Motor Sport Sponsored

ประชาชนห่วงระเบียบสังคมกรุงเทพฯที่หายไป – ไทยโพสต์

Motor Sport Sponsored
Motor Sport Sponsored

13 มิ.ย.64 – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ระเบียบสังคมกรุงเทพ ที่หายไป กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพในกรุงเทพมหานครโดยดำเนินโครงการทจำนวน 1,059 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5 – 12 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา

เมื่อถามถึงความพอใจต่อช่วงแรก ๆ ของความเข้มงวด กวดขันจัดระเบียบสังคมกรุงเทพมหานคร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.7 พอใจต่อการจัดระเบียบ พัฒนาโครงข่าย สะดวกสบาย เดินทาง สนามบิน รถไฟฟ้าใต้ดิน บนดิน เชื่อมโยงกรุงเทพ จังหวัดต่าง ๆ รองลงมาคือ ร้อยละ 88.4 พอใจการจัดระเบียบวินมอเตอร์ไซค์ ที่มีรูปถ่าย ป้ายชื่อคนขับ ร้อยละ 86.6 พอใจการจัดระเบียบทางเท้า คืนพื้นที่คนเดินทางเท้า ร้อยละ 86.5 พอใจการจัดระเบียบวินรถตู้สาธารณะ ร้อยละ 85.1 พอใจการจัดระเบียบ ร้านค้าแผงลอย ร้อยละ 83.1 พอใจการจัดระเบียบรถแท็กซี่ ร้อยละ 83.1 เช่นกัน พอใจการจัดระเบียบ ที่อยู่อาศัย บ้านมั่นคง ร้อยละ 81.5 พอใจการจัดระเบียบ บ้านริมคลอง และร้อยละ 74.5 พอใจการจัดระเบียบ คนเร่ร่อน ไร้ที่พักพิง

ที่น่าพิจารณา คือ ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดระเบียบสังคม พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.5 ระบุ ความสะดวกและสบายของประชาชน รองลงมาคือร้อยละ 92.9 ระบุ ความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ร้อยละ 92.0 ระบุ การไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ไม่ทำผู้อื่นเดือดร้อน ในขณะที่ ร้อยละ 91.0 ระบุความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และร้อยละ 90.7 ระบุลดความเหลื่อมล้ำ เสริมความเท่าเทียมของประชาชนเข้าถึง สิทธิพื้นฐานในสังคม เช่น สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภคพื้นฐาน

ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.0 กังวลต่อความไร้ระเบียบ เละเทะของสังคมกลับมา ในขณะที่ร้อยละ 6.0 ไม่กังวล อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.0 ต้องการให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม จัดระเบียบสังคม เคารพกฎหมาย ลดการสร้างปัญหาให้สังคมร่วมกัน และร้อยละ 93.7 ต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เข้มงวดกวดขัน ขับเคลื่อนและทำงานให้สังคม กลับมามีระเบียบมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ เมื่อถามถึง หน่วยงานรัฐที่ประชาชนต้องการให้เข้มงวดกวดขันจัดระเบียบสังคม พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.3 ระบุ กระทรวงสาธารณสุข เช่น กรมควบคุมโรค กรมอนามัย ความสะอาดถูกสุขอนามัย อาหาร เครื่องดื่ม เป็นต้น รองลงมาคือ ร้อยละ 96.6 ระบุ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เช่น สำนักอนามัย เทศกิจ สุขอนามัย ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และอื่น ๆ ร้อยละ 96.5 ระบุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เช่น คนเร่ร่อน ที่พักอาศัยการเคหะ เป็นต้น ร้อยละ 96.0 ระบุ กระทรวงคมนาคม เช่น จัดระเบียบรถตู้ แท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง และร้อยละ 93.7 ระบุ ตำรวจ บังคับใช้กฎหมาย จัดระเบียบสังคมเข้มงวด เคร่งครัด

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่าโพลชิ้นนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความพอใจของประชาชนอยู่ในระดับกว่าร้อยละ 80 เกือบทุกตัวต่อนโยบายการจัดระเบียบสังคมของรัฐบาลที่ผ่านมา ในความพยายามเจรจาพูดคุยและเข้มงวดกวดขันบังคับใช้กฎหมายทั้งในกรุงเทพฯ เมืองใหญ่และเมืองท่องเที่ยวทั่วประเทศ โดยเฉพาะ การจัดระเบียบโครงข่ายคมนาคม คลองสาธารณะ ทางเท้า ร้านค้าแผงลอย วินมอเตอร์ไซด์ แท็กซี่ รถตู้สาธารณะ ชายหาด รวมทั้งคนเร่ร่อนและที่พักอาศัยที่ส่งผลโดยตรงต่อประชาชน ทั้งความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ความสะดวกสบาย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงการเข้าถึงสิทธิพื้นฐานในสังคมที่ปรากฎชัดอย่างเท่าเทียมกัน 

“ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมที่เริ่มลดหายไป กลับกลายเป็นความกังวลต่อประชาชนค่อนข้างสูงถึงร้อยละ 90 ที่กังวลในเรื่องการไร้ระเบียบและการหย่อนหยานไม่เข้มงวดกวดขันปล่อยปละละเลยจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและเมืองท่องเที่ยวโดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94 ต้องการให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นต่อความรับผิดชอบสังคมโดยเฉพาะการเคารพกฎหมายและลดสร้างปัญหาที่กระทบต่อส่วนรวม  ขณะเดียวกัน ต้องการให้รัฐบาล โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง กลับมาเข้มงวดกวดขันบังคับใช้กฎหมาย และขับเคลื่อนให้สังคมกลับมามีระเบียบมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะหน่วยงานรัฐที่สำคัญ เช่น กรุงเทพมหานคร กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข และตำรวจ” ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าว

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวต่อด้วยว่า การจัดระเบียบสังคมเป็นความต้องการของประชาชนร่วมกันอย่างมาก ที่ต้องการยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของประชาชนสู่ความเป็นสากลมากขึ้น โดยเฉพาะเมืองใหญ่และเมืองท่องเที่ยวที่จำเป็นต้องเตรียมพร้อมรับการเปิดประเทศภายใต้วิถีชีวิตใหม่ (New Normal) โดยต้องไม่ให้เสียของ อย่างไรก็ตามการขับเคลื่อนดังกล่าวเกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการและภาคประชาชน ที่รัฐบาลต้องยืนยันความต่อเนื่องและแสดงความเข้มแข็งทางนโยบาย ลงดาบหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บังคับใช้กฎหมายกับผู้ละเมิดอย่างจริงจัง

โดยต้องกวดขันไม่ให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นในหน้าที่อันนำไปสู่การปล่อยปละละเลยไม่บังคับใช้กฎหมาย ขณะเดียวกันจำเป็นต้องสร้างความตระหนักรู้และต้องการการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น โดยเฉพาะประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย ต้องเคารพกฎหมายและสิทธิของผู้อื่น มีความรับผิดชอบตนเองและสังคมไม่สร้างปัญหากับส่วนรวม โดยถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนต้องยกระดับสังคมไทย สู่ความเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาจิตใจมากกว่าวัตถุนิยมเพียงอย่างเดียว.
 

Motor Sport Sponsored
แข่งรถ รถแข่ง

การแข่งรถ (หรือเรียกว่าแข่งรถยนต์ หรือ รถแข่ง) เป็นมอเตอร์สปอร์ตที่เกี่ยวข้องกับการแข่งโดยใช้รถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ รถจักรยาน สำหรับการแข่งขัน

This website uses cookies.