Motor Sport Sponsored

คลายล็อก 10 อุทยานฯ ฮิตคนทะลัก-รายได้ไม่พ่วง KPI – ข่าวไทยพีบีเอส

Motor Sport Sponsored
Motor Sport Sponsored

ไทยพีบีเอสออนไลน์ พบ 7 วันหลังคลายล็อก นักท่องเที่ยวโหยหาธรรมชาติแห่เที่ยว 10 อุทยานยอดฮิต เขาใหญ่มากสุด 24,000 คน ผอ.สำนักอุทยาน กำชับคนล้นแต่เหลื่อมช่วงเวลา คงคุม COVID-19 ยันเงินรายได้วูบ แต่ไม่ถือเป็น KPI เล็งประมูลอีทิกเก็ตแก้ทุจริต

บรรยากาศยามเช้า ที่มีไอหมอก และอากาศเย็นสบาย 21องศา แค่ได้เห็นก็สุขใจกับบรรยากาศดีๆแบบนี้ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  ขอกินหน่อย น้องหมีปีนต้นไม้ ตามกลิ่นไข่เจียวผาตรอมใจ

ถ้อยคำเชิญชวนในกลุ่มนักท่องเที่ยวที่นิยมไปท่องธรรมชาติ กลายเป็นจุดขายในช่วงที่ผู้คนแสวงหาอากาศบริสุทธิ์ และโหยหาความสุขจากธรรมชาติจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ต้องชะงักการเดินทางและการท่องเที่ยวไปนานถึง 3 เดือน

เกิดอะไรขึ้นหลังคลายล็อก 1 ก.ย.

ทำให้หลังรัฐบาลประกาศมาตรการคลายล็อกเมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา ภาพที่ปรากฎคือผู้คนจำนวนมาก พากันออกไปท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติยอดนิยม โดยเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกทม. และสามารถเดินทางไป-กลับได้ จึงเกิดกระแสรถติดยาว และถูกโซเชียลตั้งคำถามถึงมาตรการควบคุม COVID-19

7,937 คน คือตัวเลขของนักท่องเที่ยวที่ขึ้นไปบนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เมื่อช่วงวันหยุดที่ผ่านมา

อดิศักดิ์ ภูสิทธิ์วงศานุยุต หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า นักท่องเที่ยวที่ขึ้นไปเขาใหญ่เมื่อช่วงเสาร์อาทิตย์ที่ 4-5 ก.ย.ที่ผ่านมา มีตัวเลขเฉลี่ยวันละเกือบ 8,000 คน สาเหตุหลักมาจากข่าวของหมีกินไข่เจียว บนผาตรอมใจ

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ประกอบกับช่วงนี้เข้าสู่ฤดูฝน สถานที่ท่องเที่ยวบนเขาใหญ่ เช่น น้ำตก จุดชมวิว และสัตว์ป่าหลากหลายชนิด เช่น ช้างป่า รวมทั้งนกกก ที่มากินลูกไทรสุก บริเวณจุดชมวิว ก.ม.ที่ 30 ทำให้ดึงดูดนักท่องเที่ยว

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ยืนยันว่า มีมาตรการแก้ไขปัญหานักท่องเที่ยวแออัด บริเวณผาตรอม ใจ ด้วยการตั้งด่านตรวจบริเวณจุดตรวจป้อมเขาเขียว จำกัดจำนวนยานพาหนะต่อรอบ รถยนต์ ไม่เกิน 30 คัน รถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 50 คัน และรถจักรยาน ไม่เกิน 30 คัน ซึ่งความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี ลดปัญหาความแออัดของนักท่องเที่ยวบริเวณผาตรอมใจ ได้เสำเร็จ

มีการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ขณะซื้อบัตรค่าบริการ ตั้งป้ายเตือนบริเวณหน้ารถ ตั้งจุดบริการนักท่องเที่ยวบริเวณอ่างเก็บน้ำสายศร มีสายตรวจเจ้าหน้าที่ออกดูแลความเรียบร้อย

มั่นใจว่านักท่องเที่ยวทุกคน จะทราบถึงแนวทางปฏิบัติในการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ โดยเจ้าหน้าที่ก็ดูแลความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวได้อย่างทั่วถึง

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

จำกัดนักท่องเที่ยวไม่ได้ผล?

ไม่จริง ยังมีการจำกัดนักท่องเที่ยวทุกอุทยาน หลัง COVID-19 เพราะต้องคงมาตรการทางสาธารณสุขไม่ให้แออัด และไม่กระทบกับทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่ง

นายดำรัส โพธิ์ประสิทธิ์ ผอ.สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ยืนยันว่าตัวเลขของนักท่องเที่ยวหลังคลายล็อกในช่วง 1 สัปดาห์ตามนโยบายรัฐบาลไม่ได้สูงขึ้นทุกแห่ง เพราะแม้จะคลายล็อก แต่เชื่อว่าคนจำนวนมากยังเกร็งอยู่ และหลายจังหวัดที่ติดล็อกเป็นจังหวัดสีแดงเข้ม ส่วนใหญ่ยังอยู่ในการควบคุม ไม่ได้เปิดรับนักท่องเที่ยวเต็ม 100%

ทั้งนี้ อุทยานฯทุกแห่งที่เปิดแล้ว ยังจำกัดนักท่องเที่ยวในแต่ละช่วงเวลาคงเดิม และนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปก็ต้องลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน QueQ ซึ่งคำว่าจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว คือช่วงเวลาหนึ่งๆ เหมือนกับลานจอดรถห้าง ที่มีคนเข้า-ออก

กรณีของเขาใหญ่เกือบ 8,000 คนวันเดียวแต่ไม่ได้ไปกระจุกในช่วงเวลาเดียวกัน เพราะเข้าออกสลับช่วงกัน และตอนนี้ก็ยังห้ามค้างคืน

10 อันดับอุทยานฯยอดฮิตหลังคลายล็อก

ท้งนี้จากข้อมูล 10 อันดับอุทยานคนแห่เที่ยวหลังคลายล็อกระหว่างวันที่ 1-7 ก.ย.ที่ผ่านมา กรมอุทยานฯรายงานว่า อันดับแรก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 24,856 คน รองลงมาอุทยานแห่งชาติคลองลาน 6,071 คน อุทยานแห่งชาติภูแลนคา 4,333 คน อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม้ด 3,008 คน อุทยานแห่งชาติภูเวียง 1,301 คน อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย 1,039 คนอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม 1,007 คน อุทยานแห่งชาติตาดโตน 994 คน อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด 898 คน อุทยานแห่งชาติภูลังกา 801 คน

ดำรัส อธิบายว่า จำนวนคนกับเงินรายได้ที่เก็บได้อาจจะไม่สอดคล้องกัน เพราะหากไล่เรียงตามจำนวนนักท่องเที่ยว 10 อันดับ บางแห่งรายได้สูงสุด แซงบางแห่งที่นักท่องเที่ยวน้อย เพราะบางแห่งมีนักท่องเที่ยวต่างๆชาติเก็บสูงกว่าคนไทยเก็บ 40 บาท และ 200 บาท

เงินรายได้ไม่พ่วง KPI หน.อุทยาน

ผอ.สำนักอุทยานแห่งชาติ ยืนยันว่าไม่ได้กำหนดให้การเก็บเงินรายได้เข้าอุทยานฯ เพื่อแข่งกันทำเงินแลกกับเคพีไออย่างแน่นอน ตัวเลขการชี้วัดคน ไม่ได้มาจากเงินรายได้การเก็บค่าธรรมเนียมเข้าอุทยาน เพราะต้องขึ้นกับปริมาณนักท่องเที่ยวทั้งคนไทย และต่างชาติ ซึ่งปัจจุบันคิดคนไทย 40 บาท ต่างชาติ 200 บาทต่อคน รวมทั้งสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแต่ละจังหวัด ภูมิภาค มักจะได้รับความนิยมต่างกันไป ถ้าเอารายได้มากำหนด หัวหน้าที่ได้อุทยานฯเล็กก็คงแย่ และส่วนหนึ่งคงเป็นเรื่องอดีตที่เคยมีปัญหาการทุจริตเกิดขึ้นกับการเก็บเงินค่าธรรมเนียม ทำให้ยังมองถึงประเด็นนี้อยู่

ไม่มีการกำหนดเป็นเคพีไอแน่นอน เพราะอยู่ที่นักท่องเที่ยวคงไปบังคับให้แห่กันไปท่องเที่ยวที่เดิมไมได้ เช่น เขาเคยไปหมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ แล้วก็อยากไปเขาพิงกัน ที่อ่าวพังงา หรืออยากไปดูช้าง ที่เขาใหญ่ ตรงนี้ จุดขายแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน เงินรายได้ก็แตกต่างกันไป ไปเหมารวมไม่ได้ 

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

เงินรายได้ปีละ 2,000 ล้านลดลงช่วง COVID-19

นายดำรัส กล่าวอีกว่า ในอดีตกรมอุทยานฯ เคยมีรายได้จากค่าธรรมเนียม ปีละ 500-600 ล้านบาท แต่ในช่วง 4 ปีนี้พบว่าการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยช่วงปีแรกเริ่มจาก 1,000 ล้านบาท และเพิ่มเป็นปีละ 2,000 ล้านบาท และปี 62 รายได้รวม 2,258 ล้านบาท มีนักท่องเที่ยว 20.8 ล้านคน และเริ่มลดลงในปี 63 จากสถานการณ์ COVID-19 มีรายได้รวม 1,365 ล้านบาท มีนักท่องเที่ยวประมาณ13.9 ล้านคน

รายได้ลดลงไปเกือบ 900 ล้านบาท และนักท่องเที่ยวหายไปเกือบ 7 ล้านคน เงินรายได้ส่วนใหญ่ของอุทยานฯ มาจากค่าเข้าของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งมีการปิดประเทศ และปิดแหล่งท่องเที่ยวไป โดยเฉพาะทางทะเลอันดามัน

นอกจากนี้ นายดำรัส ระบุอีกว่า ขณะนี้เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และทำให้การจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวไปไปตามมาตรฐาน กรมอุทยานฯ อยู่ระหว่างการจัดประมูลทำทำระบบอีทิ๊กเก็ต วงเงิน 6 ล้านบาท เพื่อให้นักท่องเที่ยว ต้องซื้อผ่านระบบแอปพลิเคชันทั้งหมด แก้ปัญหาเจ้าหน้าที่ต้องจับเงิน ใครจะมาเที่ยวที่ไหนต้องจองล่วงหน้า ทั้งซื้อตั่วเข้าอุทยาน ค่าที่พัก เรียกว่าเงินจะเข้าสู่ช่องทางของกรมโดยตรง ซึ่งโครงการนี้วางแผนจะให้เสร็จทันปลายปี 64 แต่เนื่องจากเกิดปัญหาจากคู่แข่งของผู้จัดซื้อจัดจ้างยื่นคัดค้านกันเองทำให้ล่าช้าอย่างน้อย 1-2 เดือน

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ขอเงินรายได้คืนคลังได้หรือไม่?

ผอ.สำนักอุทยานแห่งชาติ ยังตอบคำถามกรณีส.ส.พรรคก้าวไกลตั้งคำถามขอให้คืนเงินรายได้ปีละเกือบ 3,000 ล้านคืนคลังว่า อุทยานฯ เก็บคนไทย 40 บาท ไปเที่ยว ค่ากางเต็นท์ 30 บาท ต่างชาติ 100 บาท ไม่ได้แสวงหากำไร แต่ไม่ได้ตั้งธงว่าเป็นการทำในรูปธุรกิจ

ถ้าส.ส.คิดว่าเงินรายได้ต้องคืนกลับคลัง แล้วจะเอาอะไรไปพัฒนา

เงินรายได้ที่เราเก็บปัจจุบันเกือบ 3 ,000 บาท แต่ปีนี้งบ 6 5ถูกปรับลดไป 900 ล้านบาท ประกอบกับช่วง COVID-19 อุทยานฯปิดมาแล้ว 2-3 ครั้ง ต้องให้ดูบริบทอื่นๆด้วยว่าเม็ดเงินเอาไปทำอะไรบ้าง ตอนนี้อุทยานฯ 133 แห่งประกาศเก็บเงินรายได้แล้วจาก 155 แห่ง

ส่วนที่เหลือจะใช้เงินส่วนนี้ไปเลี้ยงอุทยานที่ยังไม่มีรายได้ และบุคลากร เจ้าหน้าที่เดินป่า ค่าเบียเลี้ยง โดยแบ่งเป็นท้องถิ่น 5% ส่งกลับอุทยานฯ ที่จัดเก็บรายได้ 50% และที่เหลือกันไว้ใช้ในการซ่อมแซม ดูแลปรับปรุงบริการ เช่นห้องน้ำสาธารณะ บ้านพัก นำเงินส่วนนี้ไปเสริม

สำหรับผู้ที่จะเข้าไปท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ สำนักอุทยานแห่งชาติแนะนำว่า ก่อนเดินทางแนะนำให้ดูรายละเอียดเพิ่มข้อมูลช่วงเวลาปิดประจำปี และปิดชั่วคราวตามสถานการณ์ต่างๆ เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19นักท่องเที่ยวสามารถตรวจสอบข้อมูลการปิดแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติต่างๆ โดยขณะนี้มีเปิดให้บริการ 69 แห่งและปิดให้บริการ 89 แห่งดังนี้ 
https://docs.google.com/…/1Ig4U84IY4r3J7ix5YTjq…/edit…

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักท่องเที่ยวแน่น “ผาตรอมใจ” ตามรอยหมีกินไข่เจียว

นักท่องเที่ยว “ขอโทษ” จ่ายค่าปรับให้อาหารกวางเขาใหญ่

Motor Sport Sponsored
แข่งรถ รถแข่ง

การแข่งรถ (หรือเรียกว่าแข่งรถยนต์ หรือ รถแข่ง) เป็นมอเตอร์สปอร์ตที่เกี่ยวข้องกับการแข่งโดยใช้รถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ รถจักรยาน สำหรับการแข่งขัน

This website uses cookies.