Motor Sport Sponsored

ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กร & หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน “บ. เมืองไทย

Motor Sport Sponsored
Motor Sport Sponsored

ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันของ บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ ?BBB+? ด้วยแนวโน้มอันดับเครดิต ?Stable? หรือ ?คงที่? โดยอันดับเครดิตสะท้อนถึงสถานะความเป็นผู้นำในธุรกิจสินเชื่อที่มีหลักประกัน (Title Loan) และฐานเงินทุนที่แข็งแกร่ง ตลอดจนเสถียรภาพในการทำกำไร แหล่งเงินทุนที่หลากหลายและเพียงพอ รวมถึงสภาพคล่องที่มีมากพอของบริษัท อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตก็มีข้อจำกัดจากคุณภาพสินทรัพย์ที่มีแนวโน้มถดถอยลงอันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ

ประเด็นสำคัญที่กำหนดอันดับเครดิต

รักษาความเป็นผู้นำในธุรกิจสินเชื่อที่มีหลักประกันอย่างต่อเนื่อง

ความชำนาญในการดำเนินธุรกิจสินเชื่อที่มีหลักประกันและการขยายสาขาอย่างต่อเนื่องของบริษัทน่าจะทำให้บริษัทยังคงดำรงสถานะทางการตลาดที่แข็งแกร่งในอันดับต้นๆ ของธุรกิจสินเชื่อที่มีหลักประกันต่อไปได้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 บริษัทมียอดสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ระดับ 9.18 หมื่นล้านบาทหรือเติบโต 29% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเติบโตมากกว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรม ส่วนยอดสินเชื่อใหม่ของบริษัทในปี 2564 ก็ขยายตัวถึงระดับ 1.7 แสนล้านบาท ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565 ยอดสินเชื่อคงค้างของบริษัทเติบโตเพิ่มขึ้นอีก 7% จาก ณ สิ้นปี 2564 มาอยู่ที่ระดับ 9.86 หมื่นล้านบาทอันเป็นผลมาจากกลยุทธ์ด้านการตลาดและเครือข่ายสาขาที่ขยายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากเพื่อให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายในการรับบริการ โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565 จำนวนสาขาของบริษัทขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 6,161 แห่งจากเป้าหมายที่จะขยายให้ครบ 6,500 แห่งภายในสิ้นปี 2565

ทริสเรทติ้งประมาณการว่ายอดสินเชื่อคงค้างของบริษัทจะเติบโตที่ระดับ 26% ในปี 2565 และจะเติบโตในอัตราเฉลี่ย 16%-18% ต่อปีในช่วงปี 2566-2567 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากสินเชื่อที่มีหลักประกันซึ่งยังคงมีอุปสงค์ที่ดีจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแอ บริษัทคาดว่าจะยังคงขยายธุรกิจให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ซึ่งดำเนินการผ่านบริษัทย่อยคือ บริษัท เมืองไทยลีสซิ่ง จำกัด (MTLS) และสินเชื่อ ?ซื้อก่อนผ่อนทีหลัง? (?Buy Now Pay Later? — BNPL) สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องจักรกลการเกษตรซึ่งดำเนินการผ่านบริษัทย่อยคือ บริษัท เมืองไทยเพย์เลเตอร์ จำกัด (MTPL) อย่างต่อเนื่อง โดยยอดสินเชื่อคงค้างของธุรกิจทั้งสองเติบโตขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 6 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565 ทริสเรทติ้งคาดการณ์ว่าสินเชื่อดังกล่าวจะขยายตัวไปอยู่ที่ระดับ 9 พันล้านบาทถึง 1.3 หมื่นล้านบาทในช่วงเวลา 2-3 ปีข้างหน้า และในระยะยาวทริสเรทติ้งคาดว่าธุรกิจใหม่ดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของยอดสินเชื่อและลดแรงกดดันด้านอัตราดอกเบี้ยรับจากสถานการณ์การแข่งขันในอุตสาหกรรมสินเชื่อที่มีหลักประกันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นได้

การรักษาระดับความสามารถในการทำกำไรภายใต้ภาวะแวดล้อมที่ท้าทาย

บริษัทน่าจะยังคงรักษาความสามารถในการทำกำไรต่อไปได้ในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า ถึงแม้ว่าจะมีผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นที่สูงขึ้นและส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงเมื่อเทียบกับในอดีต ทั้งนี้ เนื่องจากทริสเรทติ้งคาดหวังว่าบริษัทจะให้ความสำคัญกับการควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ในปี 2564 บริษัทมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 4.9 พันล้านบาท ลดลง 5% จากปี 2563 โดยสาเหตุหลักมาจากการมีค่าใช้จ่ายสำหรับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดสาขาใหม่รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เป็นแรงจูงใจสำหรับพนักงานในการติดตามหนี้

ความสามารถในการสร้างผลกำไรของบริษัทซึ่งวัดจากอัตราส่วนกำไรก่อนภาษีเงินได้ต่อสินทรัพย์เสี่ยงถัวเฉลี่ย (EBT/ARWA) ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 6.3% ในปี 2564 จากระดับ 8.5% ในปี 2563 แต่ยังคงอยู่ในระดับปานกลาง (Moderate) ต่อมาในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 EBT/ARWA เมื่อปรับให้เป็นตัวเลขเต็มปีก็เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 6.6% โดยบริษัทมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1.37 พันล้านบาทซึ่งใกล้เคียงกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ทริสเรทติ้งประมาณการว่า EBT/ARWA ของบริษัทจะยังคงอยู่ที่ระดับประมาณ 5%-6% ต่อไปในระหว่างปี 2565-2567

อัตราดอกเบี้ยรับของบริษัทปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 18.7% ในปี 2564 และ 18.0% ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 จากระดับ 21%-22% ในอดีตอันเนื่องมาจากการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมและเพดานอัตราดอกเบี้ยรับที่ต่ำลงตามเกณฑ์การประกอบธุรกิจจากหน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มความสามารถในการทำกำไรของบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน ทริสเรทติ้งคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยรับของบริษัทจะยังคงอยู่ที่ระดับ 18.0%-18.5% ในระยะเวลา 2-3 ปีข้างหน้าจากการขยายสู่ธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่และสินเชื่อซื้อก่อนผ่อนทีหลัง ซึ่งน่าจะช่วยพยุงให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยยังคงใกล้เคียงกับในปี 2564 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 15% ถึงแม้ว่าต้นทุนทางการเงินจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นก็ตาม นอกจากนี้ ทริสเรทติ้งยังคาดว่าบริษัทจะรักษาอัตราส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อรายได้รวมไว้ในระดับที่ควบคุมได้ที่ระหว่าง 42%-43% เนื่องจากการเปิดสาขาใหม่ในอนาคตจะใช้เงินลงทุนที่ต่ำกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม แม้ทริสเรทติ้งจะคาดว่าค่าใช้จ่ายสำหรับผลขาดทุนด้านเครดิตของบริษัทในระหว่างปี 2565?2567 จะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าในช่วงที่ผ่านมาจากแนวโน้มที่สินทรัพย์จะเสื่อมถอยลง แต่การเติบโตของกำไรสุทธิของบริษัทน่าจะยังคงอยู่ในระดับเลข 2 หลักโดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากความสามารถในการสร้างรายได้ที่แข็งแกร่ง

คุณภาพสินทรัพย์อ่อนแอลงแต่ยังอยู่ในวิสัยที่บริหารจัดการได้

คุณภาพสินทรัพย์ของบริษัทอ่อนแอลงในปี 2564 และต่อเนื่องมาจนถึงไตรมาสแรกของปี 2565 อย่างไรก็ตาม แนวโน้มนี้ยังคงเกิดขึ้นเช่นเดียวกันกับผู้ให้สินเชื่อรายอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันซึ่งสอดคล้องกับที่ทริสเรทติ้งคาดการณ์ไว้อันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจที่อ่อนแอและการสิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ในปี 2564 โดยอัตราส่วนลูกหนี้ที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตหรือลูกหนี้ชั้นที่ 3 (NPL) ต่อสินเชื่อรวม (NPL Ratio) รวมทั้งอัตราส่วนลูกหนี้ที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตที่เกิดขึ้นใหม่ (NPL Formation) ของบริษัทมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น

NPL Ratio ของบริษัทปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 1.39% ณ สิ้นปี 2564 และ 1.65% ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2565 จากที่ระดับประมาณ 1% ในอดีตซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของ NPL ในกลุ่มของสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน ตลอดจนสินเชื่อนาโน และสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมแล้ว NPL Ratio ของบริษัทยังคงเป็นอัตราส่วนที่อยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันที่ระดับ 2.3% ในระยะยาวนั้นบริษัทมีเป้าหมายที่จะรักษา NPL Ratio ให้อยู่ที่ระดับไม่เกิน 2% โดยอาจมีปัจจัยสนับสนุนจากเกณฑ์ในการอนุมัติสินเชื่อที่รัดกุมยิ่งขึ้น การติดตามหนี้ที่มีประสิทธิภาพ และการเร่งรัดตัดหนี้สูญ (NPL Write-offs) ทั้งนี้ ภายใต้ประมาณการของทริสเรทติ้งที่คาดว่าบริษัทจะมีอัตราส่วน NPL Write-offs ต่อเงินให้สินเชื่อถัวเฉลี่ยในระดับสูงขึ้นที่ระหว่าง 1.0%-1.2% ในช่วงปี 2565-2567 เมื่อเทียบกับในอดีตที่ต่ำกว่าระดับ 1% นั้น NPL Ratio ของบริษัทจึงน่าจะอยู่ในระดับเป้าหมายที่วางไว้

อัตราส่วนผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อถัวเฉลี่ยของบริษัทเพิ่มขึ้นกลับมาเป็นระดับ 0.9% ในปี 2564 ซึ่งใกล้เคียงกับระดับปกติที่ 1% หลังจากที่อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำกว่าปกติที่ระดับ 0.4% ในปี 2563 อันเป็นผลมาจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการหยุดพักชำระหนี้ที่เริ่มมาตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ทั้งนี้ ในระหว่างปี 2565-2567 จากประมาณการของทริสเรทติ้งที่ NPL Ratio ของบริษัทจะอยู่ที่ระดับ 2% และอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อลูกหนี้ที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (NPL Coverage Ratio) จะอยู่ที่ระดับมากกว่า 100% บริษัทจึงน่าจะยังต้องเพิ่มอัตราส่วนผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อถัวเฉลี่ยขึ้นมาเกินกว่าระดับปกติเล็กน้อยที่ประมาณ 1.5% จากประมาณการของทริสเรทติ้ง

ฐานทุนยังคงแข็งแกร่ง

ทริสเรทติ้งประเมินให้ฐานทุนของบริษัทอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งโดยมีอัตราส่วนเงินทุนที่ปรับความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 21.6% ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2565 ทั้งนี้ ผลกำไรที่ดีอย่างต่อเนื่องและนโยบายการจ่ายเงินปันผลที่มีความระมัดระวังช่วยทำให้ฐานทุนของบริษัทมีความเข้มแข็งแม้ว่าบริษัทจะมีแผนการขยายสินเชื่อจำนวนมากก็ตาม ในระยะปานกลางเมื่อพิจารณาจากประมาณการอัตราเติบโตของสินเชื่อของบริษัทที่ระดับเลข 2 หลักและนโยบายการจ่ายเงินปันผลที่อัตรา 15% ต่อปีแล้ว ทริสเรทติ้งคาดว่าเงินทุนที่ปรับความเสี่ยงของบริษัทจะค่อย ๆ ปรับลดลงมาอยู่ในช่วง 19%-20% อย่างไรก็ตาม เงินทุนที่ปรับความเสี่ยงน่าจะยังคงอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งต่อไป โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565 บริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ที่ระดับ 3 เท่าในขณะที่เงื่อนไขสำคัญทางการเงินกำหนดให้บริษัทต้องดำรงอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นไว้ที่ระดับ 4.5 เท่า

มีสถานะแหล่งเงินทุนและสภาพคล่องอยู่ในระดับที่เพียงพอ

ทริสเรทติ้งประเมินว่าบริษัทจะมีสถานะเงินทุนและสภาพคล่องอยู่ในระดับที่เพียงพอเนื่องจากบริษัทสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ทั้งจากตลาดตราสารหนี้และตลาดตราสารทุนรวมทั้งยังมีวงเงินสินเชื่อที่มีกับสถาบันการเงินอีกหลายแห่งซึ่งช่วยสนับสนุนการเติบโตของสินเชื่อได้ โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565 บริษัทได้รับวงเงินสินเชื่อจากสถาบันการเงินต่าง ๆ รวมทั้งสิ้นจำนวน 2.9 หมื่นล้านบาท ซึ่ง 24% ของวงเงินดังกล่าวนั้นยังไม่มีการเบิกใช้

ในส่วนของโครงสร้างเงินทุนนั้น ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565 หนี้สินทางการเงินระยะสั้นของบริษัทมีสัดส่วนคิดเป็น 36% ของหนี้สินทางการเงินรวม ซึ่งลดลงจากระดับ 39% ในปี 2564 ทริสเรทติ้งคาดว่าความสัมพันธ์ที่ดีที่บริษัทมีกับสถาบันการเงินหลายแห่งและการได้รับวงเงินสินเชื่อที่เพียงพอจะช่วยลดทอนความเสี่ยงทางด้านสภาพคล่องลงได้ ทั้งนี้ ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2565 บริษัทมีหุ้นกู้ระยะยาวคงค้างจำนวน 5.1 หมื่นล้านบาทซึ่งหุ้นกู้ 1.13 หมื่นล้านบาทจากจำนวนดังกล่าวจะถึงกำหนดไถ่ถอนในปี 2565 และบริษัทมีแผนรองรับการออกหุ้นกู้ใหม่เพื่อทดแทนหุ้นกู้ชุดเก่าแล้ว

การแข่งขันในธุรกิจสินเชื่อที่มีหลักประกันยังคงกดดันรายได้ต่อไป

ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบาง วิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลางรวมทั้งภาคครัวเรือนยังคงมีความต้องการสภาพคล่องสำหรับธุรกิจและการบริโภคอยู่ สิ่งดังกล่าวได้นำไปสู่การเติบโตอย่างต่อเนื่องของสินเชื่อที่มีทะเบียนรถยนต์เป็นประกัน โดยในปี 2564 อัตราการเติบโตเฉลี่ยของสินเชื่อคงค้างของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สุด 3 รายอยู่ที่ระดับ 14% ซึ่งเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูงในมุมมองของทริสเรทติ้ง การแข่งขันด้านอัตราดอกเบี้ยและอัตราส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันที่สูงยังคงเป็นกลยุทธ์หลักในการดึงดูดลูกค้าเนื่องจากการแข่งขันเริ่มมีความรุนแรงขึ้นจากทั้งเป้าหมายการเติบโตเชิงรุกของผู้ประกอบการเดิมและจากการเข้ามาของผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ รายใหม่ เมื่อการแข่งขันทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น อัตราผลตอบแทนของสินเชื่อที่มีทะเบียนรถยนต์เป็นประกันก็มีแนวโน้มที่จะลดลง ผู้ประกอบการจึงปรับตัวโดยการริเริ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เช่น บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและประกันวินาศภัย หรือสินเชื่อ?ซื้อก่อนผ่อนทีหลัง? หรือ ?Buy Now Pay Later? (BNPL) สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างกระแสรายได้แหล่งใหม่ ๆ สำหรับชดเชยผลตอบแทนที่ลดลงในธุรกิจหลัก

สมมติฐานกรณีพื้นฐาน

สมมติฐานกรณีพื้นฐานของทริสเรทติ้งสำหรับการดำเนินงานของบริษัทในระหว่างปี 2565-2567 มีดังนี้

? ยอดสินเชื่อใหม่จะเติบโตในช่วง 15%-30%

? อัตราดอกเบี้ยรับจะยังคงอยู่ในช่วง 18.0%-18.5%

? อัตราส่วนผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อถัวเฉลี่ยจะอยู่ที่ระดับประมาณ 1.5%

แนวโน้มอันดับเครดิต

แนวโน้มอันดับเครดิต ?Stable? หรือ ?คงที่? อยู่บนพื้นฐานการคาดการณ์ของทริสเรทติ้งว่าบริษัทจะสามารถรักษาสถานะทางการตลาดในธุรกิจสินเชื่อที่มีหลักประกันเอาไว้ได้ต่อไป รวมทั้งบริษัทจะมีความสามารถในการทำกำไรและเงินทุนที่ยังคงแข็งแกร่งในขณะเดียวกันก็ยังคงสามารถควบคุมคุณภาพสินเชื่อให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้อีกด้วย

ปัจจัยที่อาจทำให้อันดับเครดิตเปลี่ยนแปลง

อันดับเครดิตและ/หรือแนวโน้มอันดับเครดิตอาจได้รับการปรับเพิ่มขึ้นหากอัตราส่วนเงินทุนที่ปรับความเสี่ยงของบริษัทอยู่ในระดับที่สูงเกินกว่า 25% อย่างต่อเนื่องในระยะหนึ่งในขณะที่ผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทซึ่งวัดจากอัตราส่วนกำไรก่อนภาษีเงินได้ต่อสินทรัพย์เสี่ยงถัวเฉลี่ยยังคงแข็งแกร่งโดยอยู่ที่ระดับใกล้เคียงกับปัจจุบัน ในทางกลับกัน อันดับเครดิตและ/หรือแนวโน้มอันดับเครดิตอาจได้รับการปรับลดลงหากคุณภาพสินทรัพย์ของบริษัทเสื่อมถอยลงอย่างมีนัยสำคัญจนส่งผลให้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่า 3% หรือหากสถานะเงินทุนของบริษัทอ่อนแอลงอย่างมีนัยสำคัญจนกระทั่งอัตราส่วนเงินทุนที่ปรับความเสี่ยงลดลงต่ำกว่าระดับ 15% อย่างต่อเนื่อง

เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตที่เกี่ยวข้อง

– เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตตราสารหนี้, 15 มิถุนายน 2564

– เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร, 17 กุมภาพันธ์ 2563

บริษัท เอเชีย กรีน เอนเนอจี จำกัด (มหาชน) (AGE)

อันดับเครดิตองค์กร: BBB+

อันดับเครดิตตราสารหนี้:

MTC227B: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2,043.30 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2565 BBB+

MTC22NB: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2,349.70 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2565 BBB+

MTC22NC: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2,163.40 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2565 BBB+

MTC232C: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,514 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2566 BBB+

MTC237A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,756.70 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2566 BBB+

MTC23NB: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,319.20 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2566 BBB+

MTC23NC: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2,836.60 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2566 BBB+

MTC243B: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 2,486 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2567 BBB+

MTC248A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,641.80 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2567 BBB+

MTC24NA: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,902 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2567 BBB+

MTC252A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,609 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2568 BBB+

MTC258A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,361.80 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2568 BBB+

MTC25NA: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,598 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2568 BBB+

MTC262A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,391 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2569 BBB+

MTC268A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 996.40 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2569 BBB+

MTC26NA: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2569 BBB+

MTC272A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2570 BBB+

หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ในวงเงินไม่เกิน 5,000 ล้านบาท ไถ่ถอนภายใน 5 ปี BBB+

แนวโน้มอันดับเครดิต: Stable

บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด/ www.trisrating.com

ติดต่อ santaya@trisrating.com โทร. 0-2098-3000 อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ ชั้น 24 191 ถ. สีลม กรุงเทพฯ 10500

? บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2564 ห้ามมิให้บุคคลใด ใช้ เปิดเผย ทำสำเนาเผยแพร่ แจกจ่าย หรือเก็บไว้เพื่อใช้ในภายหลังเพื่อประโยชน์ใดๆ ซึ่งรายงานหรือข้อมูลการจัดอันดับเครดิต ไม่ว่าทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน และไม่ว่าในรูปแบบ หรือลักษณะใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ โดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ก่อน การจัดอันดับเครดิตนี้มิใช่คำแถลงข้อเท็จจริง หรือคำเสนอแนะให้ซื้อ ขาย หรือถือตราสารหนี้ใดๆ แต่เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้นั้นๆ หรือของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ระบุในการจัดอันดับเครดิตนี้มิได้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำแนะนำในลักษณะอื่นใด การจัดอันดับและข้อมูลที่ปรากฏในรายงานใดๆ ที่จัดทำ หรือพิมพ์เผยแพร่โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดทำขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงความต้องการด้านการเงิน พฤติการณ์ ความรู้ และวัตถุประสงค์ของผู้รับข้อมูลรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น ผู้รับข้อมูลควรประเมินความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้รับข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับเครดิตนี้จากบริษัทและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อว่าเชื่อถือได้ ดังนั้น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จึงไม่รับประกันความถูกต้อง ความเพียงพอ หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ดังกล่าว และจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากความไม่ถูกต้อง ความไม่เพียงพอ หรือความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น และจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด หรือการละเว้นผลที่ได้รับหรือการกระทำใดๆโดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ รายละเอียดของวิธีการจัดอันดับเครดิตของ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เผยแพร่อยู่บน Website: http://www.trisrating.com/th/rating-information-th2/rating-criteria.html


Motor Sport Sponsored
แข่งรถ รถแข่ง

การแข่งรถ (หรือเรียกว่าแข่งรถยนต์ หรือ รถแข่ง) เป็นมอเตอร์สปอร์ตที่เกี่ยวข้องกับการแข่งโดยใช้รถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ รถจักรยาน สำหรับการแข่งขัน

This website uses cookies.