ที่ “หมอกระต่าย” ถูกชน เพราะคนขาดวินัย หรือ ขาดจิตสำนึกสังคม? – คมชัดลึก

ไม่ใช่ครั้งแรกที่รถชนคนตายที่ทางม้าลาย

หลายคนคงรู้ดีกว่าเหตุการณ์อุบัติเหตุรถจักรยานต์บิ๊กไบค์ชนคนข้ามถนนเมื่อวันที่ 21 ม.ค.65 ที่ผ่านมาเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ตัวอย่างของ “อุบัติเหตุรถชนคนที่ทางม้าลาย” เพราะหากย้อนเวลากลับไปดูข่าวเมื่อปลายปี 2557 เราได้เห็นความสูญเสียส่งท้ายปีสำหรับเหตุการณ์ รถฝ่าไฟแดงบริเวณหน้าตึกแกรมมี่ย่านอโศกพุ่งชนพนักงานสาวแกรมมี่ขณะข้ามทางม้าลายจนเสียชีวิต หรือปี 2562 ว่าที่บัณฑิตถูกรถบิ๊กไบค์ชนเสียชีวิต ขณะข้ามทางม้าลาย เพื่อไปทำงานเป็นวันแรก ทั้งสองเหตุการณ์ต่างทำให้เกิดสูญเสียและความโศกเศร้าเสียใจให้แก่ครอบครัวของผู้เสียชีวิต

ที่

รวมถึงได้ส่งแรงสะเทือนไปในสังคมถึงการ “รณรงค์คนขับให้หยุดรถ ณ ทางม้าลาย” และแม้ได้มีหลายเหตุกาณ์ในอดีตให้เราได้เรียนรู้ ทำไมวันนี้เรายังยอมให้สูญเสียหมอกระต่าย หมอผู้เป็นอนาคตคนสำคัญของชาติไปได้อีก?

“การขาดวินัย” และ “จิตสำนึกทางสังคม”

หากบอกว่าคนไทยส่วนมากยังขาด “จิตสำนึกทางสังคม” คงไม่ใช่คำพูดที่แรงเกินไปหากแต่เป็นความจริง เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม และ มนุษย์ต้องพึ่งพาอาศัยกันเพื่อความอยู่รอดดั่งน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า จิตสำนึกการอยู่ร่วมกันในสังคมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการลดอุบัติเหตุและการสร้าง “สังคมคุณภาพ” แต่ประเทศไทยวันนี้ 

  • เราไม่สามารถบังคับใช้กฏหมายหยุดรถที่ทางม้าลายได้จริงจังด้วยกรอบค่านิยม  “ความเกรงใจ” 

     
  • ผู้ใช้รถบางราย “ไม่มีวินัย” มากพอที่หยุดรถให้คนข้ามทั้งที่รู้ว่านี่คือ ทางม้าลาย 

     
  • รวมถึงผู้ข้ามถนนติดกับดัก “ความเคยชิน” ที่ต้องให้รถหยุดก่อนจึงข้ามทางม้าลายเพราะกลัวอัตรายที่จะเกิดกับตัว 


วงจรอุบาทว์

สิ่งเหล่านี้ทำให้สังคมเราเกิดเป็น “วงจรอุบาทว์” เมื่อต่างฝ่ายต่างไม่ร่วมมือกัน เมื่อเรายังขาด “วินัยและจิตสำนึก” ว่าเราต่างควรปฏิบัติตัวอย่างไรให้สังคมเรามีความปลอดภัยมากกว่านี้ และเมื่อคุณได้อ่านบทความนี้แล้ว ไม่ว่าคุณจะอยู่ในฐานะใด ไม่ว่าาจะผู้ออกนโยบาย ผู้บังคับใช้กฏหมาย ผู้ใช้รถ หรือ ผู้ใช้ถนน เราอยากให้คุณรู้ว่าตัวคุณเองคือคนที่สำคัญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้สังคมโดยเริ่มจากสร้างวินัยในการหยุดรถ ณ ทางม้าลายให้คนได้ข้าม และ ไม่กลัวที่จะตักเตือนผู้ที่ไม่ยอมหยุดรถที่ทางม้าลายให้เขารู้ตัว เป็นต้น