สำหรับรถมอเตอร์ไซค์สมัยใหม่นั้น นอกจากการออกแบบดีไซน์ที่โดนใจ ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ที่เป็นประเด็นหลักในการตัดสินใจซื้อมันมาเป็นยานพาหนะคู่ใจ แต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่หลายๆ คนมักจะคำนึงถึงเป็นอันดับแรกๆ ก็คือระบบความปลอดภัยที่ติดตั้งมาให้บนตัวรถ แต่ก็ยังมีข้อสงสัยมากมายว่าทำไมรถมอเตอร์ไซค์ที่ติดตั้งระบบเหล่านั้นยังชนและล้มให้เห็นกันอยู่เสมอๆ ในบทความนี้เราจะขอพาเพื่อนๆไปไขข้อข้องใจกับเรื่องนี้กันครับ
ระบบช่วยเหลือคืออะไร
ระบบช่วยเหลือในรถมอเตอร์ไซค์ปัจจุบัน ถ้าให้แปลความหมายโดยตรงก็คือระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่นั่นแหละ แต่ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่นี้ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นระบบที่ไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือความเสียดาย แต่เป็นระบบที่ช่วยในการหลีกเลี่ยง และลดความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุ อย่างเช่นระบบ ABS ที่เราเห็นกันมากในรถมอเตอร์ไซค์ขนาด 150 ซีซี ขึ้นไป โดยระบบนี้จะเป็นระบบป้องกันตัวล้อล็อกตาย ในยามที่เรากดเบรกหน้าหรือหลังมากจนเกินไป ระบบจะตรวจจากเซนเซอร์ที่ติดตั้งบริเวณจานเบรก โดยจะวัดความเร็วรอบของการหมุนของโรเตอร์ และทำการสั่งการไปที่ปั้มเบรกล่างในการจับกับจานดิสก์แบบจับปล่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ล้อเกิดอาการล็อก ซึ่งหากไม่มีระบบดังกล่าว การใช้งานเบรกมากจนเกินไป จะทำให้ล็อกเกิดอาการล็อก ซึ่งเมื่อยางที่มีความหนึดที่ไม่มีการหมุนถ่ายแรงเสียดทาน การเสียดสีกับพื้นผิวโดยตรงนั้นจะทำให้เกิดอาการ Action = Reaction คือจะเกิดการแรงเสียดทานไปยังระบบโช้คอัพหน้า ทำให้เกิดอาการส่ายของแฮนด์หรือส่วนควบคุม และเมื่อทนต่อแรงเสียดทานคงที่ไม่ไหวก็จะส่งผลแบบทวีคูณไปยังส่วนควบคุม ซึ่งในกรณีที่ผู้ขับขี่มีร่างกายที่แข็งแรงพอจะควบคุมให้แฮนด์ไม่เกิดอาการส่ายจนผิดรูปก็จะสามารถเบรกรถได้ แต่ในกรณีที่ร่างกายไม่แข็งแรงพอหรือตำแหน่งของส่วนควบคุมผิดเพี้ยนไปก็จะเกิดอาการหน้าพับอย่างที่เราได้เห็นกัน หรือในส่วนของการใช้เบรกล้อหลังมากไปก็จะก่อให้เกิดอาการที่เรามักจะเรียกกันว่า “ดริฟท์” นั่นเอง
มาถึงตรงนี้เพื่อนๆ หลายๆ คนอาจจะมองว่าการมีระบบ ABS นั้นจะช่วยเหลือให้เราสามารถป้องกันกรณีความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ แต่มันก็ไม่เชิงซะทีเดียว เพราะข้อเสียของระบบ ABS ก็มี ใช่ว่าจะไม่มี อย่างที่เราทราบกัน เมื่อระบบป้องกันล้อล็อกตายนั้นทำงาน ก็หมายถึงการบีบๆ คายๆ ของปั้มเบรก ซึ่งมันก็จะส่งผลให้ระยะในการเบรกนั้นยาวกว่าปกติ ซึ่งมันจะเป็นการลดความเร็วแบบไม่คงที่ และเมื่อระยะเบรกที่ยาวแล้ว จากระยะทางในการเบรกแบบไม่มีระบบ ABS ที่อาจจะอยู่ราวๆ 60-100 เมตร จะเพิ่มไปเป็น 90-150 เมตร ซึ่งระยะที่ว่านี้อาจจะถึงกับวัตถุที่เรากำลังพุ่งเข้าหา แต่ตัวรถจะมีการคืนแรงเสียดทานย้อนไปมาระหว่างแฮนด์กับยาง ซึ่งจะลดความเร็วก่อนการชนได้มากกว่าและสามารถลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นมาได้ ดังนั้น ABS เองก็ไม่ใช่ระบบที่จะป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ 100% นั่นเอง
เช่นเดียวกับระบบอื่นๆ ที่ติดตั้งบนตัวรถ ไม่ว่าจะเป็นระบบป้องกันการลื่นไถล Traction Control ระบบป้องกันท้ายปัด Assist&Slipper Clutch ระบบป้องกันล้อยกหรือ Wheel Lif Control ซึ่งจะแยกไปที่ส่วนล้อหน้าหลังแล้วแต่ผู้ผลิต ก็เป็นเพียงส่วนช่วยเหลือให้ตัวรถเสียอาการจนเกินกว่าผู้ขับขี่จะควบคุมได้ ไม่ใช่ระบบที่ป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจกัน
ควรทำอย่างไรเมื่อฉุกเฉิน
ก่อนที่จะเกิดกรณีฉุกเฉิน สิ่งแรกที่เราควรทำเลยก็คือตรวจสอบความพร้อมของระบบต่างๆ บนตัวรถ ตรวจสอบความพร้อมของร่ายกาย และที่สำคัญทำความคุ้นเคยกับตัวรถให้ได้เสียก่อน เพราะรถมอเตอร์ไซค์แต่ล่ะคันนั้นบุคลลิกของแต่ล่ะรุ่นแตกต่างกันอย่างเช่น ท่านั่ง การวางแขนไปยังส่วนควบคุม หรือแม้แต่ตำแหน่งของที่วางเท้า ซึ่งรถแต่ล่ะคันนั้นก็จะมีการจูนบุคลลิกเครื่องยนต์ที่แตกต่างกันด้วย สิ่งที่ดีที่สุดที่ควรทำคือการฝึกอบรมผู้ขับขี่ขั้นสูงและเรียนรู้พื้นฐานที่ถูกต้องของการขับขี่ ซึ่งในปัจจุบันนั้น มีโรงเรียนสอนขี่บิ๊กไบค์มากมายที่เปิดให้ผู้ที่ขับขี่อยู่แล้วหรือผู้ที่สนใจแต่ยังไม่มีรถเป็นของตัวเอง เข้ามาเรียนรู้วิธีการที่ถูกต้องพร้อมกับการเรียนรู้วิธีรับมือกรณีฉุกเฉินต่างๆ ตามแต่สถานการณ์ที่แตกต่างกัน โดยมีการจำลองสถานการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทั้งในเชิงทฤษฎีและการปฎิบัติจริง โดยมีผู้เชี่ยวชาญควบคุมดูแล และการเรียนรู้นี้น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับการรับมือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันได้อย่างถูกต้อง มากกว่าการพึ่งพาระบบช่วยเหลือเหล่านั้น
ทิ้งท้าย
สำหรับการเรียนรู้วิธีการขับขี่ที่ถูกต้องนั้น ไม่ใช่เรื่องที่น่าเบื่อ อยากให้เพื่อนๆ หลายๆ คนลองเปิดใจและเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ อีกทั้งทางโรงเรียนหลายๆ แห่งเองก็มีคอร์สสอนการขับขี่ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นคอร์สสำหรับการขับขี่เพื่อการใช้งาน การเรียนรู้วิธีที่ถูกต้องในการขับขี่บนความเร็วสูง การขับขี่แบบสปอร์ตเรซซิ่ง หรือแม้แต่การขับขี่เพื่อความสนุกสนานต่างๆ อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยคือการเข้ามามีส่วนของใบอนุญาตขับขี่รถบิ๊กไบค์ที่ประกาศใช้งานในประเทศไทย การเรียนรู้ก่อนการไปสอบ 11 ท่าสำหรับบิ๊กไบค์นั้นก็เป็นประโยชน์ต่อผู้ขับขี่ไม่น้อย
As part of their spo…
This website uses cookies.