จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน

จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน

การปล่อยคาร์บอน จากกระบวนการผลิตไฮโดรเจน มีความแตกต่างออกไปอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตกระแสไฟจากก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน หรือเชื้อเพลิงฟอสซิล ไฮโดรเจนสามารถควบคุมได้ง่ายกว่าการเผาสารพัดคาร์บอนอย่างถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ยกตัวอย่างเช่น ไฮโดรเจนสีเขียว หรือ Green Hydrogen ที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม 100% แต่พลังงานจากธรรมชาติเหล่านั้นยังคงไม่มีความแน่นอน ในบางวันอาจปราศจากกระแสลมไปหมุนกังหันเพื่อปั่นไฟ หรือไม่มีแสงอาทิตย์ที่เข้มมากพอสำหรับแผงโซลาร์เซลล์

จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน

วิศวกรของ Toyota ให้ความเห็นว่า ในภูมิภาคที่ใช้แหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน แล้วส่งไปยังสถานีเติมไฮโดรเจน ความเข้มข้นของคาร์บอนสำหรับเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuel และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ SynGas & Fuel ขึ้นอยู่กับการจัดหาชีวมวล Biomass ทั้งนี้การใช้เชื้อเพลิง Green Hydrogen ในเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือ Internal Combustion Engines (ICE) รวมทั้งกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยไฮโดรเจนสีเขียว ซึ่งมีการปล่อย CO2 น้อยกว่ามาก และน้อยที่สุด เทียบกับเทคโนโลยีการผลิตกระแสไฟในรูปแบบอื่นที่ยังต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ

จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน
จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน
จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน
จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน

สำหรับแนวคิดคาร์บอนเป็นศูนย์ของแบรนด์ Toyota แม้ว่ายานยนต์ BEV หรือ Battery Electric Vehicle และยานยนต์เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน หรือ Fuel Cell Electric Vehicles : FCEV จะไม่ปล่อยไอเสียใดๆ ที่ปลายท่อไอเสีย แต่เครื่องยนต์สันดาปภายในเชื้อเพลิงไฮโดรเจน H2-ICE ยังคงปล่อยไนโตรเจนออกไซด์ NOx ออกมา คล้ายคลึงกับเครื่องยนต์ดีเซลเชื้อเพลิงชีวภาพ และ Synthetic Fuel ที่ยังคงปล่อย NOx และอนุภาคขนาดเล็ก Toyota ผู้ผลิตรถยนต์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน H2-ICE (รถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน) ยืนยันว่า การทำงานของเครื่องยนต์เหล่านี้มีการสร้าง NOx ที่ต่ำกว่าสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลมาก ดังนั้นจึงถือว่าไม่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ไม่ว่าเครื่องยนต์ของรถยนต์ส่วนบุคคลเหล่านี้จะใช้งานได้จริง หรือเครื่องจักรกลสำหรับงานหนัก จะขึ้นอยู่กับระดับการปล่อยมลพิษ และเกณฑ์ที่อนุญาตโดยกฎข้อบังคับด้านมลพิษทางอากาศในท้องถิ่น

จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน

การใช้ Green Hydrogen เพื่อเป็นเชื้อเพลิงสำหรับจุดระเบิดในเครื่องยนต์สันดาปภายใน ซึ่งอาจเข้ามาแทนที่เชื้อเพลิงฟอสซิลในอนาคต ไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาด้านมลภาวะ เนื่องจากไฮโดรเจนคือแหล่งพลังงานที่สะอาด สามารถยืดชีวิตของเครื่องยนต์ต่อไปได้ เนื่องจากไฮโดรเจนที่ถูกนำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงจากการวิจัยของ Toyota นั้น ปราศจากมลพิษอย่างแท้จริง ในยุคที่รถยนต์ไฟฟ้ากำลังเข้ามาแทนที่เครื่องยนต์สันดาปภายใน ในความเป็นจริง เครื่องยนต์ไม่ใช่ตัวการที่ก่อให้เกิดมลพิษ หากเราสามารถหาเชื้อเพลิงทดแทนที่สะอาดกว่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่สกัดจากซากฟอสซิลได้ เชื้อเพลิงดังกล่าวก็คือไฮโดรเจนนั่นเอง 

จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน

สำหรับการตรวจสอบด้านประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเชิงเปรียบเทียบของ Toyota พบว่า Tank-to-Wheel Efficiencies Range อยู่ในช่วงตั้งแต่ 75-85% สำหรับยานยนต์ BEV และประมาณ 50% สำหรับ FCEV สำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายใน การสูญเสียจากการแปลงในการผลิตไฮโดรเจนจากไฟฟ้า และการผลิต Synfuel จากไฮโดรเจน ประสิทธิภาพจะลดลงเหลือ 35% สำหรับ FCEVs กับ 30% สำหรับ H2-ICE และประมาณ 20% สำหรับ Synfuel ..Well-to-Wheel Efficiencies สำหรับ BEV ตัวเลขดังกล่าวขึ้นอยู่กับแหล่งที่ผลิตพลังงานหมุนเวียน เนื่องจากระบบสายส่งที่ยาวไกลกว่าหมายถึงการสูญเสียที่สูงกว่า และใช้การชาร์จอย่างรวดเร็วหรือไม่

จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน
จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน
จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน
จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน

โดยภาพรวมแล้ว ตัวเลขประสิทธิภาพ เป็นเพียงตัวเลขโดยประมาณในมุมมองของการได้มา ซึ่งเทียบกับพลังงานที่ใส่เข้าไป จึงยังไม่ได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงแรงบิดในการใช้งานที่แท้จริง เครื่องยนต์สันดาปภายในจะมีกำลังขับเคลื่อนมากกว่า เหมาะสำหรับงานหนัก หรือเมื่อรับน้ำหนักมากขึ้น นั่นคือสิ่งจูงใจในการลดขนาดเครื่องยนต์ในรถยนต์ดีเซล ในขณะที่ FCEV หรือรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง จะมีประสิทธิภาพสูงสุดที่โหลดต่ำ ดังนั้นการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนจุดระเบิดในห้องเผาไหม้เครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือ Internal Combustion Engines : ICE จึงเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับโหลดสูง หรืองานหนักที่ต้องการกำลังเครื่องยนต์สูง ซึ่งสามารถให้พลังแรงขับเคลื่อนที่เหนือกว่า เช่น รถแข่ง เครื่องจักรกลขนาดใหญ่สำหรับงานช่างโยธา รถบรรทุกหนัก เรือเดินทะเล และอากาศยาน เป็นต้น..

Toyota และผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นหลายราย รวมถึงแบรนด์รถหรูฝั่งยุโรปกำลังพัฒนายานยนต์ไฮโดรเจน เพื่อขยายตลาดเชิงพาณิชย์ สำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน Hydrogen Internal Combustion Engines: HICE..

จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน

ปัจจุบัน เครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน Hydrogen Internal Combustion Engines : HICE ยังไม่มีการจำหน่ายในตลาดเครื่องยนต์ของรถยนต์เชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม มีผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นหลายแบรนด์ ได้แก่ Toyota Subaru, Mazda, Kawasaki และ Yamaha ได้ประกาศความร่วมมือในการขยายใช้เทคโนโลยีเชื้อเพลิงทางเลือก หรือ Alternative Fuel Technologies ซึ่งรวมถึงเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน โดยการดัดแปลงระบบฉีดเชื้อเพลิงและถังเก็บไฮโดรเจน ยังไม่รวมถึงบริษัท OEM ที่เกี่ยวข้องกับการเดินอากาศในยุโรป ทั้ง Airbus และ Boeing กำลังเร่งพัฒนาเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน หรือ Hydrogen in Aviation แทนที่เชื้อเพลิงแบบเดิมที่มีมลพิษสูง สำหรับใช้งานในเครื่องยนต์ของเครื่องบินพาณิชย์ ในอนาคตอันใกล้ คาดว่า เครื่องยนต์เจ็ตเทอร์โบแฟนของบริษัทผลิตเครื่องบินเชิงพาณิชย์จะออกมาใช้งานในปี 2573-2575

จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน
จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน
จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน

ความพยายามและเป้าหมายที่จะลดคาร์บอนในบรรยากาศ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้สภาวะภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวร้าย เกิดขึ้นจากการพัฒนาระบบเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ไฮโดรเจนของค่าย Toyota ในสนามแข่งรถ ก่อนหน้านี้ผู้ผลิตรถยนต์เจ้าของตราสัญลักษณ์สามห่วงได้นำเสนอรถ GR Corolla Sport Hatchback / GR Yaris / GR86 และล่าสุดกับ Toyota Corolls Cross ด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายในแบบสามสูบ ความจุ 1.6 ลิตรเทอร์โบ ที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงไฮโดรเจน การพัฒนาอย่างเข้มข้น เกิดขึ้นจากความร่วมมือกับ Yamaha ในการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบที่ปล่อยมลพิษต่ำ ที่มีการแข่งขันกันในประเทศญี่ปุ่น โดยมีประธานบริษัท Toyota Mr. Akio Toyada ร่วมลงทำการแข่งขัน เพื่อแสดงให้เห็นว่า รถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนนั้นมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่มากพอ ทั้งนี้ ไฮโดรเจนถูกจัดหาโดยโรงงานแห่งใหม่ในเมืองฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น Fukuoka City, Japan รวมถึงโรงงานผลิตก๊าซไฮโดรเจนที่เมืองเซนได ซึ่งจะผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซชีวมวลด้วยสิ่งปฏิกูล หรือ Hydrogen from Sewage Biogas..

จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน

รถแข่งเครื่องยนต์สันดาปภายในเชื้อเพลิงไฮโดรเจน หรือ Hydrogen Race Car ของค่าย Toyota เข้าร่วมพร้อมคู่แข่งขันที่ใช้เชื้อเพลิงแตกต่างกันออกไป แต่รถแข่งทุกคันในรายการ Japanese Super Taikyu Series รถแข่ง Toyota GR Yaris ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่มีการปรับแต่งระบบเชื้อเพลิงใหม่ หรือ Hydrogen ICE, ส่วน Mazda 2 Hatchback ใช้เชื้อเพลิงไบโอดีเซล ในขณะที่ Subaru BRZ และ Toyota GR 86 รถสปอร์ตแฝดรุ่นดัดแปลงจะใช้เชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่ได้จากชีวมวล หรือ Synthetic Fuel Derived from Biomass 

จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน
จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน

ขณะเดียวกัน Kawasaki และ Yamaha ได้ร่วมกันทำการวิจัยเกี่ยวกับเครื่องยนต์สันดาปภายในเชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Hydrogen Combustion Engines) สำหรับทั้งรถยนต์ 4 ล้อ รถจักรยานยนต์ ทั้งนี้ ทั้งสองบริษัทฯ ได้เข้าร่วมกับแบรนด์ Honda และ Suzuki ทั้งนี้ สี่บริษัทดังกล่าวยังเป็นพันธมิตรร่วมกันในการแลกเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่ใช้ในรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าไปก่อนหน้านี้

เห็นได้ชัดว่า ฮอนด้า Honda ยังไม่ได้กระโดดเข้ามาร่วมวงในการลดการปล่อยคาร์บอนด้วยไฮโดรเจน แม้ว่าจะเคยผลิตรถยนต์นั่งเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน หรือ Hydrogen Fuel-Cell Passenger Cars สำหรับ Nissan และพันธมิตรอย่าง Mitsubishi ก็ยังมุ่งไปที่ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า BEV ทั้ง Nissan และพันธมิตรอย่าง Mitsubishi ยังไม่ได้แสดงความสนใจเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาเชื้อเพลิงไฮโดรเจนในเครื่องยนต์สันดาปภายใน แต่ผู้บริหารระดับสูงของทั้งสองบริษัทยังคงติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนา HICE อย่างใกล้ชิด

จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน
จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน

การเผาไหม้ไฮโดรเจนในเครื่องยนต์สันดาปภายใน Internal Combustion Engines แทนที่น้ำมันเบนซิน หรือดีเซล ไม่ใช่แนวคิดใหม่ นานมาแล้วที่ BMW เคยผลิตรถยนต์ Hydrogen 7 ซึ่งเป็นรถรุ่น 7 Series ที่มีเครื่องยนต์สันดาป V12 ที่ขับเคลื่อนด้วยไฮโดรเจน รวมถึง Mercedes-Benz ที่วิจัยรถยนต์เซลส์เชื้อเพลิง FCEV ด้วยรถ GLC Hydrogen ปัจจุบัน แนวคิดนี้ดูเหมือนจะสร้างความน่าสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ

จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน
จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน
จุดเด่น และข้อได้เปรียบของการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในรถ TOYOTA เครื่องยนต์สันดาปภายใน

การเผาไหม้ภายในด้วยไฮโดรเจนนั้นยังมีปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานอีกมาก รวมถึงการจัดเก็บไฮโดรเจนไว้บนรถให้เพียงพอเพื่อให้ได้ระยะทางที่ไกลกว่า และมีความปลอดภัย ซึ่ง Toyota ก้าวข้ามผ่านจุดดังกล่าวไปแล้ว เหลือแค่ทำให้เป็นความจริงเชิงพาณิชย์เท่านั้น ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวเป็นเรื่องการจัดเก็บ หรือ Hydrogen Storage ส่วนถังเก็บไฮโดรเจนบนตัวรถของ Toyota นับว่ามีความปลอดภัยสูง ตัวถังเชื้อเพลิงชั้นในสุด ประกอบด้วยวัสดุพวกเรซิน ชั้นกลาง หุ้มด้วยเส้นใยคาร์บอนไฟเบอร์ และชั้นนอกสุด ห่อหุ้มด้วยเส้นใยไฟเบอร์ที่พันรอบถังคล้ายการถักทอเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง ถังเก็บไฮโดรเจนในรถยนต์ Mirai เจนล่าสุด ถูกทดสอบด้วยการใช้ปืนไรเฟิลยิงเข้าไปในถังเพื่อทดสอบความแข็งแรง ปรากฏว่าระบบป้องกันการรั่วไหลและวาล์วนิรภัยทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยปราศจากการรั่วของไฮโดรเจน

สิ่งที่ Toyota ผู้ผลิตรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงต้องเผชิญก็คือ ความเชื่อมั่นของลูกค้า รวมทั้งประเด็นเรื่องของราคาเชื้อเพลิงไฮโดรเจนในตัวมันเอง ถือเป็นปัญหาหลักที่จำกัดการเติบโตของตลาดยานยนต์ประเภทนี้ต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง ก่อนที่สถานีเติมไฮโดรเจนจะแพร่หลายพอๆ กับสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ในวันนั้นเราจะเห็นทั้งยานยนต์ FCEV และ HICE วิ่งกันเกลื่อนถนนมากพอๆ กับยานยนต์พลังงานไฟฟ้า เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของมนุษยชาติในการต่อสู้กับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก

อย่างไรก็ตาม แม้จะให้กำลังขับมหาศาล แต่เครื่องยนต์สันดาปภายในไฮโดรเจน Hydrogen Internal Combustion Engines : HICE อาจมีประสิทธิภาพน้อยกว่าระบบส่งกำลังเซลล์เชื้อเพลิง Fuel Cell ประสิทธิภาพของเซลล์เชื้อเพลิง มีข้อได้เปรียบตรงที่สามารถผลักดันให้พวกมันมีราคาที่เท่าเทียมกับน้ำมันเบนซินได้ภายในปี 2568