เปิดขั้นตอนการ ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ 2565 ว่ามีวิธีการอย่างไร ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง รวมถึงต้องจ่ายเงินเท่าไหร่ ทำที่ไหนได้บ้าง ? แบบฉบับรู้ครบจบในที่เดียว
การต่อภาษีรถจักรยานยนต์หรือต่อทะเบียน เจ้าของรถจะต้องดำเนินการเสียภาษีทุก ๆ ปี ซึ่งถือเป็นระเบียบของกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายรถยนต์ พ.ศ. 2562 ซึ่งในหมวด 3 ข้อที่ 17 ระบุไว้ว่า “รถทุกคันที่จดทะเบียนแล้ว ต้องเสียภาษีรถประจำปี เว้นแต่รถที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีประจำปี” เรียกได้ว่าเป็นหน้าที่ของผู้ใช้รถบนถนน ไม่ว่าจะใช้งานรถประเภทไหนก็ตาม ซึ่งถ้าเป็นรถยนต์ หรือรถประเภทอื่น ๆ ที่มีมากกว่า 4 ล้อ ก็จะมีอัตราตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดเอาไว้แตกต่างกันไป แต่ถ้าเป็นรถจักรยานยนต์ เมื่อไปต่อภาษีจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง สามารถทำได้ที่ไหน และมีค่าต่อภาษีอยู่ที่เท่าไหร่ วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ในการต่อภาษีมอเตอร์ไซค์ 2565 ทุกขั้นตอนมาไว้ให้คุณแล้ว !
ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ มีขั้นตอนอย่างไร
ก่อนที่จะนำรถไปต่อภาษีรถจักรยานยนต์ รถทุกคันจำเป็นต้องมี พ.ร.บ. ซึ่งถ้าเป็นรถใหม่อายุไม่เกิน 5 ปี สามารถซื้อ พ.ร.บ.จักรยานยนต์ ได้ที่บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ทั่วประเทศ, ตัวแทนประกันภัย, เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11 หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทุกสาขา แต่หากรถมีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป จะต้องทำการตรวจสภาพรถก่อน โดยสามารถตรวจได้ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ทุกแห่งที่ได้การรับรองจากกรมการขนส่งทางบก ส่วนค่าประกัน พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ จะมีราคาอยู่ที่ตามความจุกระบอกสูบ ดังนี้
ไม่เกิน 75 ซี.ซี. ปีละ 161.57 บาท
เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. ปีละ 323.14 บาท
เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. ปีละ 430.14 บาท
เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป ปีละ 645.21 บาท
รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ปีละ 323.14 บาท
ไม่เกิน 75 ซี.ซี. ปีละ 161.57 บาท
เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. ปีละ 376.64 บาท
เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. ปีละ 430.14 บาท
เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป ปีละ 645.21 บาท
รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ปีละ 323.14 บาท
รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ปีละ 323.14 บาท
ไม่เกิน 75 ซี.ซี. ปีละ 161.57 บาท
เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. ปีละ 376.64 บาท
เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. ปีละ 430.14 บาท
เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป ปีละ 645.21 บาท
รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ปีละ 323.14 บาท
รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ปีละ 323.14 บาท
รถจักรยานยนต์ที่ต้องการต่อทะเบียน 2565 แล้วมีอายุในการจดทะเบียนเกิน 5 ปี ต้องมีการตรวจสภาพรถก่อนทุกครั้ง โดยสามารถเข้ารับการตรวจได้ที่ ตรอ. ที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก โดยจะมีค่าตรวจสภาพคันละ 60 บาท
ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ 2565 ใช้เอกสารอะไรบ้าง
เล่มทะเบียน หรือสำเนา
ใบตรวจสภาพรถ (สำหรับรถที่มีอายุเกิน 5 ปี)
ใบ พ.ร.บ.จักรยานยนต์
เมื่อนำรถไปตรวจสภาพ (รถที่มีอายุเกิน 5 ปี ) และมี พ.ร.บ.จักรยานยนต์ เรียบร้อยแล้ว นำเอกสารทั้งหมดไปยื่นเสียภาษีประจำปีได้ที่กรมการขนส่งทางบก หรือจะเป็นช่องทางอื่น ๆ ที่เปิดให้สามารถเข้าไปยื่นเสียภาษีได้ รวมถึงในสถานการณ์การระบาดของ โควิด 19 ปัจจุบันทางกรมการขนส่งทางบกเปิดโอกาสให้ผู้เป็นเจ้าของรถไปต่อทะเบียน หรือต่อภาษีประจำปี 2565 ได้ผ่านช่องทางออนไลน์แล้วทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ซึ่งสามารถดูวิธีการทำได้ที่ ต่อภาษีรถออนไลน์ประจำปี 2565
ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ 2565
ต้องเตรียมเงินไปเท่าไหร่ ?
ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ได้กำหนดอัตราค่าภาษีประจำปีเอาไว้ว่า รถจักรยานยนต์ให้คำนวณภาษีประจำปีในอัตราดังต่อไปนี้
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท
รถพ่วงข้างของรถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท
สรุปได้ว่าการเสียภาษีหรือต่อทะเบียนรถจักรยานยนต์ 2565 จะต้องจ่ายเงิน 100 บาท เท่ากันทุกคัน ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็ก 100 ซี.ซี. หรือจะขนาดใหญ่ 1,200 ซี.ซี. ก็เสียในอัตราเดียวกัน ยกเว้นถ้ามีรถพ่วงต้องเพิ่มอีก 50 บาท
ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ 2565 ได้ที่ไหนบ้าง
การต่อภาษีรถจักรยานยนต์นอกจากไปต่อที่กรมการขนส่งทางบกแล้ว สามารถต่อภาษีในช่องทางอื่น ๆ ได้เหมือนรถยนต์ทั่วไป ดังนี้
ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ช้า เสียค่าปรับเท่าไหร่
การชำระภาษีรถประจำปีล่าช้าจะมีค่าปรับในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน และหากขาดการต่อเกิน 3 ปี จะส่งผลให้ทะเบียนรถถูกระงับทำให้ไม่สามารถดำเนินการทางทะเบียนได้ เช่น การโอนเปลี่ยนชื่อ แจ้งเปลี่ยนสี แก้ไขรายการคู่มือรถ เป็นต้น
ในการต่อภาษีรถจักรยานยนต์นั้นเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ง่ายและใช้เวลาไม่นาน พร้อมกับยังมีช่องทางในการยื่นชำระที่หลากหลาย เหมาะสำหรับช่วงโควิด 19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อย่าชะล่าใจลืมเช็กวันหมดอายุของภาษีรถจักรยานยนต์ของคุณ เพราะถ้าเผลอขับออกถนน แล้วเจอตำรวจเรียกตรวจขึ้นมา ถือว่าผิดกฎหมาย ต้องเสียค่าปรับ ซึ่งมีราคาแพงกว่าค่าปรับชำระล่าช้าอีกนั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก : dlt.go.th
This website uses cookies.