ตามนโยบาย “พล.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหายาเสพติด ในด้านการบำบัดรักษา “ผู้เสพ” คือ “ผู้ป่วย” ที่จะต้องเข้ารับการบำบัดรักษา โดยนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือและเข้าไปสำรวจในทุกพื้นที่ ตำบล หมู่บ้าน ชุมชน คนที่ติดยาเสพติด ต้องได้รับการขึ้นทะเบียน เพื่อนำไปสู่การบำบัด รักษา รวมถึงการฝึกอาชีพ ให้ผู้ผ่านการบำบัดรักษาที่มีความสนใจได้มีอาชีพ สามารถดูแลตนเองต่อไปได้และมีการติดตามผู้ผ่านการบำบัดรักษาอย่างเป็นระบบ จึงได้มีคำสั่ง สำนักนายกรัฐมนตรีที่ 20/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงาน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานการณ์โควิด – 19 โดยมี “พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการในการดำเนินการ โดยท่านยึดถือหลักการทำงาน 3 ประการ คือ 1.ประชาชนต้องได้รับการช่วยเหลือเป็นอย่างดี 2.บูรณาการการทำงานร่วมกันทุกภาคส่วน และ3.นำผู้เสพยาเสพติด ไปเข้ารับการบำบัดรักษา เพื่อเป็นการคืนคนดีสู่สังคม ให้เกียรติในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยจะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ “พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข” ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มอบหมายให้ “พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์” รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ/ผอ.ศอ.ปส.ตร. เป็นผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการดำเนินโครงการชุมชนการเคหะยั่งยืนแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชน ร่วมกับ “นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ” ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 65 ที่ผ่านมา โดยมี ผู้ช่วยผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ, ผู้แทนจากอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, ผู้แทนปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, ผู้แทนปลัดกระทรวงมหาดไทย, ผู้แทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ผู้แทนผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข, ผู้แทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลธนบุรีบูรณา, “พล.ต.ท.บุญจันทร์ นวลสาย” ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมศรียานนท์ โซน C ชั้น 2 อาคาร 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติโดย มอบหมายให้ “พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ” รอง จตช. (ช่วยเหลืองาน ปป.)/รอง ผอ.ศอ.ปส.ตร. ขับเคลื่อนโครงการฯ ดังกล่าว
เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจร ตามยุทธศาสตร์ชาติ มุ่งมั่นในการพัฒนาชุมชน ให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินตลอดจนป้องกันและปราบปรามปัญหายาเสพติดในชุมชนให้หมดไป ทั้งนี้ ได้คัดเลือกชุมชนการเคหะแห่งชาติเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 20 ชุมชน ใน 18 จังหวัด ทั่วประเทศ กำหนดระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน (เม.ย. – มิ.ย. 65) โดยมีขั้นตอนในการปฏิบัติ คือ
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมการ ประชุมวางแผน สืบสภาพชุมชน โดยคัดเลือกชุมชนเป้าหมายที่มีปัญหายาเสพติดแพร่ระบาดรุนแรงหรือพื้นที่สีแดง แต่งตั้งชุดปฏิบัติการ จัดประชุมร่วมกับผู้นำชุมชน กำหนดวันเริ่มต้นโครงการ พบผู้นำชุมชน/แกนนำชุมชนและแสวงหาความร่วมมือจากประชาชน
ขั้นตอนที่ 2 ประชุมวางแผนการทำงานและการทำกิจกรรม ตลอดระยะเวลา 3 เดือน สร้างแนวร่วม โดยเน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการและหลังจากโครงการสิ้นสุดโครงการ ชุมชนต้องสามารถดูแลชุมชนต่อไปได้อย่างยั่งยืน ค้นหาผู้เสพโดยการเอกซเรย์ 100% คือบุคคลทุกคนในชุมชนเป้าหมายนั้นจะต้องได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มงวด ติดตาม ช่วยเหลือ เยี่ยมบ้าน สร้างกฎชุมชน ฟื้นฟูสังคม เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจคณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน/อาคารชุด ในบทบาทภารกิจในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้วยการแต่งตั้งชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน เพื่อดูแลตรวจตรา ป้องกัน แจ้งข่าว อย่างต่อเนื่องโดยมีการทำงานต่อจากชุดปฏิบัติการหลังเสร็จสิ้นภารกิจ
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นส่งต่อความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้และเป็นสถานที่ศึกษาดูงานให้กับชุมชนอื่นๆ รวมถึงการระวังป้องกันชุมชนกลับสู่สภาพเดิม โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายจัดตั้งกลุ่ม รวมถึงมีช่องทางในการติดต่อสื่อสาร ประชุม และติดตามผลในการทำงานเป็นประจำ และท้ายสุดคือการติดตามประเมินผล
ทั้งนี้ ในวันที่ 30 มิ.ย. 65 “พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ” รอง จตช. (ช่วยเหลืองาน ปป.)/รอง ผอ.ศอ.ปส.ตร. พร้อมด้วย “พล.ต.ท.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร” ผบช.ภ.1, “พล.ต.ต.พีระพงศ์ วงษ์สมาน” รอง ผบช.ภ.1, “พล.ต.ต.ไพศาล วงศ์วัชรมงคล” ผบก.ภ.จว.นนทบุรีได้เดินทางไปเป็นประธานในพิธีปิดโครงการฯ ในพื้นที่บ้านเอื้ออาทรนนทบุรี(บางใหญ่ซิติ้) อ.บางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี โดยมี “นายวิทยา ชพานนท์” นายอำเภอบางใหญ่, “นายชนินทร์ ธรรมชูเชาวรัตน์” นายกเทศมนตรีตำบลเสาธงหิน, “นางพรอุษา วีระเดชลิกุล” ตัวแทนการเคหะแห่งชาติ, “นายเคลื่อน คงสม” ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอบางใหญ่, คณะ กต.ตร.สภ.บางใหญ่,ผู้ใหญ่บ้านและประชาชนในชุมชนเข้าร่วมพิธี
จากการดำเนินการห้วง 3 เดือนที่ผ่านมา นอกเหนือปัญหาสิ่งเสพติดแล้วยังพบปัญหาอื่นๆ เช่น การแข่งรถในทางสาธารณะ ส่งเสียงดังรบกวนประชาชนในพื้นที่ มั่วสุม ทะเลาะวิวาท และปัญหาพื้นที่จอดรถซึ่งปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ได้ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจเข้าตรวจตรากวดขันให้ถี่ขึ้น เข้าระงับเหตุรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเข้าแก้ไขปัญหาการจอดรถ รวมทั้งประสานหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เช่น ติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV เพิ่มเติม และขอความร่วมมือผู้นำชุมชนเพิ่มวงรอบในการพบปะลูกบ้านให้มากขึ้นกว่าเดิมผลที่ได้รับ คือ มีมวลชนเพิ่มเติม
สำหรับ ผลการปฏิบัติทั่วประเทศ 20 ชุมชน ใน 18 จังหวัด หลังดำเนินการ 3 เดือน พบประชากร จำนวนทั้งสิ้น 16,979 คน มีกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 986 คน สมัครใจ ตรวจปัสสาวะ 9,560 คน ไม่สมัครใจตรวจ 613 คน พบผู้เสพ 83 คน พบผู้ติด หรือผู้ที่มีอาการทางจิต 6 คน สมัครใจเข้ารับการบำบัด 176 คน และไม่สมัครใจ 3 คน
ทั้งนี้ในหลายพื้นที่ได้มีการส่งเสริมอาชีพแก่ผู้เข้ารับการบำบัดสารเสพติด อาทิอบรมการทำ หมูกรอบ, หนังหมูกรอบ, ทำสบู่, เจลล้างมือ, ช่างตัดผม, ช่างซ่อมรถจักรยานและรถจักยานยนต์, งานก่อสร้าง, ชมกิจการเพาะเลี้ยงปลากัดเศรษฐกิจ และชมกิจการปลูกไม้เศรษฐกิจ ซึ่งทุกอาชีพ ผู้บำบัดสามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพได้
ภายหลังจากการดำเนินการตามโครงการฯ พบผู้เสพ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ให้ความไว้วางใจเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ลงไปทำกิจกรรมในพื้นที่ ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และร่วมทำกิจกรรมของชุมชนโดยการอาสาช่วยเหลือมากขึ้น
As part of their spo…
This website uses cookies.