รู้ไว้มีอะไรปรับเปลี่ยนบ้างกับการแก้ไขเพิ่มเติม “ป.อาญา” และ “พ.ร.บ.จราจรฯ”

บทความของผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ที่ใช้นามปากกาว่า “ท่านติ.” ให้ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย คือ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 29) พ.ศ.2565 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565

——————

ก. ประเด็นที่น่าสนใจในการแก้ไข ป.อาญา ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อาญา (ฉบับที่ 29) พ.ศ.2565

(1) ประกาศฯ 7 พฤษภาคม 2565 ให้มีผลในวันถัดจากวันประกาศ ตามมาตรา 2

(2) มีผลบังคับใช้ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2565

(3) แก้ไข มาตรา 73 อายุเด็กจากเดิมไม่เกิน 10 ปี เป็นไม่เกิน 12 ปี กระทําผิดไม่ต้องรับโทษ

(4) แก้ไข มาตรา 74 อายุเด็กจากเดิม กว่า 10 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี ทําผิดไม่ต้องรับโทษแต่ศาลมีอํานาจใช้วิธีการสําหรับเด็ก เป็น กว่า 12 ปี ไม่เกิน 15 ปี ทําผิดไม่ต้องรับโทษแต่ศาลมีอํานาจใช้วิธีการสําหรับเด็ก

**ข้อสังเกต..นับแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2565 ผู้ต้องหาหรือจําเลย ที่อายุไม่เกิน 12 ปี ถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดอาญา และคดีอยู่ระหว่างการสอบสวน การสั่งคดี หรือการพิจารณาคดี พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล ต้องมีคําสั่งยุติการดําเนินคดีและเบี่ยง (Diversion) ผู้ต้องหา หรือจําเลย ออกจากกระบวนการสอบสวน การสั่งคดี หรือการพิจารณาคดี นับแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป

ข. ประเด็นที่น่าสนใจในการแก้ไข พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565

(1) ประกาศฯ 7 พฤษภาคม 2565 ให้มีผลเมื่อพ้น 120 วัน นับแต่วันประกาศ ตามมาตรา 2

(2) มีผลบังคับใช้ในวันที่ 8 กันยายน 2565

(3) ยกเลิก คําสั่ง หน.คสช. ที่ 22/2558 เรื่อง มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแข่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในทางฯ ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ตามมาตรา 3

(4) ยกเลิก คําสั่ง หน.คสช. ที่ 46/2558 เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการขับขี่ยานพาหนะฯ ตาม มาตรา 3

*** ข้อสังเกต บรรดาคําสั่งที่ออกตาม คําสั่ง หน.คสช.ที่ 22/2558 และที่ 46/2558 ที่ออกและมีผลใช้บังคับอยู่ ให้มีผลใช้บังคับให้มีผลต่อไปเท่าเวลาที่ มาตรา 38 พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ฉบับที่ 13 กําหนด

(5) เพิ่มความผิดฐาน “ขับรถในลักษณะที่เห็นได้ว่าไม่คํานึงถึงความปลอดภัยในชีวิตหรือร่างกาย ของผู้อื่น” ตามมาตรา 43 (8)

(6) บัญญัติให้พนักงานสอบสวนมีอํานาจขอให้แพทย์เก็บตัวอย่างเลือด หรือปัสสาวะ ตรวจหาสารเสพติดหรือปริมาณแอลกอฮอล์จากร่างกายผู้ขับขี่ กรณีที่เกิดอุบัติเหตุแล้ว ผู้ขับขี่หมดสติหรืออยู่ในสภาพที่ไม่อาจให้ความยินยอมให้ตรวจได้ ตามมาตรา 43 ทวิ/1 (กรณีสงสัยว่าผู้ขับขี่ขับเสพ) และมาตรา 142 วรรคหก (กรณีสงสัยว่าผู้ขับขี่เมาขับ)

(7) เพิ่มบทบัญญัติ ให้ผู้โดยสารที่นั่งแถวอื่นต้องรัดเข็มขัดนิรภัย ตามมาตรา 123 (2) (ก)

(8) เพิ่มบทบัญญัติ ให้ต้องมีที่นั่งนิรภัยสําหรับเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ตามมาตรา 123 (2) (ข)

(9) เพิ่มบทบัญญัติ ให้บุคคลที่สูงไม่เกิน 135 ซม. ต้องรัดเข็มขัดนริภัยไม่ว่าจะนั่งแถวใดของรถ ตาม มาตรา 123 (2) (ค)

(10) เพิ่มบทบัญญัติ ให้ผู้ขับรถรับจ้างมีหน้าที่แจ้งให้ผู้โดยสารรัดเข็มขัดนิรภัย ตามมาตรา 123/3

(11) เพิ่มบทสันนิษฐานการกระทําความผิด “ฐานพยายามแข่งรถ” หากปรากฏพฤติการณ์ว่า

1.มีการใช้รถ 5 คันขึ้นไป รวมกลุ่มกันในทางหรือบริเวณทาง โดยมีการนัดหมายแข่งรถกัน หรือมีพฤติการณ์จะแข่งรถ หรือ

2.มีการใช้รถแต่งหรือรถดัดแปลง รวมกลุ่มกันในทาง โดยมีการนัดหมายแข่งรถกัน หรือมีพฤติการณ์จะแข่งรถ ตามมาตรา 134 วรรคสอง

(12) เพิ่มบทบัญญัติ ให้ผู้ที่รับตกแต่งดัดแปลงสภาพรถ (ร้านแต่งรถ) มีความผิด

1.หากรถที่ดัดแปลงสภาพถูกนําไปใช้ในทาง ให้ผู้ตกแต่งดัดแปลงสภาพรถรับผิดฐานนํารถที่ดัดแปลงสภาพไปใช้ในทาง 2.หากรถที่ดัดแปลงถูกนําไปแข่งในทาง ให้ผู้ตกแต่งดัดแปลงสภาพรถ รับผิดฐานสนับสนุนการแข่งรถ ตามมาตรา 134/2

(13) เพิ่มระวางโทษ ตามมาตรา 147 จากเดิม ปรับไม่เกิน 200 บาท เป็นปรับไม่เกิน 500 บาท

(14) เพิ่มระวางโทษ ตามมาตรา 148 จากเดิม ปรับไมเกิน 500 บาท เป็นปรับไม่เกิน 2,000 บาท

(15) เพิ่มระวางโทษ ตามมาตรา 149 จากเดิม ปรับไม่เกิน 500 บาท เป็นปรับไม่เกิน 2,000 บาท

(16) เพิ่มระวางโทษ ตามมาตรา 150 จากเดิม ปรับไม่เกิน 500 บาท เป็นปรับไม่เกิน 2,000 บาท

(17) เพิ่มระวางโทษ ตามมาตรา 151 จากเดิม ปรับตั้งแต่ 200-500 บาท เป็นปรับไม่เกิน 2,000 บาท

(18) เพิ่มระวางโทษ ตามมาตรา 152 จากเดิม ปรับไม่เกิน 1,000 บาท เป็นปรับไม่เกิน 4,000 บาท

(19) เพิ่มระวางโทษ ตามมาตรา 153 จากเดิม ปรับไม่เกิน 1,000 บาท เป็นปรับไม่เกิน 4,000 บาท

(20) เพิ่มระวางโทษ ตามมาตรา 154 จากเดิม ปรับครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท เป็นปรับไม่เกิน 4,000 บาท

(21) เพิ่มระวางโทษ ตามมาตรา 155 จากเดิม ปรับไม่เกิน 1,000 บาท เป็นปรับไม่เกิน 4,000 บาท

(22) เพิ่มระวางโทษ ตามมาตรา 157 จากเดิม ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท เป็นปรับไม่เกิน 4,000 บาท

(23) เพิ่มระวางโทษ ตามมาตรา 157/1 วรรคหนึ่ง จากเดิม ปรับไม่เกิน 1,000 บาท เป็นปรับไม่เกิน 4,000 บาท

(24) เพิ่มระวางโทษ ตามมาตรา 158 จากเดิม จําคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เป็นจําคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

(25) เพิ่มบทบัญญัติให้ การขับรถระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนญุาตขับขี่เป็นความผิด มีระวางโทษ จําคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ตามมาตรา 156

** ข้อสังเกต ข้อหานี้เกินอํานาจเปรียบเทียบของพนักงานสอบสวน

(26) เพิ่มระวางโทษ กรณีขับรถชนผู้อื่นถึงแก่ความตาย+แล้วหลบหนี ตาม ป.อาญา มาตรา 291 + พ.ร.บ.จราจรฯ มาตรา 78 ต้องรับโทษหนักขึ้นอีกกึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 160 วรรคสอง

(27) เพิ่มระวางโทษ กรณีขับรถประมาทชนผู้อื่นบาดเจ็บสาหัส+แล้วหลบหนี ตาม ป.อาญา มาตรา 300 + พ.ร.บ.จราจรฯ มาตรา 78 ต้องรับโทษหนักขึ้นอีก กึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 160 วรรคสอง

(28) เพิ่มระวางโทษ กรณีผู้ขับขี่ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตขับขี่ + ถูกสั่งพักใช้/ถูกยึด/ถูกเพิกถอน ใบอนุญาตขับขี่ แล้วไปขับรถประมาทชนผู้อื่นบาดเจ็บสาหัสตาม ป.อาญา มาตรา 300 หรือตาย ตาม ป.อาญา มาตรา 291 ต้องรับโทษหนักขึ้นอีกกึ่งหนึ่ง ตาม มาตรา 160 ทวิ/1

(29) เพิ่มระวางโทษสําหรับ ผู้ขับรถรับจ้างสาธารณะ เมาแล้วขับ ต้องรับโทษหนักขึ้นอีก 1 ใน 3 ของความผิดฐาน เมาแล้วขับ ตาม มาตรา 160 ตรี วรรคห้า

**ข้อสังเกต ระวางโทษฐานเมาแล้วขับ จําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท ตามมาตรา 43 (2) + 160 ตรี วรรคหนึ่ง

(30) เพิ่มระวางโทษ สําหรับการกระทําความผิดฐาน “เมาแล้วขับซ้ำภายใน 2 ปีนับแต่วันที่กระทําความผิดครั้งแรกหรือครั้งก่อน” ต้องรับโทษ จําคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับ 50,000-100,000 บาท ตามมาตรา 160 ตรี /1 และศาลต้องลงโทษ จําคุก+ปรับ ด้วยเสมอ ตามมาตรา 160 ตรี/3

** ข้อสังเกต การกระทําความผิด “เมาแล้วขับภายใน 2 ปี นับแต่ความผิดครั้งก่อน” มีระวางโทษปรับเกิน 60,000 บาท ต้องขึ้นศาลจังหวัด

(31) เพิ่มระวางโทษ สําหรับการกระทําความผิดฐาน “เมาแล้วขับ+โดยไม่มีใบขับขี่ หรือเมาแล้วขับระหว่างถูกพักใช้+เพิกถอนใบขับขี่” ต้องรับโทษเพิ่มขึ้นอีก 1 ใน 3 ตาม มาตรา 160 ตรี/2 วรรคหนึ่ง

**ข้อสังเกต ระวางโทษฐานเมาแล้วขับ จําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท ตามมาตรา 43 (2) + 160 ตรี วรรคหนึ่ง

(32) เพิ่มระวางโทษ กรณี “เมาแล้วขับ+โดยไม่มีใบขับขี่ หรือเมาแล้วขับระหว่างถูกพักใช้+เพิกถอนใบขับขี่+ชนผู้อื่นบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัสหรือตาย” ต้องระวางโทษหนักขึ้นอีก กึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 160 ตรี/2 วรรคสอง

** ข้อสังเกต ความผิดฐานเมาแล้วขับชนผู้อื่นบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส หรือตาย ตามมาตรา 160 ตรี วรรคสอง วรรคสาม วรรคสี่ จึงต้องขึ้นศาลจังหวัดอยู่แล้ว**

(33) เพิ่มอํานาจให้พนักงานอัยการ ร้องขอต่อศาลให้วางข้อกําหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ปฏิบัติไม่เกิน 3 ปี กรณีบุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปี กระทําผิดฐานแข่งรถในทาง เพื่อป้องกันการกระทําผิดซ้ำ ตามมาตรา 160 เบญจ (1)

(34) เพิ่มอํานาจให้พนักงานอัยการ ร้องขอต่อศาลให้ทําทัณฑ์บน กรณีบุคคลอายุกว่า 18 ปี กระทําผิดฐานแข่งรถในทาง เพื่อป้องกันการกระทําผิดซ้ำ ตามมาตรา 160 เบญจ (2)

(35) กรณีศาลมีคําสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ให้ศาลแจ้งคําสั่งไปยังนายทะเบียนเพื่อ ดําเนินการตามกฎหมาย ตามมาตรา 162/2