Motor Sport Sponsored

กฟผ.จ่อดึงงบกองทุนอนุรักษ์ฯหนุนใช้ ‘มอไซค์ไฟฟ้า’ 5พันคัน – กรุงเทพธุรกิจ

Motor Sport Sponsored
Motor Sport Sponsored

กฟผ.ผนึก พพ.เล็งของบกองทุนอนุรักษ์ฯร่วมส่งเสริมใช้รถจักรยายนต์ไฟฟ้า ตั้งเป้าระยะแรก 5,000 คัน คาดสรุปรูปแบบชัดเจนเร็วๆนี้ แย้มจีบ “บางจากฯ” ร่วมตั้งปั๊มชาร์จอีวี ขณะที่เตรียมเปิดตัว 5 ปั๊มแรกกับ “พีทีจี” ช่วงต้นเดือนมี.ค.นี้

นางสาวจิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ และโฆษกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ.ได้ประสานความร่วมมือกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กำหนดแนวทางทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าให้มีมาตรฐานพลังงานประสิทธิภาพสูง เบื้องต้น มีแนวคิดจะใช้เงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และงบของ กฟผ.มาสนับสนุนให้กลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันปรับเปลี่ยนมาใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแทน ซึ่งมีเป้าหมายจะเริ่มนำร่องระยะแรก ประมาณ 5,000 คัน ก่อนขยายผลไปสู่ตลาดอย่างแพร่หลายต่อไป

“ขณะนี้ กำลังหารือร่วมละเอียดรูปแบบความร่วมมือและแนวทางส่งเสริมระหว่างกัน คาดว่า จะได้ข้อสรุปในเร็วๆนี้ ทั้งการกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เช่น กลุ่มผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้าง กลุ่มผู้ใช้จักรยานยนต์ในการส่งอาหาร และกลุ่มผู้ใช้จักรยานยนต์ส่งพัสดุ ทั้ง Grab Food, Food Panda, LINE MEN เป็นต้น”

นอกจากนี้ กฟผ.ได้นำเสนอแผนการส่งเสริมจักรยานยนต์ไฟฟ้า ของ กฟผ. ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ และแนวทางการส่งเสริมในอนาคต โดยปัจจุบัน กฟผ. ได้ผลิตจักยานยนต์ไฟฟ้าต้นแบบจำนวน 51 คัน ขนาดมอเตอร์ 3 kW โดย 1 คัน ประกอบด้วยแบตเตอรี่ 2 ลูก สามารถวิ่งได้ 100 กิโล ความเร็วสูงสุด 80 กิโล/ชั่วโมง หรืออัตราการใช้พลังงานที่ 33.4 Wh/km  อีกทั้ง กฟผ. ได้มอบฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เป็นจำนวน 20 รุ่น หรือ 12,500 แผ่น ให้กับผู้ประกอบการผลิตจักรยานยนต์ไฟฟ้า

นางสาวจิราพร กล่าวอีกว่า กฟผ.ยังมีความร่วมมือกับภาคเอกชนในการขยายการลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ล่าสุด อยู่ระหว่างหารือกับบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BCP ในการร่วมลงทุนขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าในสถานีบริการน้ำมันของบางจาก คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้

ขณะเดียวกัน กฟผ.ได้มีความร่วมมือกับบริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG ลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้ายานยนต์ในสถานีบริการน้ำมัน PT เบื้องต้น จะนำร่องก่อน 5 แห่ง โดยใช้เทคโนโลยีของ กฟผ. คาดว่า จะเปิดตัวในเดือน มี.ค.นี้

 ทั้งนี้ กฟผ.ตั้งเป้าหมายการเติบโตในธุรกิจใหม่ เช่น ธุรกิจ Electric Vehicle (EV) โดยจัดทำสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ซึ่งปี 2564 มีเป้าหมายจะก่อสร้างให้ครบ 31 แห่ง เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเติบโตของรถ EV รวมถึงมีแผนจะจัดทำเครื่องอัดประจุไฟฟ้าแบบเร็ว (EGAT DC Quick Charger) ขนาด 100 กิโลวัตต์ และเตรียมขยายผลเชิงพาณิชย์ธุรกิจแบตเตอรี่อัจฉริยะ (Batt 20C) ต่อไป

ด้านนางวีนัส หลงสมบุญ ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ. เตรียมเดินหน้านำผลงานวิจัยเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ 20C Discharge C Rate & Pole Solid State Battery หรือ Batt 20C ที่ กฟผ. และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมกันวิจัยพัฒนาและขึ้นบัญชีนวัตกรรมเรียบร้อยแล้วมาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ โดยเมื่อเร็วๆนี้ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ในการนำ Batt 20C ไปขยายผลสู่ธุรกิจด้านการขนส่ง อาทิ ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งและโลจิสติกส์ ยานยนต์พิเศษสำหรับกิจการภาคพื้นในสนามบิน การพัฒนาสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั้งแบบติดตั้งอยู่กับที่ (Stationary EV Charger) และแบบเคลื่อนที่ (Mobile EV Charger) เพื่อให้บริการภายในสถานีบริการน้ำมันและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ

รวมถึง จัดตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อศึกษาการจัดทำแผนธุรกิจ ช่องทางการตลาด การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อคัดเลือกเป็นธุรกิจนำร่องในอนาคตต่อไป โดยมีกรอบระยะเวลาการศึกษาทั้งหมด 5 ปี

Motor Sport Sponsored
แข่งรถ รถแข่ง

การแข่งรถ (หรือเรียกว่าแข่งรถยนต์ หรือ รถแข่ง) เป็นมอเตอร์สปอร์ตที่เกี่ยวข้องกับการแข่งโดยใช้รถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ รถจักรยาน สำหรับการแข่งขัน

This website uses cookies.