เบนท์ลีย์ มอเตอร์ส เผยโฉมอัครยนตรกรรมขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยการนำเอาหลักการวิจัยและพัฒนาการนำเอาพลังงานหมุนเวียนมาประยุกติ์ใช้กับยนตรกรรม ก่อให้เกิดอัครยนตรกรรมที่ทรงสมรรถนะที่สุดในประวัติศาสตร์ 101 ปีของเบนท์ลีย์
โดย เดอะ คอนติเนนทัล จีที3 ไพค์สพีค (The Continental GT3 Pikes Peak) ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อลงชิงชัยในรายการแข่งขันด้วยความเร็ว (Time Attack) ของรายการ ไพค์สพีค อินเตอร์เนชั่นแนล ฮิลล์ ไคลมป์ (Pikes Peak International Hill Climb) ในปีนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นอัครยนตรกรรมเบนท์ลีย์รุ่นแรกที่ใช้ระบบพลังงานแบบหมุนเวียน ก่อนที่จะถูกนำมาประยุกติ์ใช้กับอัครยนตรกรรมรุ่นอื่นๆที่จะส่งมอบให้กับลูกค้าทั่วโลก
รถแข่ง เดอะ คอนติเนนทัล จีที3 (The Continental GT3) คันนี้ ซึ่งถูกพัฒนาบนหลักการพื้นฐานของรถแข่งเบนท์ลีย์จะเข้าชิงชัยในรอบ 12.42 ไมล์ ด้วยระบบเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel-based Gasoline) โดยขั้นตอนการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงได้ถูกทดสอบและประเมินบนพื้นฐานของหลักการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ให้ได้ถึง 85% ซึ่งถือว่ามากกว่าเกณฑ์มาตรฐานของเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil Fuel)
สิ่งนี้จึงเป็นก้าวแรกของจุดเริ่มต้นในการวิจัยและพัฒนาการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ (e-Fuels) เพื่อเป็นพลังงานทางเลือกในการขับเคลื่อนแผนงานด้านความยั่งยืนของเบนท์ลีย์
โดย กลยุทธ์ “Benyond 100” จะขับเคลื่อนเบนท์ลีย์ไปสู่ผู้ผลิตอัครยนตรกรรมหรูที่ยั่งยืนชั้นนำของโลก พร้อมกับอัครยนตรกรรมของเบนท์ลีย์ที่จะใช้พลังงานไฮบริด (Hybrid) ทุกรุ่นภายในปี พ.ศ. 2566 ก่อนที่จะเป็นผู้ผลิตอัครยนตรกรรมไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (BEV) เต็มรูปแบบภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งการนำเอาพลังงานแบบหมุนเวียนมาใช้นั้นได้แสดงให้เห็นถึงการเริ่มต้นของแผนงานระยะยาว
พร้อมด้วยการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำเอาการใช้พลังงานหมุนเวียนมาใช้กับอัครยนตรกรรมของลูกค้า ร่วมไปกับการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยทั้งสองกลยุทธ์นี้จะขับเคลื่อนเบนท์ลีย์ไปผู้ผลิตอัครยนตรกรรมรักษ์โลก ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ “Benyond 100”
สำหรับเครื่องยนต์สันดาป ทางเบนท์ลีย์ มอเตอร์สจะยังคงดำเนินการผลิตต่อไปอีก 9 ปี และแผนงานใหม่ที่ออกมาจะช่วยต่อยอดให้อัครยนตรกรรมของเบนท์ลีย์เป็นอัครยนตรกรรมที่รักษ์โลกด้วยการประยุกติ์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมของน้ำมันเชื้อเพลิง โดยกว่า 80% ของอัครยนตรกรรมเบนท์ลีย์ที่ผลิตนั้น ยังคงอยู่บนท้องถนนในปัจจุบัน
ซึ่งในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า การมอบทางเลือกการใช้เชื้อเพลิงแบบหมุนเวียนให้กับลูกค้าจะเป็นการมอบประสบการณ์ที่พิเศษสำหรับผู้ที่ครอบครองอัครยนตรกรรมเบนท์ลีย์ทั้งรุ่นคลาสิกและรุ่นปัจจุบัน
ดร. แมทเทียส เรบบ์ ประธานบริหารฝ่ายวิศวกรรม เบนท์ลีย์ มอเตอร์ส กล่าวว่า
“เรามีความยินดีที่จะได้กลับมาแข่งขันในรายการไพค์สพีคเป็นครั้งที่สาม และครั้งนี้เป็นการนำอัครยนตรกรรมพร้อมกับพลังงานแบบหมุนเวียนมาใช้ ซึ่งถือเป็นแผนงานเริ่มต้นสำหรับส่วนงานอื่นๆ ของกลยุทธ์ “Beyond 100” ของเรา
อีกทั้งวิศวกรเครื่องยนต์ของเราได้ดำเนินการด้านงานวิจัย ทั้งในด้านงานวิจัยเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ (e-fuels) สำหรับใช้กับรถยนต์ลูกค้าร่วมไปกับงานวิจัยด้านการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยมีความคืบหน้าไปกว่าครึ่งทางแล้วในส่วนของแผนการดำเนินงานด้านการนำเอาพลังงานหมุนเวียนมาใช้ที่โรงงานเบนท์ลีย์ มอเตอร์ส และรถยนต์ที่ใช้ที่โรงงานฯ
สำหรับ เดอะ คอนติเนนทัล จีที3 ไพค์สพีค (The Continental GT3 Pikes Peak) จะแสดงให้เห็นถึงการนำเอาพลังงานเชื้อเพลิงแบบหมุนเวียนมาใช้ในการผลักดันวงการมอเตอร์สปอร์ตในแบบรักษ์โลก และเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสิ่งนี้จะช่วยให้เราคว้าชัยในรายการนี้ได้เป็นครั้งที่สาม”
โครงการไพค์สพีคของเบนท์ลีย์ได้ถูกพัฒนาร่วมกับกลุ่มลูกค้าของ เดอะ คอนติเนนทัล จีที3 (The Continental GT3) ในนาม “ฟาส์ต” (Fastr) กลุ่มลูกค้าที่ประสบความสำเร็จในการจัดการแข่งขันรถแข่งเบนท์ลีย์ในการแข่งขันด้วยความเร็ว (Time Attack) มาแล้วทั่วประเทศอังกฤษ ทั้งทีมงานด้านเทคนิคของเบนท์ลีย์เองและทีมงานจาก “ฟาส์ต” (Fastr) ต่างร่วมมือกันกับผู้เชี่ยวชาญจาก M-Sport ในเขตคัมเบรียเพื่อดึงเอาสุดยอดของสมรรถนะจาก เดอะ คอนติเนนทัล จีที3 (The Continental GT3) มาใช้ โดยมีแผนลงแข่งขันในโคโลราโดโดยทีมงานพร้อมกับได้รับการสนับสนุนจากทีม K-PAX Racing
ในการทำลายสถิติ เดอะ คอนติเนนทัล จีที3 ไพค์สพีค (The Continental GT3 Pikes Peak) ต้องแข่งขันขับขึ้นทางลาดชันที่มีความสูงกว่า 5,000 ฟุต ซึ่งประกอบด้วยทางโค้งกว่า 156 โค้ง ด้วยความเร็วเฉลี่ย 125.53 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง เพื่อให้เข้าเส้นชัยภายในเวลา 9 นาที 36 วินาที โดยมีอดีตผู้ชนะการแข่งขันไพค์สพีคติดต่อกัน 3 รายการอย่าง รีส มิลเล็น (Rhys Millen) กลับมาควบเบนท์ลีย์ชิงชัยอีกครั้ง โดยรีส มิลเล็น (Rhys Millen) ได้เคยทำสถิติการแข่งขันด้วยความเร็ว (Time Attack) กับรถเอสยูวี เบนเทก้า เครื่องยนต์รุ่น W12 (Bentayga W12) ในปี พ.ศ. 2561 และ คอนติเนนทัล จีที ในปี พ.ศ. 2562 มาแล้ว
อัครยนตรกรรมเบนท์ลีย์ที่ทรงสมรรถนะที่สุดในประวัติศาสตร์
จากจุดสตาร์ทการแข่งขันเริ่มต้นที่ความสูง 9,300 ฟุต นักแข่งจะต้องขับไปที่ความสูงกว่า 14,100 ฟุต โดยที่มีความหนาแน่นของอากาศเปรียบเทียบกับความหนาแน่นของอากาศในความสูงระดับน้ำทะเลเพียงแค่ 1 ใน 3 เท่านั้น ซึ่งสภาพแวดล้อมลักษณะนี้ การออกแบบ เดอะ คอนติเนนทัล จีที3 ไพค์สพีค (The Continental GT3 Pikes Peak) จึงต้องคำนึงถึงหลักการแอร์โรไดนามิค (Aerodynamics) และสมรรถนะของเครื่องยนต์เป็นสำคัญ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จึงเป็นเครื่องพิสูจน์ความเป็นอัครยนตรกรรมที่ทรงสมรรถนะที่สุดในประวัติศาสตร์ของเบนท์ลีย์ได้เป็นอย่างดี
การออกแบบอย่างลงตัวด้วยสปอยเลอร์หลังขนาดใหญ่ที่ถูกประกอบเข้ากับส่วนหลังของตัวรถบนดิฟฟิวเซอร์หลัง ล้อมรอบกระปุกเกียร์ส่งกำลัง และอุปกรณ์แอร์โรไดนามิคติดตั้งบริเวณด้านหลังทำให้สมดุลกันกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งบริเวณด้านหน้าและด้านข้าง
สำหรับเครื่องยนต์ของเดอะ คอนติเนนทัล จีที3 ไพค์สพีค (The Continental GT3 Pikes Peak) นั้น เครื่องยนต์ได้ถูกพัฒนามาจากเครื่องยนต์รุ่น V8 เทอร์โบ ขนาด 4 ลิตร ที่ใช้กับเดอะ คอนติเนนทัล จีที (Continental GT) โดยถูกพัฒนาเพื่อใช้กับเชื้อเพลิงชีวภาพและเพื่อให้มั่นใจได้ว่าเครื่องยนต์จะสามารถผลิตพละกำลังได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยมีระบบท่อไอเสียด้านข้างลำตัวรถเพื่อให้เสียงที่ดุดันเข้ากับรูปลักษณ์ที่แข็งแกร่งของตัวรถ
มากไปกว่านั้น ยังมีการพัฒนาในส่วนของระบบแอร์ทำความเย็นแทนที่กระจกด้านหลังห้องโดยสาร และนาฬิกาจับเวลาบริเวณพวงมาลัย เพื่อให้นักแข่งสามารถควบคุมเวลาขณะแข่งขันได้
เดอะ คอนติเนนทัล จีที3 ไพค์สพีค (The Continental GT3 Pikes Peak) กำลังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบและพัฒนาในประเทศอังกฤษ ก่อนที่จะถูกส่งไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาสำหรับการทดสอบภายใต้ความดันต่ำ (Altitude Testing)
โดยข้อมูลเพิ่มเติมจะประชาสัมพันธ์ในช่วงเดือนพฤษภาคมก่อนการแข่งรายการ ไพค์สพีค อินเตอร์เนชั่นแนล ฮิลล์ ไคลมป์ ครั้งที่ 99 (Pikes Peak International Hill Climb) ในวันที่ 27 มิถุนายน 2564 สำหรับข้อมูลเชิงเทคนิคเพิ่มเติมของเดอะ คอนติเนนทัล จีที3 ไพค์สพีค (The Continental GT3 Pikes Peak) จะมีการประกาศให้ทราบในภายหลัง