เมื่อวันที่ ๒๗ ? ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๕ กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมยุโรป ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย จัดกิจกรรม ?การประกวดแข่งขันความคิดสร้างสรรค์สำหรับการคมนาคมยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคตเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน? หรือ ?EV Hackathon: Future EV Mobility Creative Contest for Sustainability #EV4Sustain? ในโอกาสการเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๖๐ ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย ? เยอรมนี
การแข่งขันครั้งนี้เป็นการดำเนินโครงการภายใต้แนวคิดของโอกาสการเฉลิมฉลองฯ คือ ?พันธมิตรเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน? หรือ ?Partners for Sustainable Growth? ระหว่างฝ่ายไทยกับเยอรมัน เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในสถานการณ์โลกที่มีความท้าทายทางพลังงาน มลภาวะ และปัญหา
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
กิจกรรมครั้งนี้ได้ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ฝ่ายเยอรมันมีความเชี่ยวชาญ และพัฒนาศักยภาพคนรุ่นใหม่เพื่อเตรียมความพร้อมประเทศไทยสู่การเป็น ?ฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแห่งเอเชีย? และบรรลุเป้าหมายการผลิตรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ ๓๐ ภายในปี ค.ศ. ๒๐๓๐
กิจกรรมดังกล่าวได้มีนักศึกษาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมจากทั่วประเทศและต่างประเทศ จำนวน ๑๐๓ ทีม แบ่งเป็นทีมละ ๓ คน รวม ๓๐๙ คน โดยผู้เข้าแข่งขันได้เข้ารับการอบรมออนไลน์จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและเยอรมัน ในหัวข้อเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า ปัญหาและการแก้ไขปัญหาของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย จากนั้นผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ส่งผลงานทางความคิดเพื่อเข้าสู่รอบคัดเลือก ๑๖ ทีม และรอบชิงชนะเลิศ ๘ ทีม ในวันที่ ๒๗ – ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๕ ตามลำดับ
เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๕ ผู้ที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ ๘ ทีมสุดท้าย ได้เข้าแข่งขันเพื่อระดมพลังทางความคิดในการแก้ไขโจทย์เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าในหัวข้อ ?Invent solution of sustainability in Bangkok Metropolis with EV Mobility Technology? ภายใต้กรอบระยะเวลา ๒๑ ชั่วโมง (Hackathon) ณ หอประชุมประดู่แดง มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยมีคณะวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า ๘ คนให้คำแนะนำ และในวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๕ ทั้ง ๘ ทีมได้นำเสนอผลลัพธ์ต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒๔ คน จากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน ประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กรมการขนส่งทางราง กรมการขนส่งทางบก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย สมาคมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย สถาบันยานยนต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเรียนเก่าเยอรมันในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย IEEE Joint IAS/IES/PELS Thailand Chapter บริษัท แชฟฟ์เลอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท โคเวสโตร (ประเทศไทย) จำกัด
รายนามทีมที่ได้รับรางวัลมี ดังนี้
๑. ทีม ACDC จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลชนะเลิศ
(๑) นายชานน วนาสินชัย
(๒) นายณัฐวัตร ปิยนนทยา
(๓) นายก่อพจน์ ปิยะอัษฎารัตน์
นำเสนอผลงานเกี่ยวกับการดัดแปลงรถโดยสารสาธารณะขนาดเล็ก หรือรถกะป้อให้กลายเป็นรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้าร่วมกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการค้นหาเส้นทางที่สั้นที่สุด เพื่อเชื่อมต่อกับเส้นทางเดินรถสาธารณะในพื้นที่แออัดเพื่อหลีกเลี่ยงความหนาแน่นของจราจร
๒. ทีม PorMayJedi จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑
(๑) นายภัคพล ชัยมงคลตระกูล
(๒) นางสาวปอเงิน สุกใส
(๓) นางสาวเมทินี ธุลีรัตน์
นำเสนอผลงานเกี่ยวกับรูปแบบการเดินทางเชื่อมต่อพื้นที่ระหว่างบริเวณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือกับสถานีรถไฟฟ้าด้วยบริการรถโดยสารไฟฟ้า
(E-Shuttle Bus) และบริการให้เช่าสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า (E-Scooter) ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือในการบริหารจัดการการจองและเช่าสกู๊ตเตอร์ดังกล่าว
๓. ทีม Bangmod จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับรางวัลรองชนะเลิศลำดับ ๒
(๑) นางสาวกวิสรา ศรีพัฒนตระกูล
(๒) นางสาวรัชดาพร บุญรังสี
(๓) นายสุภชิต คุ้มสิริพิทักษ์
นำเสนอผลงานเกี่ยวกับบริการแอปพลิเคชันให้เช่ารถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ไฟฟ้า สำหรับผู้อาศัยในพื้นที่แออัด (Superblock) บริเวณรอบ ๆ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อเชื่อมต่อผู้เดินทางจากจุดกึ่งกลางของพื้นที่มายังขนส่งสาธารณะที่ใกล้ที่สุด
๔. รางวัลชมเชย ๕ ทีม ได้แก่ ทีม Thunder EV จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทีม EVT-028 จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทีม Wagen Toretto จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทีม KUXEV จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทีม CHARGEGEN จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากทีมผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับรางวัลลำดับที่ ๑ – ๓ ซึ่งได้รับโล่ห์เกียรติยศและใบประกาศนียบัตร และ ๕ ทีมที่ได้รับรางวัลชมเชยได้รับใบประกาศนียบัตร ทั้ง ๘ ทีมยังได้รับรางวัลเงินสดเพื่อเป็นทุนการศึกษาจากกระทรวงการต่างประเทศและ มจพ. โดยทีมชนะเลิศได้รับ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ทีมรองชนะเลิศอันดับ ๑ จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท
ทีมรองชนะเลิศอันดับ ๒ จำนวน ๒๕,๐๐๐ บาท และทีมรางวัลชมเชย ทีมละ ๑๕,๐๐๐ บาท
ผลสำเร็จสำคัญประการหนึ่งของโครงการแข่งขันฯ ดังกล่าว นอกจากเป็นการระดมพลังสมองของภาคีที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการพัฒนาความก้าวหน้าในนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของไทยให้ทันสมัยแล้ว ยังเป็นกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างไทยกับเยอรมนีในความร่วมมือผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์พร้อมกับการใช้พลังงานสะอาดควบคู่กันไป
ความสำเร็จของโครงการดังกล่าว นอกจากจะเกิดขึ้นได้จากความร่วมมือสามฝ่ายระหว่าง กรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ มจพ. และสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีฯ และการที่นักศึกษาทั่วประเทศได้ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการแข่งขันฯ แล้ว (จำนวนทั้งสิ้น ๑๐๓ ทีม) ยังได้รับความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคเอกชน อาทิ การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปอร์เช่ (ประเทศไทย) บริษัท แชฟฟ์เลอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โคเวสโตร (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท บีเอ็มดับเบิ้ลยู กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท โรเบิร์ต บ๊อช จำกัด บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท เมอร์เซเดส เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด มูลนิธิเอสซีจี ลามี่ ประเทศไทย บริษัท ทียูวี ไรน์แลนด์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ซีเมนส์ จำกัด
ที่มา: กระทรวงการต่างประเทศ
As part of their spo…
This website uses cookies.