“คมนาคม” นำร่องความเร็วสูงสุดได้ 120 กม.ต่อชม.เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ถนนสายเอเชีย ช่วงหมวดทางหลวงบางปะอิน-ทางต่างระดับอ่างทอง ระยะทาง 50 กิโลเมตร เริ่ม 1 เม.ย.นี้ ส่วนเฟสต่อไปเล็งพิจารณาถนนราชพฤกษ์ และถนนชัยพฤกษ์
วันนี้ (15 มี.ค.2564) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.ทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมติดตามความคืบหน้านโยบายขยายอัตราความเร็วบนถนน 4 ช่องจราจร ที่สามารถใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงว่า การประชุมครั้งนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป 100% แต่ยืนยันว่าเบื้องต้นจะเริ่มคิกออฟในเส้นทางแรก คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ช่วงบริเวณหมวดทาง หลวงบางปะอิน-ทางต่างระดับอ่างทอง ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ในวันที่ 1 เม.ย.นี้ ยืนยันว่าการดำเนินการดังกล่าว เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
สำหรับระยะต่อไป จะเปิดถนนให้ใช้ความเร็วเพิ่มรวม 240 กิโลเมตร โดยกรมทางหลวงชนบท จะเปิดให้ใช้ความเร็วบนถนนได้อีก 90 กิโลเมตร เช่น ถนนราชพฤกษ์ และถนนชัยพฤกษ์ ส่วนกรมทางหลวง จะเปิดให้ใช้ความเร็วบนถนนได้ 150 กิโลเมตร คาดว่าจะเปิดให้ใช้ความเร็วได้หลังคิกออฟ ระยะแรก ประมาณ 2-3 เดือน
ถนนทั่วประเทศมีระยะทางกว่า 12,000 กิโลเมตร ที่มี 4 ช่องจราจร มีเกาะกลางถนน และไม่มีจุดกลับรถ หรือจุดตัดเสมอเส้นทาง
นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า การประชุมครั้งนี้ มีการเสนอเส้นทางที่มีศักยภาพที่จะสามารถให้ใช้ความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่เน้นย้ำไปว่าไม่จำเป็นต้องรอให้พร้อม และเปิดให้ใช้ความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงทีเดียว พร้อมกันยาวๆ สามารถแบ่งเป็นช่วง ประมาณ 2-3 กิโลเมตร ได้ ซึ่งมองว่าน่าจะทำได้ แต่ต้องติดป้ายแจ้งเตือนความเร็วให้ประชาชนให้ชัดเจนว่าจุดนี้ใช้ความเร็วได้เท่าใด เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุ
ทั้งนี้ กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท ต้องเร่งติดตั้งป้ายบอกความเร็ว ปิดจุดกลับรถ รวมถึงการสร้างสะพานลอยข้ามถนนที่สามารถให้คน รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน สามารถข้ามผ่านถนนได้ โดยพิจารณาจากแนวทางการดำเนินการของต่างประเทศ ที่จะมีจุดกลับรถในทุกๆ 10 กิโลเมตร เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชนในพื้นที่ และผู้ใช้รถใช้ถนน พร้อมกันนี้จะต้องไปบูรณาการกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในเรื่องของป้ายจราจร และบทลงโทษตามกฎหมาย อีกทั้งได้เตรียมว่าจ้างสถาบันการศึกษา เพื่อประเมินผลการดำเนินการด้วย
อ่านข่าวเพิ่ม นำร่อง 3 เส้นทาง เพิ่มความเร็ว 120 กม./ชม.
เบื้องต้นให้ใช้งบประมาณจากกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) ขณะนี้กองทุนดังกล่าวมีเงินคงเหลือประมาณ 5,000 ล้านบาทขณะเดียวกัน ยังได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมไปพิจารณาขอสนับสนุนเงินจากกองทุนความปลอดภัยทางถนนของต่างประเทศได้หรือไม่ ทั้งในรูปแบบของการขอเงินสนับสนุนแบบให้เปล่า และการกู้ยืมเงิน
หลังจากเปิดให้ประชาชนสามารถใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็จะให้สถาบันการศึกษาเข้ามาประเมินผลโครงการด้วยว่า การดำเนินงานดังกล่าวทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกปลอดภัยหรือไม่
ส่วนจะมีการประกาศให้สามารถใช้ความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในเส้นทางใดเพิ่ม จะต้องประกาศล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน เพื่อให้ประชาชนทราบรายละเอียดว่าจะเริ่มเมื่อไหร่ และเส้นทางใดบ้าง
รายงานจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ในที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการเส้นทางที่มีศักยภาพสามารถนำมาประกาสเพิ่มเติมทั้งในส่วนของ ทล. และ ทช. ที่ได้กำหนดแผนงานสำรวจ ปรับปรุงลักษระทางกายภาพ ติดตั้งป้ายกำกับความเร็ว แบ่งเป็นเส้นทางหลวงแผ่นดินที่มีศักยภาพ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 จังหวัดสมุทรสงคราม ,ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 จ.อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท และนครสวรรค์ ,ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 จ.นครราชสีมา ,ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 จ. ปทุมธานี และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 จ.เพชรบุรี
ขณะที่เส้นทางทางหลวงชนบทที่มีศักยภาพ ได้แก่ ถนนราชพฤกษ์ (นบ.3021) ,ถนนนครอินทร์ (นบ.1020) ,ถนนข้าวหลาม จังหวัดชลบุรี (ชบ.1073) ,จังหวัดระยอง (รย.1035) และถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี (ชม.3024)
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
คมนาคม เตรียมเคาะ 11 เส้นทาง ใช้ความเร็ว 120กม./ ชม.
ไฟเขียว! ครม.เคาะความเร็วรถใหม่ ขยับสูงสุด 120 กม./ชม.
As part of their spo…
This website uses cookies.