานซิสเตอร์
กลอุปกรณ์กึ่งตัวนำ และส่วนประกอบ และวงจรรวม (IC)
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และ 0.6 ตามลำดับ ในขณะที่
ตัวเก็บประจุไฟฟ้า วงจรพิมพ์ (PCBA) และHDD ปรับตัว
ลดลงร้อยละ 9.9, 8.4 และ 1.9 ตามลำดับ
แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2565
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัวประมาณร้อยละ 3.0 เนื่องจากสถานการณ์
การเงินเฟ้อที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
ชิปเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทำให้ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการใช้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกได้
ในขณะที่มูลค่าการส่งออกจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่องประมาณร้อยละ 6.0 เนื่องจากสถานการณ์ขาดแคลนซิปทั่วโลก และสถานการณ์
ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกา จีน และไต้หวัน ที่อาจส่งผลต่อ Supply Chain การผลิตในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไม่เพียงพอ
ต่อความต้องการของตลาดโลก ทำให้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีราคาสูงขึ้น
มูลค่าการนำเข้า มูลค่าการส่งออก
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.0 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก
การขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการใช้
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก โดยสินค้าที่มีการผลิตปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD และ Semiconductor devices transistor
18
อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2565
จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการ
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 420,000 คัน โดยแบ่งเป็น
การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ
45-50
การผลิตรถยนต์
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีจำนวน 390,033 คัน
ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ร้อยละ 18.76
(%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน
ร้อยละ 2.97 (%YoY) โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็น การผลิต
รถยนต์นั่ง ร้อยละ 31 รถกระบะ 1 ตันและอนุพันธ์
ร้อยละ 67 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่น ๆ
ร้อยละ 2
การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีจำนวน 196,114 คัน
ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ร้อยละ 15.17
(%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 9.53 (%YoY)
การส่งออกรถยนต์
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีจำนวน 206,520 คัน
ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ร้อยละ 15.06
(%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 4.11 (%YoY) โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็น
การส่งออกรถยนต์นั่ง ร้อยละ 25 รถกระบะ 1 ตัน
ร้อยละ 67 และรถ PPV ร้อยละ 8
มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบและอุปกรณ์
รถยนต์
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีมูลค่า 2,397.35 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ร้อยละ 7.63
(%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 6.21 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของ
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา
ญี่ปุ่น และแอฟริกาใต้
มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์
ยานยนต์
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีมูลค่า 2,021.28 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ร้อยละ 0.48
(%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 30.26 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของ
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน
และสหรัฐอเมริกา
มูลค่าการส่งออกและนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์
รถยนต์ (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำเข้า
ปริมาณการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีปริมาณการผลิตขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้น
ของตลาดในประเทศจากมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมทั้งดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้น แต่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับ
ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมากและค่าเงินบาทที่อ่อนค่ามากทำให้ต้นทุนสินค้าหลายอย่างเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ตลาดส่งออกชะลอตัวโดยเป็นการลดลง
ของการส่งออกรถยนต์นั่ง และรถยนต์ PPV ที่ยังคงมีปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วน
19
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
แนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2565
จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า
450,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85
และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20
การผลิตรถจักรยานยนต์
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีจำนวน 445,217 คัน ลดลง
จากไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ร้อยละ 9.00 (%QoQ) และ
ลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 8.94
(%YoY)
การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศ
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีจำนวน 458,478 คัน เพิ่มขึ้น
จากไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ร้อยละ 2.31 (%QoQ) และ
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 4.95
(%YoY)
การส่งออกรถจักรยานยนต์
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีจำนวน 235,355 คัน
(เป็นการส่งออก CBU 80,441 คัน และ CKD 154,914
ชุด) ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ร้อยละ 11.55
(%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 20.92 (%YoY)
มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีมูลค่า 217.40 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ร้อยละ 17.84
(%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 2.49 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของ
ส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ กัมพูชา บราซิล และ
เวียดนาม
มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์
รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีมูลค่า 292.80 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ร้อยละ 10.47
(%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 11.12 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของ
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น
สหรัฐอเมริกา และจีน
ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีปริมาณการผลิตชะลอตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน อย่างไรก็ดี ตลาดส่งออกและตลาดในประเทศมีการขยายตัว เนื่องจากมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
รวมทั้งดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้น และอุปสงค์ประเทศคู่ค้าที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง
20
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
การตลาดและการจำหน่าย
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง
พาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 10.18
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัวร้อยละ
4.02 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ดัชนี
ผลผลิตที่ขยายตัว เช่น เอทานอล น้ำยาทำความสะอาด และ
น้ำยาล้างจาน เป็นต้น
ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ
10.66 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) แต่หดตัว
ร้อยละ 7.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY)
ดัชนีการส่งสินค้าที่หดตัว เช่น สีน้ำมัน ปุ๋ยเคมี และผงซักฟอก
เป็นต้น
การส่งออกเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีมูลค่า
2,797.07 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 9.73
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY)
โดยผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น
เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ เครื่องสำอาง และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด
การส่งออกขยายตัวในตลาดหลัก เช่น จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม
และอินเดีย แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) การ
ส่งออกหดตัวร้อยละ 0.06
การนำเข้าเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีมูลค่ารวม
6,266.10 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 17.60 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัวร้อยละ 16.02
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY)
โดยผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าขยายตัว เช่น
ปุ๋ยเคมี เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ และเคมีภัณฑ์อินทรีย์ เป็นต้น
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2565
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 3 ปี 2565 คาดว่าการส่งออกและการนำเข้าเคมีภัณฑ์มีแนวโน้มขยายตัว
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศ และสถานการณ์การแพร่ระบาด
ของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกเริ่มผ่อนคลายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของอุตสาหกรรม
เคมีภัณฑ์ เช่น สงครามระหว่างรัฐเซียและยูเครน ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก เป็นต้น
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าขยายตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน เป็นผลมาจากการผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 ส่งผลให้อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์บางประเภทขยายตัว เช่น
เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ เครื่องสำอาง และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด เป็นต้น
มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าเคมีภัณฑ์
(ล้านเหรียญสหรัฐ)
ดัชนีผลผลิตและดัชนีการส่งสินค้า
21
อุตสาหกรรมพลาสติก
การผลิต และการตลาด
ดัชนีผลผลิต ? ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 หดตัวร้อยละ 5.41
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัว
ร้อยละ 5.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
(%YoY) ซึ่งดัชนีผลผลิตที่หดตัวมากที่สุด ได้แก่
กระสอบพลาสติก ท่อและข้อต่อพลาสติก และ
บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ เป็นต้น
ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 หดตัว
ร้อยละ 6.73 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ)
และหดตัวร้อยละ 1.86 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน (%YoY) ซึ่งดัชนีการส่งสินค้าที่หดตัว
มากที่สุด ได้แก่ กระสอบพลาสติก ท่อและข้อต่อ
พลาสติก และบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ เป็นต้น
มูลค่าการส่งออก ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีมูลค่า
1,221.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.81
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัว
ร้อยละ 9.79 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
(%YoY) ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกขยายตัวสูงสุด
คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์
มูลค่าการนำเข้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 หดตัวร้อยละ
0.05 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และ
หดตัวร้อยละ 1.86 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน (%YoY)
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ปริมาณการส่งออก ? การนำเข้า (ตัน)
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง
พาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก ไตรมาสที่ 3 ของปี 2565
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 คาดว่าการผลิตจะชะลอตัว เนื่องจากสถานการณ์ความผันผวนของราคาน้ำมันดิบ
ในตลาดโลกอาจส่งผลกระทบต่อราคาต้นทุนวัตถุดิบ รวมถึงผู้ประกอบการบางรายเริ่มให้ความสนใจยกเลิก
บรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการรีไซเคิล ส่งผลให้การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เกี่ยวข้องลดลงตามความต้องการของผู้บริโภค
อุตสาหกรรมพลาสติกไตรมาสที่ 2 ปี 2565 การผลิตหดตัวลดลง เนื่องจากราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้
ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย สินค้าต่าง ๆ เริ่มมีการปรับราคาเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าราคาสินค้าจะทยอยแพงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เกี่ยวข้อง
22
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 อยู่ที่ระดับ 103.76 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.48 โดยสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนี
ผลผลิตลดลงในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน คือ Ethylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย คือ EPS และ PE resin
ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 อยู่ที่ระดับ 102.52 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.16 โดยสินค้าที่ส่งผลให้
ดัชนีส่งสินค้าลดลงในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ EPS และ PE resin
การส่งออกปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีมูลค่า 3,464.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
14.54 โดยมีการส่งออกปิโตรเคมีไปยังประเทศที่สำคัญ เช่น จีน, เวียดนาม และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การส่งออก
ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลายลดลงร้อยละ 1.52 เช่น PP resin และ PS resin และลดลงในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานร้อยละ 7.18 เช่น
Propylene, Toluene เป็นต้น
การนำเข้าปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีมูลค่า 1,823.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.79
โดยมีการนำเข้าปิโตรเคมีจากประเทศที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น, จีน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การนำเข้าเพิ่มขึ้น
ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ร้อยละ 21.96 เช่น Propylene และ Ethylene Glycol เป็นต้น แต่กลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลายลดลงร้อยละ
3.48 เช่น PS resin และ PET resin เป็นต้น
แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 3 ปี 2565
ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 3 ปี 2565 คาดว่าในภาพรวมของอุตสาหกรรมมีแนวโน้มหดตัวตามจากสถานการณ์เงินเฟอ้ ทั่วโลก
ที่เป็นผลกระทบจากความยืดเยื้อของความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ที่ทำให้ราคาพลังงานโลกเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาธัญพืช-อาหารปรับตัวสูงขึ้น
ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลายประเทศจะปรับชะลอตัวลง ทั้งนี้ต้องติดตามการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ
ที่จะส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 2 ปี 2565 ดัชนีผลผลิตและการส่งสินค้าปรับตัวลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.48
และ 9.46 จากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นซึ่งมาจากผลกระทบของความยืดเยื้อของสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ส่งผลกระทบต่อการค้า
และการขนส่งทั่วโลก ประกอบกับค่าเงินสหรัฐที่แข็งค่าขึ้น และสถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลก ส่งผลให้การผลิต และการส่งออกปิโตรเคมี
ในไตรมาสนี้ปรับตัวลดลง
23
อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์
?
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและกระดาษ
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การส่งออก-นำเข้าเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์
การผลิต
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 การผลิตกระดาษและผลิตภัณฑ์
กระดาษ ชะลอตัวเล็กน้อย (-0.64%) ในกลุ่มกล่องกระดาษ ซึ่งเป็น
ผลิตภัณฑ์กลุ่มเดียวที่มีการผลิตลดลงเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และ
เมื่อเปรียบเทียบ (%YOY) การผลิตกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ
ลดลง (-4.10%) ในทุกกลุ่มสินค้า ทั้งกลุ่มเยื่อกระดาษ กระดาษ
คราฟต์ กระดาษลูกฟูก กระดาษพิมพ์เขียน และกล่องกระดาษ
ยกเว้นกระดาษแข็งสำหรับผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ยังมีการผลิต
เพิ่มขึ้น และยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง
การส่งออก
เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 2 ปี 2565
มีมูลค่าการส่งออกรวม 586.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
(+0.95%) เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) จากกลุ่มกระดาษและ
ผลิตภัณฑ์กระดาษ (+2.73%) หนังสือและสิ่งพิมพ์ (+7.62%)
ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มเยื่อกระดาษหดตัวลง (-5.58%) ซึ่งมี
ประเทศจีนเป็นประเทศคู่ค้าหลักและล็อกดาวน์จากโรคระบาด
โควิด-19 อีกระลอก แต่เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) มูลค่าการส่งออก
ลดลง (-5.17%) จากกลุ่มเยื่อกระดาษ (-24.21%) ซึ่งกว่าร้อยละ
90.00 ส่งออกไปยังประเทศจีน แต่กลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์
กระดาษ และกลุ่มหนังสือและสิ่งพิมพ์ ยังขยายตัวได้เพิ่มขึ้น
(+1.53%) และ (+9.01%) ตามลำดับ
การนำเข้า
เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีมูลค่าการนำเข้ารวม 894.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบ
(%QoQ) และ (%YoY) เพิ่มขึ้นร้อยละ (+5.83%) และ (+1.65%) ตามลำดับ เนื่องจากการผลิตในประเทศลดลงค่อนข้างมาก บางส่วนยังจำเป็น
ต้องมีการนำเข้า โดยเฉพาะกระดาษหรือกระดาษแข็งที่นำกลับคืนมาใช้ได้อีก และกลุ่มผลิตภัณฑ์กระดาษ เช่น บรรจุภัณฑ์กระดาษ และกระดาษ
ชำระ เป็นต้น ยกเว้นกลุ่มหนังสือและสิ่งพิมพ์ นำเข้าลดลง (-9.82%) และ (-23.58%) ตามลำดับ
แนวโน้มในไตรมาสที่ 3 ปี 2565
แนวโน้มในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 คาดว่า ผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ (กระดาษแข็ง กระดาษคราฟต์) จะขยายตัวเพิ่มขึ้น
ตามการบริโภคในประเทศ ขณะเดียวกันบรรจุภัณฑ์กระดาษจะได้อานิสงส์ตามการใช้งานสำหรับซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ และมีการนำเข้า
บางส่วน สำหรับการส่งออก คาดว่า เยื่อกระดาษจะกลับเป็นบวกได้อีกครั้งหากจีนได้คลายล็อกจากโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งมีจีนเป็นตลาดหลัก
สำหรับการส่งออกเยื่อกระดาษจากไทย
อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 การผลิต ดัชนีผลิตอุตสาหกรรมรวมของอุตสาหกรรม
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ หดตัวลง (-0.64%) เมื่อเปรียบเทียบ (%QOQ) และ (-4.10%) เมื่อเปรียบเทียบ (%YOY) สำหรับ
การส่งออกกลุ่มบรรจุภัณฑ์กระดาษ ประเภทกล่องบรรจุ กระดาษพิมพ์เขียน หนังสือและสิ่งพิมพ์ ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และ
(%YoY) ส่วนกลุ่มเยื่อกระดาษ ชะลอตัวคำสั่งซื้อตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า
24
อุตสาหกรรมเซรามิก
การผลิต จำหน่าย และส่งออกเซรามิก
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนี
เศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานกระเบื้อง บุผนัง จำนวน 15 โรงงาน
และ เครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 38 โรงงาน
2. มูลค่าการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด
กระทรวงพาณิชย์
การผลิต ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต
34.57 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ร้อยละ 2.13
(%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.29 (%YoY)
สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 1.76 ล้านชิ้น ลดลงจาก
ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ร้อยละ 8.64 และลดลงจากไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 12.23 เป็นผลจากยอดคำสั่งซื้อที่ลดลงของตลาด
ในประเทศ และตลาดคู่ค้าบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน และ
ฟิลิปปินส์
การจำหน่าย ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 กระเบื้องบุพื้น บุผนัง มีปริมาณ
การจำหน่าย 39.69 ล้านตารางเมตร ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2565
ร้อยละ 8.06 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
6.53 (%YoY) ส่วนการจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มีจำนวน 0.84 ล้านชิ้น
ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ร้อยละ 4.24 และลดลงจากไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.52 จากภาวะเศรษฐกิจและการชะลอตัวของ
ตลาดในประเทศ เนื่องจากค่าครองชีพและอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น
รวมทั้งความกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่
การส่งออก ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 การส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
มีมูลค่า 35.95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2565
ร้อยละ 0.05 แต่ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 49.53
เป็นผลจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากประเทศญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศอาเซียน
เช่น กัมพูชา เมียนมา สปป.ลาว และเวียดนาม ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์
มีมูลค่า 49.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2565
ร้อยละ 23.78 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 21.95
แนวโน้มอุตสาหกรรมเซรามิก ไตรมาส 3 ของปี 2565
การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ ไตรมาส 3 ของปี 2565 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้เพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัว
ของตลาดภายในประเทศและประเทศคู่ค้า ส่วนการส่งออกมีแนวโน้มจะขยายตัวต่อเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
ในหลายประเทศคลี่คลายลง ทำให้อุปสงค์ของประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น แต่ยังมีปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ สถานการณ์เงินเฟ้อ
ราคาพลังงาน ราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท ค่าครองชีพและต้นทุนวัตถุดินที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้า
และกำลังซื้อของผู้บริโภคซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเซรามิก
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประกาศใช้ข้อกำหนดเฉพาะในการรับรอง
คุณภาพผลิตภัณฑ์ภาชนะเซรามิกที่ใช้กับอาหาร เพื่อให้วิธีการ รูปแบบและข้อกำหนดที่ใช้เป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินการให้ใบรับรอง
มีความชัดเจน เป็นที่ยอมรับ และสอดคล้องกับมาตรฐานระดับประเทศและระดับนานาชาติ รวมทั้งเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ตรวจประเมินผู้ยื่นคำขอหรือผู้ได้รับการรับรอง และใช้ในการประเมินผลิตภัณฑ์ทั้งก่อนและหลังได้รับการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์
โดยประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายในประเทศ กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 ลดลงจาก
ภาวะเศรษฐกิจและการชะลอตัวของตลาดในประเทศ เนื่องจากค่าครองชีพและอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ส่วนการส่งออกขยายตัว
เพิ่มขึ้นจากความต้องการของประเทศคู่ค้า
25
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. มูลค่าการส่งออก-นำเข้า : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565
มีจำนวน 10.82 ล้านตัน ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ร้อยละ
4.41 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 7.65 (%YoY)
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)
ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีจำนวน 9.68 ล้านตัน ลดลงจาก
ไตรมาส ที่ 1 ปี 2565 ร้อยละ 8.99 และลดลงจากไตรมาส
เดียวกันของ ปีก่อน ร้อยละ 8.25 (%YoY) เนื่องจากความ
ต้องการในประเทศได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ราคาสินค้า
ที่สูงขึ้นตามราคาพลังงาน ซึ่งเป็นผลกระทบจากความขัดแย้ง
ระหว่างรัสเซียและยูเครน
การส่งออก – นำเข้าปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 2
ปี 2565 มีมูลค่าจากการส่งออก 55.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.41 (%QoQ) เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1
ปี 2565 แต่เมื่อทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนกลับมี
มูลค่าส่งออกลดลง ร้อยละ 26.56 โดยลดลงจากตลาด
บังคลาเทศ เมียนมา กัมพูชา และฟิลิปปินส์ เนื่องจาก
ตลาดส่งออกหลัก แม้จะเริ่มฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของ
โรคไวรัสโควิด-19 แต่เศรษฐกิจในตลาดส่งออกกลับได้รับ
ผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนทำให้
ไม่สามารถฟื้นตัวได้เร็วเท่าที่ควร ส่วนการนำเข้าปูนซีเมนต์
(ไม่รวมปูนเม็ด) มีมูลค่า 15.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง
จากไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ร้อยละ 2.61 และลดลงจาก
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.96
แนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2565
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณ
การผลิตและการจำหน่ายคาดว่าจะยังชะลอตัวต่อเนื่อง ซึ่งแม้จะได้ปัจจัยหนุนจากภาครัฐ เช่น มาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ
โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ยังดำเนินงานต่อ ความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคที่ยังมีกำลังซื้อในระดับราคากลาง แต่ภาวะ
เศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และการเข้าสู่
ฤดูฝนหรือภาวะน้ำท่วมซึ่งมักจะเริ่มเกิดในไตรมาสนี้ทุกปี
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
กระทรวงมหาดไทยมีประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 ขยายกำหนดเวลาเฉพาะการจัดเก็บภาษีที่ดิน
และสิ่งปลูกสร้าง ประจำปี พ.ศ. 2565 ต่อไปอีก 3 เดือนจากเดิมที่จะสิ้นสุดภายในเดือนเมษายน 2565 มาเป็นสิ้นสุดภายในเดือน
กรกฎาคม 2565 เพื่อลดผลกระทบและบรรเทาภาระการเตรียมจ่ายภาษีของผู้จ่ายภาษี จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโควิด-19
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน การผลิต การจำหน่าย การส่งออก
และนำเข้า ปรับตัวลดลงทั้งหมด เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจากภาวะเงินเฟ้อ ราคาพลังงานและต้นทุน
สินค้าสูงขึ้น จากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยังยืดเยื้อ
26
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
การผลิต
เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ดัชนีผลผลิตขยายตัว ร้อยละ 0.68 (%YoY)
จากการส่งออกเสื้อผ้ากีฬา ชุดออกกำลังกาย สูทหรือชุดยูนิฟอร์ม
ขยายตัวในตลาดสำคัญอย่าง สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และ
สหราชอาณาจักร สำหรับเส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน ดัชนีผลผลิตชะลอตัว
ร้อยละ 0.33 และ 7.54 (%YoY) เนื่องจากการบริโภคในประเทศยังคง
ชะลอตัว โดยดัชนีผลผลิตเส้นใยสิ่งทอชะลอตัวจากกลุ่มเส้นใยประดิษฐ์
(เส้นใยโพลีเอสเตอร์) ขณะที่ดัชนีผลผลิตผ้าผืนชะลอตัวจากกลุ่มผ้าทอ
(ฝ้าย) ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2565 พบว่า ดัชนี
ผลผลิตเส้นใยสิ่งทอกลุ่มเส้นใยประดิษฐ์ ขยายตัวร้อยละ 3.69
(%QoQ) ในขณะที่ผ้าผืนและเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายชะลอตัวร้อยละ
18.02 และ 9.93 จากกำลังซื้อในประเทศชะลอตัวจากผลกระทบ
ค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น แม้ตลาดส่งออกฟื้นตัว
การจำหน่ายในประเทศ
เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ชะลอตัว ร้อยละ 2.97 0.33
และ 9.65 (%YoY) เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัว
จากผลกระทบค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นจากราคาพลังงานและอาหาร
ที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยกลุ่มสินค้า
ฟุ่มเฟือย ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2565 พบว่า กลุ่ม
เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ขยายตัว ร้อยละ 6.70 เนื่องจากการผ่อนคลายข้อจำกัด
สำหรับการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในการกระตุ้นการท่องเที่ยวของไทย
การส่งออก-นำเข้า
การส่งออก สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวมเติบโตตลอดทั้งห่วงโซ่
อุปทาน โดยมีมูลค่า 1,768.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 11.04
(%YoY) หากพิจารณากลุ่มสินค้า พบว่ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 1,166.48
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว ร้อยละ 13.34 กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า
601.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว ร้อยละ 6.83 ประเทศคู่ค้าสำคัญ
ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อุปสงค์กลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้น
ในตลาดสำคัญอย่าง สหรัฐอเมริกา อินเดีย เมียนมา และกัมพูชา ทั้งนี้ หาก
เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2565 (%QoQ) พบว่า การส่งออกกลุ่ม
เส้นใยสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัวต่อเนื่อง
การนำเข้า สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวมเติบโตตลอดทั้งห่วงโซ่
อุปทาน โดย มีมูลค่า 1,432.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว ร้อยละ
13.42 (%YoY) ในกลุ่มด้ายและเส้นใย ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ส่วนหนึ่งเพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น
คาดการณ์แนวโน้มไตรมาสที่ 3 ปี 2565
ภาวะอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยจากอุปสงค์ภายในประเทศจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว
ประกอบกับการขยายตัวต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่อุปทานของการส่งออกสินค้า โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าสำคัญอย่าง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และ
สหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังเปราะบางจากปัญหาค่าครองชีพสูง ความผันผวนของราคาวัตถุดิบ
และพลังงาน ทำให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ
ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 ดัชนีผลผลิตกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม ขยายตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากตลาดส่งออกสำคัญที่เติบโตต่อเนื่อง
โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และสหราชอาณาจักร ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการควบคุมและนโยบายการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ
ในขณะที่ดัชนีผลผลิตกลุ่มสิ่งทอและเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายชะลอตัวหากเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อส่งผลต่อค่าครองชีพที่ปรับตัว
สูงขึ้น ประชาชนจึงระมัดระวังการใช้จ่าย
27
อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน
ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ใน
ประเทศ (ล้านชิ้น)
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้
(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีจำนวน 1.68
ล้านชิ้น ลดลงร้อยละ 36.60 และ 32.53 จากไตรมาสที่ผ่านมาและ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ เป็นผลจากปริมาณคำสั่งซื้อ
ในประเทศและต่างประเทศที่ลดลง
การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ ไตรมาสที่ 2
ปี 2565 มีจำนวน 0.28 ล้านชิ้น ลดลงร้อยละ 3.45 และ 12.50
จากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ
จากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ยังคงชะลอตัว อัตราเงินเฟ้อและ
ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ความสามารถในการใช้จ่าย
ของผู้บริโภคลดลง
การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีมูลค่ารวม
1,082.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.69 จากไตรมาส
ที่ผ่านมา แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
พบว่า ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.85 แบ่งเป็น เครื่องเรือนและ
ชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ไม้ และไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ มีมูลค่า
310.42 40.88 และ 731.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดย
หากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า มูลค่าการ
ส่งออกเครื่องเรือนและชิ้นส่วนลดลงร้อยละ 2.32 ในขณะที่มูลค่า
การส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.78 และมูลค่าการ
ส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.41 ทั้งนี้ใน
ภาพรวมมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ปรับเพิ่มขึ้น
ต่อเนื่อง 8 ไตรมาส
แนวโน้มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ไตรมาสที่ 3 ของปี 2565
ไตรมาสที่ 3 ปี 2565 คาดการณ์ได้ว่า ปริมาณการผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้จะกลับมาขยายตัวจากการผลิตเพื่อตอบสนอง
ความต้องการของตลาดต่างประเทศที่น่าจะกลับมาฟื้นตัวจากค่าระวางเรือขนส่งสินค้าที่เริ่มปรับลดลง ในส่วนของปริมาณการจำหน่าย
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศคาดการณ์ได้ว่าจะยังคงชะลอตัวจากปัญหาเศรษฐกิจ ทางด้านการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ คาดการณ์
ได้ว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากอุปสงค์ความต้องการของประเทศคู่ค้าสำคัญที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
เครื??องเรือนและชิ??นส่วน ผลิตภัณฑ์ไม้
ไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ มูลค่ารวม
เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีปริมาณลดลงจาก
ปริมาณคำสั่งซื้อในประเทศและต่างประเทศที่ลดลง ทางด้านการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ในภาพรวมมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
จากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ และไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้
28
อุตสาหกรรมยา
ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศ (ตัน)
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ: มีการปรับปรุงกรอบข้อมูลการสำรวจจากปี 2564
มูลค่าการส่งออก-นำเข้ายา (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
การผลิตยา ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีปริมาณ 11,744.65 ตัน
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.78 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน จากการขยายตัวของการผลิตยาเม็ด ยาน้ำ
ยาแคปซูล และยาครีม ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ 41.87
10.78 11.24 และ 17.21 ตามลำดับ ตามคำสั่งซื้อจากร้าน
ขายยาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
การจำหน่ายยา ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีปริมาณ 10,166.86 ตัน
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.56 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน จากการขยายตัวของการจำหน่ายยาเม็ด ยาน้ำ
ยาแคปซูล ยาครีม และยาผง ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ
30.52 6.98 2.52 12.62 และ 16.79 ตามลำดับ ตามความ
ต้องการใช้ยาเพื่อรักษาโรค โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่ม
ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น
การส่งออกยา ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีมูลค่า 107.26
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.19 เมื่อเปรียบเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวที่ดีในตลาด
เวียดนาม กัมพูชา และมาเลเซีย สำหรับการนำเข้ายามีมูลค่า
458.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 0.65 จาก
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมยา ไตรมาสที่ 3 ของปี 2565
ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาในประเทศ จะมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามความต้องการใช้ยาเพื่อรักษาโรคที่เพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออกคาดว่า จะมีแนวโน้ม
ชะลอตัว เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของตลาดหลัก โดยเฉพาะตลาดอาเซียน อาทิ ลาว และเมียนมา
ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศไตรมาสที่ 2 ปี 2565 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นและความต้องการใช้ยาเพื่อรักษาโรค โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วยโรค NCDs
ที่มีจำนวนมากขึ้น ขณะที่ภาคการส่งออกมีทิศทางการขยายตัวที่ดีในตลาดเวียดนาม กัมพูชา และมาเลเซีย
29
อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง
ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์
และถุงมือยาง
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์
และถุงมือยาง (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์
การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง
ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีจำนวน 0.43 ล้านตัน 18.01 ล้านเส้น และ
8,096.93 ล้านชิ้น ตามลำดับ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ
4.88 จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตยางแท่ง การผลิตยางรถยนต์
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.86 จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตยางรถยนต์นั่ง
ยางรถกระบะ ยางรถบรรทุกและรถโดยสาร และยางรถแทรกเตอร์
และการผลิตถุงมือยางมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.93 จากการผลิต
เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นหลัก
การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง
ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีจำนวน 0.11 ล้านตัน 11.16 ล้านเส้น และ
572.74 ล้านชิ้น ตามลำดับ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐมอยู่ในภาวะทรงตัว
ในขณะที่การจำหน่ายยางรถยนต์และถุงมือยางมีปริมาณลดลง
ร้อยละ 0.09 และ 18.36 ตามลำดับ ตามอุปสงค์ความต้องการ
ในประเทศที่ปรับลดลง
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง
ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีมูลค่า 1,326.64 1,837.00 และ 427.11
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.05 และ 15.02 ตามลำดับ จากการขยายตัวที่ดีของตลาด
ส่งออกสำคัญ ในขณะที่การส่งออกถุงมือยางลดลงร้อยละ 50.80
จากราคาของถุงมือยางที่ปรับลดลงจากช่วงที่ผ่านมา
แนวโน้มอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ไตรมาสที่ 3 ของปี 2565
ไตรมาสที่ 3 ปี 2565 คาดการณ์ได้ว่า ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมจะขยายตัวจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการ
ของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทางด้านปริมาณการผลิตยางรถยนต์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากการผลิตเพื่อตอบสนอง
ความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในส่วนของปริมาณการผลิตถุงมือยางคาดการณ์ว่าจะขยายตัวจากความต้องการใช้
ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ และแนวโน้มการระบาดของโรคฝีดาษ
วานร
ลา นเหรียญสหรัฐฯ
ยางแปรรูปขัน?? ปฐม ยางรถยนต
ถุงมือยาง อัตราการขยายตัว (YOY)
การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากการผลิต
เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ในส่วนของการจำหน่ายในประเทศยางแปรรูปขั้นปฐมอยู่ในภาวะ
ทรงตัว ขณะที่ยางรถยนต์และถุงมือยางมีปริมาณลดลงตามอุปสงค์ความต้องการในประเทศที่ลดลง
30
อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง
การผลิต การส่งออก การนำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ที่มา : 1. ดัชนีผลผลิต ? สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2. มูลค่าการส่งออก การนำเข้า ? กระทรวงพาณิชย์
* รวมถึงกระเป๋าถือและสิ่งที่คล้ายกัน อานม้าและเครื่องเทียมลาก **ปี 2564 เพิ่มผลิตภัณฑ์และปรับค่าถ่วงน้ำหนัก
การผลิต
ไตรมาส 2 ปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอก มีดัชนี
การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.58 การผลิตรองเท้าเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 43.77 และกระเป๋าเดินทางเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.62
จากการจำหน่ายในประเทศและการส่งออกที่เพิ่มขึ้น
การส่งออก-นำเข้า
การส่งออก ไตรมาส 2 ปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น
ในทุกผลิตภัณฑ์ หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด
เครื่องใช้สำหรับเดินทาง และรองเท้า เพิ่มขึ้นร้อยละ
16.59 73.34 และ 9.47 ตามลำดับ หนังและผลิตภัณฑ์
มีมูลค่าส่งออก 203.99 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีตลาด
ส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้นได้แก่ เวียดนาม จีน สหรัฐอเมริกา
อินโดนีเซีย และฮ่องกง เนื่องจากหลายประเทศผ่อนคลาย
มาตรการโควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนมั่นใจและใช้จ่าย
เพิ่มขึ้น
การนำเข้า ไตรมาส 2 ปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หนังดิบและหนังฟอกมีมูลค่า
ลดลงร้อยละ 35.82 รองเท้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.45
สำหรับกระเป๋าเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.18 โดยมีแหล่งนำเข้า
ที่สำคัญได้แก่ อิตาลี ฝรั่งเศส จีน สเปน และเกาหลีใต้
เป็นผลมาจากมาตรการเยียวยาและกระตุ้นการใช้จ่าย
เพิ่มกำลังซื้อของประชาชน และเริ่มมีนักท่องเที่ยว
เดินทางเข้าประเทศตามมาตรการเปิดประเทศของไทย
แนวโน้มอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาสที่ 3 ปี 2565
การผลิตเครื่องหนังและรองเท้า ไตรมาส 3 ปี 2565 เทียบกับปีก่อนการฟอกและตกแต่งหนังฟอก การผลิต
กระเป๋าและรองเท้ามีแนวโน้มที่ดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากการส่งออกและการจำหน่ายในประเทศที่เพิ่มขึ้น หากเปรียบเทียบ
กับไตรมาสก่อนหน้า ทุกผลิตภัณฑ์การผลิตเพิ่มขึ้น จากการผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 และหลายประเทศเริ่ม/เตรียมเปิด
ประเทศเข้าสู่สภาวะปกติ แต่สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก โดยเฉพาะราคาพลังงาน
น้ำมันและก๊าซมีการปรับราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับราคาสูงขึ้น กระทบกำลังซื้อ
ของประชาชนเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้นกระทบต่อการค้าทั่วโลก
การส่งออก เครอ?? งใชส้ หรับเดินทาง การนำเขา กระเป๋
การส่งออก รองเทา และชน?? ส่วน การนำเขา รองเทา
การส่งออก หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด การนำเขา หนังดิบและหนังฟอก
ไตรมาส 2 ปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอก และการผลิตรองเท้า
มีการผลิตเพิ่มขึ้น ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกและการจำหน่ายในประเทศ และทั่วโลกได้มีมาตรการที่ผ่อนคลาย
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หลายประเทศได้เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายให้เศรษฐกิจ
กลับสู่สภาวะปกติ แต่ยังคงต้องจับตาดูสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน หากยังยืดเยื้อจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไปทั่วโลก
31
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
การผลิต การจำหน่าย และการส่งออก
ที่มา : 1. ดัชนีผลผลิต , ดัชนีการส่งสินค้า ? สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. มูลค่าการส่งออก การนำเข้า ? กระทรวงพาณิชย์
การผลิต
การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาส 2 ปี 2565
เมื่อเปรียบเทียบ (%YOY) ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.42 จาก
การผลิตเครื่องประดับแท้และเครื่องประดับเทียม โดยเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 17.78 และ 13.21 ผลจากการส่งออกและจำหน่าย
ในประเทศ ส่วนการผลิตเพชรลดลงร้อยละ 5.56
การจำหน่าย
การจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาส 2 ปี 2565
เมื่อเปรียบเทียบ (%YOY) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.42 จากเพชร
เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม เพิ่มขึ้นร้อยละ
8.11 3.27 และ 4.16 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ
เชื้อไวรัสโควิด-19 ของทั่วโลกที่เริ่มคลี่คลาย การระบาด
ลดความรุนแรง เริ่มมีนักท่องเที่ยว รวมทั้งภาครัฐมีมาตรการ
เยี่ยวยาฟื้นฟูต่อเนื่อง ช่วยให้ประชาชนมีความมั่นใจและ
ใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
การส่งออก
อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ไตรมาส 2 ปี 2565
เมื่อเปรียบเทียบ (%YOY) มีมูลค่ารวม 1,968.40 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.67 จากมูลค่าการส่งออก เพชร
พลอย เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม เพิ่มขึ้น
ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับ
ภาพรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการผลิตเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้น (ไม่รวมทอง) จากการที่ทุกประเทศได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการ
ล็อกดาวน์ และเปิดประเทศเข้าสู่สถานการณ์ปกติ และภาครัฐมีมาตรการส่งเสริมและเยียวยาประชาชนต่อเนื่อง แต่คงต้อง
จับตาสงครามรัสเซีย-ยูเครน หากยืดเยื้อจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไปทั่วโลก
แนวโน้มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 3 ปี 2565
การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาส 3 ปี 2565 คาดว่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นเล็กน้อย ตามทิศทางเศรษฐกิจโลก
ที่เริ่มฟื้นตัว และสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน มีมาตรการที่ผ่อนปรนให้มีการส่งสินค้าได้บ้างแล้ว อีกทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่แพร่กระจายตัวรวดเร็วแต่ความรุนแรงลดลง ทั้งนี้ยังคงต้องดูผลกระทบจากราคาพลังงาน น้ำมันและก๊าซ
ที่ปรับราคาสูงขึ้น และภาวะเงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลก
32
อุตสาหกรรมอาหาร
ดัชนีผลผลิต จำหน่าย ส่งออก และนำเข้าอุตสาหกรรมอาหาร
ที่มา : ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและปริมาณจำหน่าย รวบรวมจากสำนักงาน
เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)
มูลค่าส่งออกและนำเข้า รวบรวมจากกระทรวงพาณิชย์ โดยการจัดกลุ่มของ สศอ.
ดัชนีผลผลิตอาหาร ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 อยู่ที่ระดับ 96.0 หดตัวเล็กน้อย
ร้อยละ 0.6 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
โดยผลผลิตสินค้าอาหารที่หดตัว เช่น น้ำมันปาล์ม หดตัวร้อยละ 15.4
จากสินค้าสำคัญคือ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ หดตัวร้อยละ 18.4 เนื่องจาก
ความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมชะลอตัว จากการที่ราคาวัตถุดิบยังคงอยู่
ในระดับสูง น้ำมันปาล์มดิบ หดตัวร้อยละ 12.8 เนื่องจากความต้องการใช้
ในประเทศทั้งการบริโภคและนำไปผลิตไบโอดีเซลลดลงเมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากผลผลิตปาล์มน้ำมัน
ลดลง เนื่องจากฝนตกหนักส่งผลให้น้ำท่วมในพื้นที่สวนปาล์ม รองลงมาคือ
ประมง หดตัวร้อยละ 3.8 จากสินค้าสำคัญคือ กุ้งแช่แข็ง หดตัวร้อยละ
14.9 เนื่องจากการบริโภคของตลาดทั้งในและต่างประเทศชะลอตัว
การผลิตผลิตภัณฑ์นม หดตัวร้อยละ 5.8 จากสินค้าสำคัญคือ นม
พร้อมดื่ม หดตัวร้อยละ 8.9 การผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป หดตัวร้อยละ
2.8 จากสินค้าสำคัญคือ อาหารสุกรสำเร็จรูป หดตัวร้อยละ 16.4 อาหาร
สัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป หดตัวร้อยละ 2.0 เนื่องจากวัตถุดิบ เช่น ข้าวโพด
เลี้ยงสัตว์ ยังคงมีราคาสูง และมีปริมาณไม่เพียงพอต่อการผลิต ส่งผลให้
ผู้ผลิตอาหารสัตว์ชะลอการผลิต สุราขาว หดตัวร้อยละ 10.2 เนื่องจาก
การปรับลดการผลิตจากการจำหน่ายสินค้าได้ลดลง เครื่องดื่มที่ไม่มี
แอลกอฮอล์ หดตัวร้อยละ 6.7 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำดื่มให้กำลังงาน
หดตัวร้อยละ 19.6 และเครื่องดื่มรสน้ำผลไม้ หดตัวร้อยละ 18.2
เนื่องจากผู้บริโภคลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นตามภาวะเงินเฟ้อ
การจำหน่ายอาหารในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2565
มีปริมาณ 58,181.82 พันตัน ขยายตัวร้อยละ 8.5 (%YoY)
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีการบริโภค
ในประเทศเพิ่มขึ้น ได้แก่ สับปะรดกระป๋อง ขยายตัวร้อยละ 72.4
รองลงมาคือ ผลไม้กระป๋องอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 60.4 อาหาร
ชุดสำเร็จรูปพร้อมปรุง ขยายตัวร้อยละ 48.3 และเครื่องปรุงรส
ประจำโต๊ะอาหาร ขยายตัวร้อยละ 21.9
การส งออ ก ไต รม ส ที่ 2 ปี 2565 มีม ล ค 11,380.1
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 25.1 (%YoY) เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากสินค้าสำคัญ เช่น น้ำตาลทราย
จากตลาดส่งออกสำคัญคือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา
รองลงมาคือ ข้าวและธัญพืช จาก 1) ข้าว เนื่องจากราคาข้าวของ
ไทยปรับอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้ และ 2) ผลิตภัณฑ์
มันสำปะหลัง เนื่องจากจีนซึ่งเป็นตลาดหลักได้นำเข้ามันเส้น
ในการใช้ผลิตเอทานอล และแป้งมันสำปะหลังใช้ในอุตสาหกรรม
อาหาร เพื่อทดแทนในช่วงที่แป้งข้าวโพดยังมีราคาสูงขึ้น
อย่างต่อเนื่อง และผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและ
แปรรูป โดยตลาดที่สำคัญคือ จีน
การนำเข ไตรมาสท 2 ป 2565 มีม ลค 4,905.89
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 8.6 (%YoY) เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้าพืชและผลิตภัณฑ์
จากพืช สินค้าสำคัญคือ ธัญพืช เนื่องจากการขาดแคลนผลผลิต
จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนจึงส่งผลให้
ราคาผลผลิตปรับตัวสูงขึ้น รองลงมาคือเมล็ดพืชน้ำมัน เนื่องจาก
ความต้องการบริโภคน้ำมันในประเทศลดลงจากการที่วัตถุดิบ
มีราคาสูง
แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 3 ของปี 2565
คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมขยายตัวจากนโยบายเปิดประเทศ
ที่ทำให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อุปสงค์เพิ่มขึ้น รวมถึง
เศรษฐกิจในประเทศค่อย ๆ ทยอยฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม
การอ่อนค่าของเงินบาทอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต
สินค้า ในส่วนของการนำเข้าวัตถุดิบที่ต้องใช้เงินบาทต่อดอลลาร์
เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนภาคอุตสาหกรรมและส่งผลให้ราคา
สินค้าปรับตัวสูงขึ้น สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะหดตัวลง
เล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก
เศรษฐกิจและการค้าโลกมีการชะลอตัวจากภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลให้
คำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าชะลอตัว
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 2 ปี 2565 หดตัวเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งจากราคาวัตถุดิบ ราคาพลังงาน และค่าขนส่ง โดยดัชนีผลผลิตสินค้าอาหารที่หดตัว เช่น น้ำมันปาล์ม กุ้งแช่แข็ง นมพร้อมดื่ม อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป เครื่องดื่มที่มี
แอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ สำหรับมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัว เช่น น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์ข้าว และมันสำปะหลัง ผักผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
This website uses cookies.